Thursday, October 22, 2009

การบำรุงรักษารถยนต์ ให้พร้อมใช้งาน



การดูแลบำรุงรักษารถเป็น สิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติอยู่เสมอเป็นประจำ เพราะรถถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับคนรักหรือแหน เพราะถ้าอยากให้อยู่กับเรานาน ๆ ก็ต้องรักดูแลเอาใจใส่ให้มาก ซึ่งภายในรถก็จะมีอุปกณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ อยู่มากมาย ทั้งภายในห้องโดยสาร ห้องเครื่องยนต์ แต่จุดที่เราจะต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงสภาพเดิมมากที่สุดก็มีด้วยกันดัง นี้
1. เครื่องยนต์ 2. ระบบหล่อลื่น 3. ระบบไฟ 4. ระบบหล่อเย็น 5. ระบบเบรก 6. ล้อและยาง 7. ตัวถังและช่วงล่าง 8. อุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ นอก จากจุดที่สำคัญเหล่านี้แล้ว อุปกรณ์ที่ประกอบอยู่ในชุดเดียวกันที่ต้องตรวจเช็กก็จะกล่าวเป็นส่วน ๆ ไป โดยเราจะเริ่มจากการดูแลเครื่องยนต์กันก่อน ก่อน ที่จะพูดกันถึงในรายละเอียดอื่น ๆ เราจะต้องมาทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ของเราเสียก่อน เครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันหากแบ่งตามชนิดของการใช้น้ำมันเชื้อ เพลิงแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
รถยนต์เบนซิน เป็นรถที่มีค่อนข้างมากในบ้านเรา เพราะด้วยความแรงและการออกตัวที่ฉับไวทันอกทันใจทำให้ครองใจใครหลาย ๆ คนจึงทำให้เลือกใช้รถประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งรถยนต์เบนซินเป็นรถยนต์ที่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินทั้งธรรมดา และเบนซินซุปเปอร์ ในปัจจุบันเราจะเรียกเป็นค่าอ๊อกเทน 91,95 และ 97 รถแต่ละรุ่นจะระบุอยู่ในคู่มือรถยนต์ว่าควรจะเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนเท่าไหร่ มีบางคนอาจจะเข้าใจว่าการเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนที่สูงกว่าที่ระบุในคู่มือจะ ทำให้รถแรง หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นอันที่จริงแล้วมันไม่มีผลเท่าไหร่ อีกทั้งยังจะทำให้คุณเปลืองสตางค์ในกระเป๋ามากขึ้น ส่วนใหญ่รถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินนั้นจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุกเล็ก อาจจะมีรถตู้บ้างเล็กน้อย สังเกตได้ง่ายคือถ้ารถใช้หัวเทียนจะเป็นรถเบนซิน
ข้อดีของรถยนต์เบนซิน อะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องยนต์มีราคาถูกหาซื้อง่าย การเร่งความเร็วทำได้ทันอกทันใจกว่ารถยนต์ดีเซล การสตาร์ทเครื่องทำได้ง่ายกว่ารถยนต์ดีเซล เครื่องยนต์ใหม่และมือสองมีราคาถูก
ข้อเสียของรถยนต์เบนซิน
การสึกหรอของเครื่องยนต์มีมาก อายุการใช้งานน้อย น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง ทำให้เกิดมลภาวะ (ทำการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์)
รถยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่จะเป็นรถที่เน้นในเรื่องของการบรรทุกเพราะจะมีแรงอึด มากกว่า เครื่องยนต์ก็มีความทนทานรับสภาวะหนัก ๆ ได้ไม่มีถอย ซึ่งรถยนต์เครื่องดีเซลจะใช้น้ำมันดีเซล หรือที่เรียกขานกันติดปากทั่วไปว่า ”โซล่า” ส่วนใหญ่รถยนต์ที่เป็นเครื่องดีเซลจะเป็นรถบรรทุก รถกระบะ การทำงานของรถยนต์จะใช้หัวฉีดและใช้แรงอัดเป็นการจุดระเบิด ฉะนั้นจึงไม่มีหัวทียนซึ่งจะแตกต่างจากรถยนต์เบนซิน
ข้อดีของรถยนต์ดีเซล
การเกิดมลภาวะน้อยกว่า (ถ้าเครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้หมดจด) การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่จุกจิก
เครื่องยนต์มีความทนทานมากกว่าเครื่องเบนซิน
น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน
การสึกหรอของเครื่องยนต์มีน้อย
ข้อเสียของรถยนต์ดีเซล
การเร่งกำลังเครื่องยนต์ช้าไม่ทันใจ
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ในชิ้นส่วนต่าง ๆ มีราคาแพง
เมื่อใช้นานเข้าจะสตาร์ทติดยาก ต้องใช้โช๊คช่วย
ทำให้เกิดมลภาวะเช่นเดียวกัน


แต่โดยทั่ว ๆ ไปการบำรุงรักษารถยนต์ทั้งสองประเภทจะมีหลักคล้าย ๆ กัน แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างในบางส่วนเท่านั้น
จุดไหนของเครื่องยนต์ที่ต้องดูแลรักษา จุดหลัก ๆ คงจะเป็นภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งได้แบ่งเป็นจุดต่างๆ คือ ระบบหล่อลื่น (การดูแลน้ำมันเครื่อง และใส้กรองน้ำมันเครื่อง) ,แบตเตอรี่ (ระบบไฟฟ้า),หม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น) ,หม้อกรองและไส้กรองอากาศ,จานจ่ายและหัวเทียน (ระบบจุดระเบิด) ,คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท (ระบบสตาร์ท) ,ฟิวส์และหลอดไฟ,ระบบเบรก,ระบบคลัตซ์และเกียร์,ล้อและยาง,การบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะหรือการใช้งาน
การดูแลน้ำมันเครื่อง (ระบบหล่อลื่น)
อย่าง แรกที่ต้องดูแลเอาใจใส่ก็คือ การดูแลและวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรถยนต์ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ต้องการน้ำ ถ้าขาดเมื่อไหร่ก็ตายเมื่อนั้น รถยนต์ก็เหมือนกันต้องมีน้ำมันเครื่องมาคอยหล่อเลี้ยงอยูตลอดไม่เช่นนั้น เครื่องคงตั้งพังแน่นอน
หน้าที่ หลักของน้ำมันเครื่องคือ ช่วยหล่อลื่นระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้เดินสะดวก ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์จึงจำเป็ต้องตรวจเช็คอย่าง สม่ำเสมอเป็นประจำเมื่อใช้ไปนานๆ จะมีสิ่งปลอมปนทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดน้อยลงตามอายุการใช้งาน
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตาม หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่แล้วบรรดาช่างต่าง ๆ จะแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 3 เดือน หรือทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ว่าจะถึงจุดไหนก่อน อย่างเช่น รถวิ่งทางไกลมาถึงระยะ 5,000 กิโลเมตร ภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้เลยไม่ต้องรอให้ครบ 3 เดือน) หรืออาจจะดูตามคู่มือรถของท่านแล้วก็ปฏิบัติตามนั้น ถ้าจะให้ดีในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรจะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องด้วย ทุกครั้ง เพราะความสกปรกในไส้กรองอาจเข้าไปทำให้น้ำมันที่เติมใหม่มีสิ่งปลอมปน
ที่สำคัญควรจะให้ช่างผู้มีความชำนาญงานเป็นผู้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรองให้กับท่าน ถ้าหากว่าท่านไม่รู้เรื่องช่างหรือไม่ชำนาญพอ
ขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอง
ถ้าเครื่องเย็นให้สตาร์ทเครื่องยนต์ และอุ่นเครื่องไว้จนเครื่องร้อนถึงระดับปกติจึงดับเครื่อง
เปิด ฝากระโปรงหน้าและถอดฝาเติมน้ำมันออก ถอดนอตถ่ายน้ำมันเครื่องที่ด้านล่างของเครื่องยนต์ออก ปล่อยให้น้ำมันเครื่องไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ ถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องออก ปล่อยให้น้ำมันส่วนที่เหลือไหลออกมา การถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องจำเป็นต้องใช้บล๊อกถอดไส้กรองโดยเฉพาะ ติดตั้งไส้กรองน้ำมันเครื่องใหม่ ตามขั้นตอนที่แนบมากับไส้กรองน้ำมันเครื่อง ใส่แหวนรองตัวใหม่เข้ากับนอตถ่ายน้ำมันเครื่อง ขันนอตถ่ายน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่ด้วยแรงบิด 44 นิวตัน-เมตร (N.M) หรือบิดด้วยมือเท่านั้น เติมน้ำมันเครื่องชนิดที่แนะนำให้ใช้ใส่ลงในเครื่องยนต์ เครื่องเบนซินเติมน้ำมันเครื่องเบนซิน เครื่องดีเซลเติมน้ำมันเครื่องดีเซล ปิดฝาเติมน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์สัญญาณไฟเตือนความดัน น้ำมันเครื่องควรจะดับภายใน 5 วินาที แต่ถ้าไฟเตือนไม่ดับท่านจะต้องดับเครื่องยนต์และตรวจดูพลาดว่าทำขั้นตอนก่อน หน้าผิดพลาดหรือเปล่า ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินหลาย ๆ นาที เช็คดูที่นอตถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่องว่ามีน้ำมันเครื่องรั่วออกมาหรือไม่ ดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้สักพักแล้วเช็คระดับน้ำมันเครื่องอีกครั้ง ถ้าจำเป็นให้เติมน้ำมันเครื่องจนถึงขีดบนของก้านวัด สำหรับ การตรวจสอบน้ำมันเครื่องควรจะเช็คอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถที่ใช้งานปกติ และควรตรวจสอบอยู่เสมอหากเป็นรถที่ใช้งานหนัก หรือวิ่งทางไกลควรเช็คอยู่เป็นประจำ การเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ต้องกระทำอยู่เสมอเพื่อความแน่นอนในการขับรถ
การ เช็คระดับน้ำมันเครื่องให้ทำหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันไหลลงด้านล่างของเครื่องก่อน และรถจะต้องจอดอยู่บนพื้นราบด้วย ให้ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ซับเช็คก้านวัดให้ไม่มีรอยน้ำมันเครื่องเดิมที่ติดขึ้นมา เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด
ดึง ก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่ง ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบนแสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องถูก ต้องแล้ว ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องจนได้ระดับ ที่ถูกต้อง
การเติมน้ำมันเครื่อง
เมื่อพบว่าน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับมาตรฐาน จะต้องเติมให้ได้ระดับซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
เปิดฝากระโปรงรถยนต์ ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาซึ่งจะอยู่ข้าง ๆ เครื่องยนต์ ส่วนตอนปลายจะมีลักษณะแบนประมาณ 2 นิ้ว และจะมีตัวหนังสือเขียนกำกับเอาไว้ คือ
MAX หมายความว่า มาก
MID หมายความว่า ปานกลาง
MIN หมายความว่า น้อย
เมื่อดึงก้านน้ำมันเครื่องขึ้นมาจะมีน้ำมันติดปลายก้านวัดมาด้วยให้ดูว่าน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่สูงสุดอยู่ในระดับไหน เช่น
MAX หมายความว่า ยังไม่ต้องเติมน้ำมันเครื่อง
MID หมายความว่า ให้เติมน้ำมันเครื่องเล็กน้อยให้ได้ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID ส่วน MIN หมายความว่า ต้องเติมน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID
การ เติมน้ำมันเครื่องให้เปิดฝาเครื่องยนต์ขึ้นมาแล้วเทน้ำมันเครื่องลงไป การเติมแต่ละครั้งให้ดูการวัดจากก้านวัดน้ำมันเครื่องจากข้อ 2 และที่สำคัญการเติมในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1.5-2 ลิตรเป็นอย่างมาก
การ วัดระดับน้ำมันเครื่อง หลังจากเติมน้ำมันเครื่องให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับไปในช่องเดิม ก่อนใส่ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่เช็ดปลายให้หมดรอยน้ำมัน แล้วจึงใส่กลับลงไปให้สุดแล้วดึงขึ้นมาดูระดับของน้ำมัน เมื่อ ได้ระดับน้ำมันเครื่องตามที่ต้องการแล้ว ให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องเข้าที่เดิม ปิดฝาเครื่องยนต์ แล้วจึงปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย
ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง ช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ ช่วยลดการเสียดทาน และสึกหรอของเครื่องยนต์ รักษาความสะอาดภายในเครื่องยนต์ ลดตะกอนสะสม ป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อน
ช่วยให้รถสตาร์ทติดง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องจึงมีความสำคัญมาก โปรดปฏิบัติตามคู่มือประจำรถของท่านหรือปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง
การดูแลรักษาแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ ขุมพลังไฟฟ้าแหล่งสำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องเครื่องคอยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ แอร์ โทรทัศน์ ที่ต่างสรรหามาติดกันในรถ รวมไปถึงการจ่ายไฟฟ้าเพื่อการสตาร์ทเครื่องยนต์ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย แบตเตอรี่ทั้งสิ้น แต่เมื่อใช้ไปเรื่อย ๆ แบตเตอรี่จะเริ่มมีปัญหา เพราะน้ำยาอิเล็คโตรไลด์ หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าน้ำกลั่นบริสุทธิ์ ที่อยู่ในแบตเตอรี่จะลดลงต่ำกว่าระดับที่ถูกต้องทั่วไป ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นตรวจสอบคอยเช็คน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือ ไม่ ถ้าลดลงก็ให้เติมน้ำกลั่นกลับเข้าไปให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง เพราะไม่เติมน้ำกลั่นจะสั้นลง การที่จะตรวจเช็คน้ำกลั่นในแบตเตอรี่นั้นก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เปิดฝาจุกด้านบนที่หม้อแบตเตอรี่ทั้ง 6 ฝาดูว่าระดับน้ำกลั่นลดลงหรือไม่ ถ้าท่วมก็ให้เติมน้ำกลั่นลงไป โดยจะต้องให้ท่วมแผ่นทองแดงขึ้นมาประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แต่ในกรณีที่ท่านใดเบื่อการเติมน้ำกลั่นลงหม้อแบตเตอรี่แล้วล่ะก็มีอีกทาง ให้เลือกคือ ใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นหรือที่รู้จักกันในนาม “แบตเตอรี่แห้ง” อายุในการใช้งานก็พอ ๆ กับแบตเตอรี่ธรรมดาที่เติมน้ำกลั่น แต่มีข้อเสียอยู่อย่างเดียว คือแบตเตอรี่แห้งจะมีราคาแพงกว่ามากยังไงถ้าจะเลือกใช้ก็พิจารณาตามความจำ เป็นและงบประมาณในกระเป๋าก็แล้วกัน
เรา ก็มาว่ากันต่อในเรื่องของน้ำกลั่น การที่จะเลือกน้ำกลั่นมาเติมแบตเตรี่ควรจะเลือกน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่ใช้เติม กับแบตเตอรี่โดยเฉพาะ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันหาน้ำกลั่นไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถใช้น้ำประปาสะอาดแทนได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) น้ำกลั่นจะหาซื้อได้ตามปั้มน้ำมันหรือร้านขายแบตเตอรี่ ราคาประมาณขวดละ 10 บาท ในปริมาณ 1 ลิตร
การเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ เปิดฝาจุกด้านบนของหม้อแบตเตอรี่ 6 ฝา ให้หมด แล้วเช็คดูว่าทั้ง 6 ช่องน้ำกลั่นอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าลดลงจนไม่ท่วมแผ่นทองแดงให้เติมน้ำกลั่นลงไปในช่องที่น้ำกลั่นลดลงไป (แต่ละช่องน้ำกลั่นจะลดลงไม่เท่ากัน)โดยให้ท่วมแผ่นทองแดงประมาณ 10-15 มิลลิเมตร อย่าเติมน้ำกลั่นให้ล้นออกมาจากหม้อแบตเตอรี่ ถ้าน้ำกลั่นหกเลอะออกมานอกหม้อแบตเตอรี่ให้รีบนำผ้ามาเช็ดให้แห้งทันที
เมื่อเติมเสร็จเรียบร้อยให้ปิดจุกฝาทั้ง 6 ฝาให้เรียบร้อย นอกเหนือจากการตรวจเช็คเติมน้ำกลั่นแล้ว การดูแลรักษาแบตเตอรี่ในส่วนอื่น ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน อย่างเช่น ในส่วนของขั้วแบตเตอรี่ ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือขี้เกลือขึ้นบริเวณขั้วทั้ง 2 ข้าง ของแบตเตอรี่ รวมไปถึงสิ่งสกปรกอื่นที่ติดเป็นคราบ ถ้าพบให้รีบทำความสะอาดโดยทันที เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก การจ่ายไฟไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จุดต่าง ๆ ที่ต้องตรวจสอบอีกคือ ขั้วสายไฟที่ต่อแบตเตอรี่หลวมหรือไม่ ฝาปิดช่องเติมน้ำกลั่นหมุนเกลียวแน่นหรือเปล่า ตรวจเช็คว่ามีรอยรั่วของหม้อแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้ามีต้องรีบแก้ไข
การทำความสะอาดแบตเตอรี่
1. ถ้าเกิดขึ้เกลือขึ้นในขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้าง ให้ถอดขั้วทั้ง 2 ออกมา
2. ใช้แปรงลวดขัดบริเวณที่เกิดขี้เกลือบริเวณทั้งสองข้างถ้าเป็นรอยสกปรกธรรมดาใช้ผ้าเช็ดก็ได้
3. เมื่อทำความสะอาดเสร็จให้ใช้จาระบีทาที่ขั้วแบตเตอรี่และขั้วทองแดงทั้งสองขั้ว
4. ให้ใส่ขั้วกลับลงไปที่เดิม โดยให้สายขั้วบวกใส่ในตำแหน่งขั้วบวก สายขั้วลบใส่ในตำแหน่งขั้วลบ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1.ควรทำความสะอาดหม้อแบตเตอรี่ด้านนอก ทุก ๆ 6 เดือน โดยการยกหม้อแบตเตอรี่ออกจากรถแล้วใช้แอมโมเนียเช็ด
2.ควรถอดขั้วแบตเตอรี่และทำความสะอาดทุก ๆ 3 เดือน ตามวิธีที่ทำให้เกิดประกายไฟได้
3.อย่าให้โลหะอย่างเช่น ไขควง แหวน โดนขั้วแบตเตอรี่ เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
4.ขณะ จอดรถอย่าเปิดไฟ หรือวิทยุทิ้งเอาไว้นาน ๆ เพราะมันจะดึงไฟแบตเตอรี่ทำให้แบตเตอรี่อ่อน หรือในเวลาที่จะสตาร์ทรถควรจะปิดแอร์หรือวิทยุไว้ชั่วคราวก่อน
ใน การที่ไฟแบตเตอรี่อ่อนซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก วิธีที่จะแก้ไขก็คงจะต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟที่ร้านแบตเตอรี่
การชาร์จไฟจะทำได้ 2 กรณี
1. ถอดหม้อแบตเตอรี่ทั้งใบไปให้ทางร้านชาร์จไฟ ใน กรณีนี้จะทำได้ง่ายถ้าบ้านอยู่ใกล้กับร้านแบตเตอรี่หรือไม่รีบร้อนติดธุระ ที่ไหน เพราะการชาร์จไฟแบบนี้จะกินเวลาค่อนข้างนาน คือประมาณ 10 ชั่วโมงกว่าที่การชาร์จไฟจะเต็มแบตเตอรี่
2. การ ชาร์จไฟจากแบตเตอรี่รถคันอื่น การที่จะใช้วิธีนี้นั้นเพราะหาร้านแบตเตอรี่ในละแวกนั้นได้ยากและรถเกิด สตาร์ทไม่ติดพอดี หรือไม่ก็ต้องรีบออกไปธุระก่อน การชาร์จไฟแบบนี้จะทำได้ง่ายเพียงมีอุปกรณ์ สายชาร์จ แบตเตอรี่ และที่ขาดไม่ได้คือ รถยนต์คันอื่นที่เข้ามาช่วยเหลือ
นำ สายชาร์จแบตเตอรี่มาสองเส้น สายชาร์จนี้ควรจะเป็นสายในการชาร์จไฟโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่มีก็ใช้สายไฟแทนก็ได้ แต่สายไฟต้องมีขนาดใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าสายชาร์จเท่านั้น ห้ามใช้สายที่เล็กกว่าเพราะอาจทำให้สายไฟละลายได้
ต่อสายชาร์จทั้งสองเส้นเข้ากับขั้วแบตเตอรี่ โดยให้ขั้วบวกต่อกับขั้วบวก ขั้วลบต่อกับขั้วลบ
จากนั้นให้ลองสตาร์ทรถดู จนกระทั่งรถสตาร์ทติดก็ให้ถอดสายชาร์จออก โดยให้ถอดขั้วบวกออกก่อนจากนั้นจึงถอดขั้วลบ แต่ การชาร์จไฟแบบนี้จะมีไฟแบตเตอรี่อยู่น้อยมาก เมื่อรถจอดหรือดับเครื่องแล้วพอกลับมาสตาร์ทใหม่อาจจะไม่ติดก็ได้ วิธีนี้เป็นการสตาร์ทเพื่อให้ขับรถต่อไปยังร้านแบตเตอรี่เพื่อชาร์จ แบตเตอรี่หรือเพื่อขับรถกลับบ้านซึ่งถ้าจะขับต่อก็ต้องมาชาร์จไฟแบบเดิมอีก
การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)
หม้อ น้ำถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้ อย่างต่อเนื่อง เครื่องยนต์ไม่ร้อนจัดจนเกิดการน็อค การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากหรือเปล่า ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท และความเสียหายก็จะตามมาได้ ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสัญญาณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สัญลักษณ์เป็นตัว c ย่อมาจาก cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่ H นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม (การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน) ที่สำคัญห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้
น้ำ ที่ใช้เติมหม้อน้ำก็ให้ใช้น้ำที่ใสสะอาดธรรมดาไม่มีตะกอน อย่างเช่น น้ำประปาทั่วไป ส่วนการเช็คระดับน้ำระบายความร้อนให้ตรวจเช็คที่ถังน้ำสำรองซึ่งอยู่ภายใน ห้องเครื่องด้านหน้าบริเวณโคมไฟ ซึ่งตัวถังน้ำสำรองจะมีขีดเช็คระดับอยู่ทั้งหมด 3 ขีด คือ MAX,NORMAL,MIN ถ้าน้ำอยู่ในระดับ MIN หรือต่ำสุด ให้เติมน้ำระบายความร้อนลงไปในถังน้ำสำรองจนพอดีกับขีดสูงสุดหรือ MAX
น้ำ ระบายความร้อนนี้นอกจากจะใส่น้ำเปล่าได้อย่างเดียวแล้วสามารถผสมน้ำยารักษา หม้อน้ำลงไปด้วยได้ เพื่อเป็นสารช่วยในการบำรุงรักษาไม่ให้หม้อน้ำเกิดสนิม ลดการกัดกร่อน และยังช่วยให้เครื่องเย็นเร็วแต่ถ้าจะให้ดีควรใช้น้ำยารักษาหม้อน้ำของแท้ ที่เป็นยี่ห้อเดียวกับรถของท่านเพื่อจะได้ป้องกันรถยนต์ของท่านได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด ในรถยนต์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีถังน้ำสำรองอยู่ให้ท่านเติมที่ถังน้ำสำรองได้เลย โดยไม่ต้องเติมในหม้อน้ำรถยนต์ ให้เปิดฝาขึ้นโดยการดึงหรือหมุนเกลียว (โดยส่วนใหญ่ถังน้ำสำรองจะเป็นพลาสติก) จากนั้นให้เติมน้ำลงไปจนถึงขีดสูงสุด แต่อย่าให้ล้นออกมาแล้วจึงปิดฝาดังเดิม
แต่ ถ้ารถรุ่นใดไม่มีหม้อน้ำสำรอง (ส่วนใหญ่จะเป็นรถรุ่นเก่า) ให้เติมน้ำได้ที่หม้อน้ำโดยตรง โดยหมุนฝาปิดหม้อน้ำออกจากนั้นให้เติมน้ำให้เต็มแต่ไม่ล้นออกมาแล้วจึงปิดฝา ตามเดิม ในกรณีที่ไม่มีหม้อน้ำสำรองให้ตรวจเช็คหม้อน้ำทุกวัน
การเปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำ
การที่เราเติมน้ำบ่อย ๆ อาจจะมีสิ่งปลอมปนหรือตะกอนตกค้างทำให้เกิดสนิม เราจึงควรมีการถ่ายน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 2-3 ปีต่อครั้ง หรือถ้าพบว่าเป็นสนิมควรเปลี่ยนถ่ายทันทีเมื่อพบโดยการเปิดก๊อกถ่ายน้ำหรือ ท่อยางที่ก๊อกหม้อน้ำออก ถ้าจะให้ดีควรเปิดฝาหม้อน้ำออกเพื่อช่วยให้ถ่ายน้ำได้เร็วขึ้น เมื่อถ่ายน้ำออกหมดให้ปิดก๊อกแล้วเติมน้ำสะอาดลงไป และควรเติมเติมน้ำยากันสนิมลงไปด้วยเพื่อรักษาหม้อน้ำไม่ให้เกิดสนิม
พัดลมและสายพาน
พัดลม และสายพานจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน เมื่อสายพานหมุนพัดลมก็จะทำงานด้วยเพื่อทำหน้าที่เป่าลมไปยังหม้อน้ำเป็นการ ระบายความร้อนหากสายพานเกิดการชำรุดจนขาดใช้การไม่ได้จะทำให้พัดลมไม่หมุน และน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงควรตรวจเช็คสายพานอยู่เสมอ และหากพบว่าสายพานเก่าหรือเกิดการชำรุดให้รีบถอดเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะไปขาดกลางทาง ถ้าพบว่าสายพานขาดขณะที่ใช้รถและหม้น้ำมีความร้อนสูงห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเติม น้ำโดยเด็ดขาด เพราะไอน้ำร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมไ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อเปลี่ยได้ทันทีด้วย
การตรวจสอบพัดลมและสายพานต้องระวังเรื่องระบบไฟฟ้าด้วย เพราะปกติจะมีสวิตซ์อัตโนมัติควบคุมให้พัดลมหมุนและดับเองเมื่อหม้น้ำร้อน และหม้อน้ำเย็นต้องดับสวิตซ์เครื่องยนต์ก่อนทำการตรวจสอบสายพานและพัดลมเสมอ
ข้อควรระวัง
อย่าปล่อยให้สายพานดึงหรือหย่อนเกินไปเมื่อตรวจพบควรให้ช่างแก้ไข
อย่าใช้สายพานผิดขนาด
อย่าฝืนทนใช้สายพานเก่าหรือชำรุดเมื่อตรวจสอบพบ
พยายามอย่าให้น้ำมันหรือสิ่งหล่อลื่นติดสายพาน เพราะจะทำให้สายพานลื่นหลดออกหรือขาดได้
เทอร์โมสตัส เรื่องน่ารู้ของระบบหล่อเย็น
เทอร์โม สตัส เอ่ยชื่อนี้คนขับรถคงจะคุ้นหูและรู้จักกันดี เพราะหน้าที่ของเทอร์โมสตัสจริง ๆ แล้วจะคอยทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์เป็นวาล์วหรือ สวิตซ์ทำหน้าที่เปิด-ปิดน้ำไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์เมื่อมีความร้อน ถ้าหากเทอร์โมสตัสชำรุดหรือวาล์วเปิด-ปิดค้างความร้อนของเครื่องยนต์จะสูง ขึ้นอย่างรวดเร็วต้องเปลี่ยนหรือทำการแก้ไขส่วนการแก้ไขควรเป็นหน้าที่ของ ช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
การบำรุงรักษาหม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศ หม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศเป็นอีกชิ้นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญภายในรถ หน้าที่หลัก ๆ ของมันคือกรองฝุ่นละอองออกจากอากาศ เพื่อให้ได้อากาศที่สะอาดไหลเวียนผ่านคาร์บิวเรเตอร์ ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศจะทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ได้อย่างมาก เนื่องจากเครื่องยนต์จะมีความสึกหรอสูงหากให้อากาศที่มีฝุ่นละอองถูกดูดเข้า ไปในเครื่องยนต์ หม้อกรองอากาศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
หม้อกรองอากาศแบบแห้ง
หม้อ กรองอากาศแบบนี้จะถูกนิยมใช้กันมาก เป็นหม้อกรองอากาศที่ทำด้วยกระดาษพับซ้อนกันเป็นจีบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ของอากาศให้มากขึ้นในการช่วยกรองอากาศ และจะมีจะแกรงลวดเสริมอยู่ภายในเพื่อป้องกันไม่ให้กระดาษล้มหรือยุบตัว แต่เมื่อใช้งานไปนาน ๆ เข้าหม้อกรองอากาศจะมีฝุ่นละอองจับตัวกันมาก จึงต้องถอดไส้กรองอากาศ ออกมาเพื่อทำความสะอาด
ให้เปิดฝาบริเวณที่เก็บใส้กรองอากาศ ซึ่งจะอยู่บริเวณตอนหนักของรถยนต์ที่ใกล้กับเครื่องยนต์
คลายน็อตยึดต่าง ๆ แล้วจึงค่อย ๆ นำไส้กรองอากาศออกมา
ถ้ามีที่เป่าลมหรือที่สูบลมให้ใช้แรงลมเป่าจากรูไส้กรองบริเวณข้างใน เป่าออกมาทางด้านนอกให้ฝุ่นละอองที่จับอยู่กับไส้กรองหลุดออกมา
ในกรณีที่ไม่มีเครื่องเป่าลมให้นำไส้กรองอากาศมาเคาะกับพื้นเบา ๆ โดยใช้ด้านขนานกับพื้น เพื่อให้ฝุ่นละอองหลุดออกมา
การ กระทำทั้ง 2 วิธีต้องใช้ความนุ่มนวล เพราะถ้าหากกระดาษไส้กรองขาดจะทำให้ประสิทธิภาพในการกรองอากาศด้อยลงไปด้วย และถ้าขาดมาก ๆ อาจต้องเปลี่ยนไส้กรองใหม่ ในการทำความสะอาดไส้กรองนั้นควรจะทำทุก ๆ 2,500 กิโลเมตร อายุการใช้งานของไส้กรองอากาศแต่ละอันนั้นจะประมาณ 10,000 กิโลเมตร เมื่อครบระยะทางควรจะเปลี่ยนไส้กรองอากาศอันใหม่เพื่อการกรองอากาศที่ดีขึ้น
หม้อกรองอากาศแบบเปียก
หม้อ กรองอากาศแบบนี้จะไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนักไส้กรองจะทำมาจาฝอยเหล็กและมี อ่างมันเครื่องสำหรับดักฝุ่นละออง การทำงานของระบบค่อนข้างจะยุ่งยาก คือ เมื่ออากาศถูกดูดผ่านหม้อกรองจะผ่านน้ำมันเครื่อง ฝุ่นละอองจะถูกน้อมันเครื่องจับเอาไว้ อากาศแห้งก็จะถูกดูดเข้าไปในคาร์บิวเรเตอร์ เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาหม้อกรองอากาศแบบเปียกจึงมีความยุ่งยาก และต้องใช้เครื่องมือหลายชนิดพร้อมกับความชำนาญอีกด้วย หน้าที่นี้จึงจะเหมาะกับช่างซ่อมมากกว่า ส่วนการดูแลนั้นควรจะทำทุก ๆ 2,500 กิโลเมตรเช่นกัน และควรเปลี่ยนทุก 10,000-15,000 กิโลเมตรหรือพบว่ามีสิ่งอุดตันมาก ๆในไส้กรอง ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไปแล้วจะใช้ไส้กรองแบบแห้งเพราะการดูแลรักษาง่ายกว่า อีกทั้งยังราคาถูกกว่าไส้กรองอากาศแบบเปียก
การเปลี่ยนไส้กรองอากาศ
ให้ถอดท่อลมออกโดยการดึงขึ้น
ถอดน็อตทั้ง 4 ตัวออก จากนั้นถอดฝาครอบหม้อกรองอากาศออก
ถอดไส้กรองอากาศตัวเก่าออก ใช้ผ้าหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดภายในหม้อกรอง
วางไส้กรองอากาศตัวใหม่ลงไปในหม้อกรองอากาศ
ปิดฝาครอบหม้อกรองอากาศกลับเข้าที่แล้วขันน็อตทั้งหมดให้แน่น

ใส้กรองน้ำมัน
เมื่อ พูดถึงไส้กรองอากาศแล้วจะไม่พูดถึงไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลก็จะกะไรอยู่ ไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อมาถึงก่อนหรือเปลี่ยนมือท่านสงสัยว่าไส้กรองตัน
เนื่อง จากระบบการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันมีความยุ่งยาก ควรทำโดยช่างเทคนิคของศูนย์หรือช่างตามอู่ต่าง ๆ ที่มีความชำนาญงาน ไส้กรองอาจจะถูกเปลี่ยนก่อนกำหนดถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกติดมาในน้ำมันที่เติม
การดูแลจานจ่ายและหัวเทียน (เครื่องเบนซิน) จานจ่ายและหัวเทียน เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่หลักในการจ่ายไฟและจุดระเบิดในการสตาร์ท แต่ในส่วนของจานจ่ายจะมีอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ในการตรวจเช็คควรมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญงานเป็นผู้ดูแลจะดีกว่า สำหรับการดูแลรักษาหัวเทียนจะไม่ยุ่งยากมากนัก เราสามารถทำเองได้ จึงจะบอกกล่าวในจุดนี้มากกว่า
การทำงานของจานจ่าย จานจ่ายมักจะติดตั้งอยู่ด้านข้างของเครื่องยนต์ มีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมและจ่ายกระแสไฟไปสู่หัวเทียนเกี่ยวข้องกับการจุดระเบิด ฯลฯ
การ ตรวจสอบจานจ่ายควรทำทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือตามที่บอกไว้ในหนังสือคู่มือรถของท่าน ซึ่งช่างจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นส่วนประกอบของจานจ่ายด้วย อย่างเช่นปั้มเร่งน้ำมัน คอนเอนเซอร์ หน้าทองขาวการตั้งไทม์มิ่งจุดระเบิด
การทำงานของหัวเทียน
หน้าที่ หลักของหัวเทียนจะคอยเป็นจุดระเบิดเผาไหม้ไอดีภายในหั้งเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติด ขั้วหัวเทียนที่ดีจะต้องสะอาดและมีช่องว่าง (ช่วงห่าง) ของระยะเขี้ยวในตำแหน่งที่ถูกต้องจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ นอกจากนี้หัวเทียนจะต้องมีความคงทนต่อความร้อนได้สูง
การ เปลี่ยนหัวเทียนควรเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือใช้งานไปได้ประมาณ 20,000 กิโลเมตร ในส่วนของการปรับเขี้ยวหัวเทียนควรปรับทุก 6 เดือน หรือเมื่อใช้งานประมาณ 10,000 กิโลเมตร เพราะเมื่อใช้งานไปนาน ๆ เขี้ยวหัวเทียนจะสึกหรอจากการเผาไหม้จึงต้องมีการปรับระยะช่วงห่างกันใหม่
การเปลี่ยนหัวเทียน
เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องพี่งช่างให้เสียค่าแรงโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งจะมีวิธีดังนี้
เช็ดคราบน้ำมันหรือฝุ่นออกจากบริเวณรอบ ๆ ปลั๊กหัวเทียน
ถอดปลั๊กหัวเทียนออก โดยดึงออกมาโดยตรง ๆ
ถอดหัวเทียนโดยใช้ประแจขันหัวเทียนขนาด 5/8 นิ้ว (16 มิลลิเมตร)
ใส่หัวเทียนใหม่เข้ากับประแจขันหัวเทียน จากนั้นขันหัวเทียนเข้าไปในรูหัวเทียนที่ฝาสูบโดยใช้มือขันเพื่อป้องกันการปีนเกลียว
ใช้ประแจวัดแรงบิดขันหัวเทียนให้ได้แรงบิด 18 Nm. (นัวตัน-เมตร) หรือ 1.8 kg-m (กิโลกรัม-เมตร) ถ้าไม่มีประแจวัดแรงบิดให้ใช้ประแจธรรมดาขันหัวเทียนเข้าไปอีก 2/3 รอบหลังจากที่หัวเทียนสัมผัสกับฝาสูบ
เตือนกันสักนิด ให้ขันหัวเทียนด้วยความระมัดระวัง ถ้าหัวเทียนที่ขันไว้หลวมเกินไปจะร้อนจัดและทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าขันหัวเทียนแน่นเกินไปก็จะทำให้เกลียวของรูหัวเทียนในฝา สูบเสียหายได้ ใส่ปลั๊กหัวเทียนกลับเข้าที่ เปลี่ยนหัวเทียนที่เหลือ 3 ตัว ด้วยวิธีการเดียวกัน
การทำความสะอาดหัวเทียนและการตรวจเช็ค ควรทำการตรวจเช็คอยู่เสมอ เพื่อความเรียบร้อยและสมบูรณ์ของหัวเทียน ตรวจสอบระยะเขี้ยวหัวเทียนปรับแต่งตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือที่ติดมากับรถ (ถ้าระยะห่างผิดปกติ) ใช้กระดาษทรายปลายมีดทำความสะอาดเขม่าที่ติดอยู่ตามขั้วหัวเทียน ถ้าหัวเทียนมีเขม่าจับมากให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระบบไฟกำลังอัดในกระบอกสูบ กรณีนี้ควรจะปรึกษาช่างจะดีที่สุด ในกรณีที่หัวเทียนแตกหรือมีรอยร้าว อาจจะเกิดจากความร้อนในการเผาไหม้ที่มีมากผิดปกติ ควรปรึกษาช่าง หากเขี้ยวหัวเทียนเปียกชื้นด้วยน้ำมันหล่อลื่น แสดงว่าระบบควบคุมน้ำมันหล่อลื่นบกพร่องให้ปรึกษาช่างจะดีที่สุด เมื่อทำความสะอาดหัวเทียนเสร็จให้ใช้น้ำมันเบนซินล้างให้สะอาดอีกครั้ง
หัวเทียนมีคราบเขม่าจับอยู่หนาแคะไม่ออก ต้องนำไปเผาไฟให้เขม่าไหม้เป็นถ่านก่อน จึงจะแคะออกได้
การทดสอบหัวเทียน
ใน กรณีที่รถสตาร์ทไม่ติดให้สงสัยได้เลยว่าอาจจะเกิดจากหัวเทียนให้คุณถอดออกมา ทำความสะอาดตามที่แนะนำไปข้างต้น ต่อจากนั้นให้นำปลั๊กสายหัวเทียนสวมไว้ นำคีมที่มีฉนวนคีบแล้วนำปลายหัวเทียนจ่อกับตัวถังแล้วสตาร์ทเครื่อง ถ้าหัวเทียนมีประกายไฟแสดงว่ายังใช้งานได้ แล้วลองทดสอบหัวเทียนอันอื่น ๆ ดูต่อไป แต่เมื่อทดสอบแล้วไม่มีประกายไฟให้ลองเปลี่ยนสายปลั๊กหัวเทียนหากยังไม่มี ประกายไฟอีกแสดงว่าหัวเทียนอันนั้นเสีย ต้องถึงเวลาเปลี่ยนอันใหม่
คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท อุปกรณ์ ที่เราจะกล่าวถึงชิ้นนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญงาน หรือมีความรู้เกี่ยวกับทางด้านช่างมาเป็นผู้ตรวจเช็คเท่านั้นแต่ที่จะกล่าว ถึงก็เพื่อให้ได้ทราบระบบการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างใน ห้องเครื่องยนต์
การทำงานของคอยล์จุดระเบิด คอยล์ จะมีหน้าที่หลักคือ แปลงไฟจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้อนให้กับหัวเทียนทำการจุด ระเบิดให้รถสตาร์ทติด เมื่อพบปัญหารถสตาร์ทไม่ติดตรวจสอบระบบอื่น ๆ แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากคอยล์ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างตรวจเช็คอีกครั้ง
การจะตรวจเช็คด้วยตนเองนั้นทำได้เพียงแค่การทำความสะอาดสายคอยล์ และตรวจดูความแน่นของสายขั้วสายไฟ การทำงานของมอเตอร์สตาร์ทหรือไดสตาร์ท มอเตอร์ สตาร์ทมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบเฉลี่ย และแบบขับล่วงหน้า หรือบางที่เราจะเรียกว่า ไดสตาร์ท รถรุ่นใหม่นิยมใช้แบบขับล่วงหน้าหรือได้สตาร์ทกันมากกว่า
มอเตอร์ สตาร์ทจะทำงานร่วมกับโซลินอยด์ ซึ่งควบคุมกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องเช่นเดียวกันการตรวจ สอบคงจะต้องอาศัยช่างอย่างเดียว
การตรวจสอบฟิวส์และหลอดไฟ
ฟิวส์ และหลอดไฟ มีความจำเป็นมากสำหรับรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืนความจำเป็นยิ่งมาก เป็นทวีคูณ แต่ในส่วนนี้เราจะกล่าวกันในเรื่องของฟิวส์ก่อน ฟิวส์ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟแรงสูงเพื่อไม่ให้เกิดการช็อตหรือเกิดความร้อนขึ้น จนทำให้อุปกรณ์ภายในรถยนต์เสียหายฟิวส์เหล่านี้จะอยู่ในกล่องฟิวส์ซึ่งมี อยู่ 2 กล่องด้วยกัน กล่องฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์ จะอยู่ทางด้านขวา การเปิดกล่องฟิวส์ทำได้โดยการยกตัวล็อคแล้วเปิดออก กล่องฟิวส์ในห้องโดยสารจะติดตั้งอยู่ใต้แผงหน้าปัดทางด้านคนขับซึ่งจะมีฝา เปิด โดยหมุนปุ่มล็อคเพื่อเปิดฝากล่องฟิวส์
การตรวจและเปลี่ยนฟิวส์
ถ้า เกิดกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งภายในรถไม่ทำงานสิ่งแรกที่ควรทำก็ คือ ตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ โดยการตรวจดูแผนผังที่หน้าหรือฝากล่องฟิวส์ดูว่าฟิวส์ตัวไหนบ้างที่ควบคุม อุปกรณ์ที่ไม่ทำงานให้เช็คฟิวส์เหล่านั้นก่อนแล้วจึงเช็คฟิวส์ตัวอื่น ๆ ที่เหลือ ถ้าเช็คแล้วว่าเกิดจากสาเหตุฟิวส์ขาดก็ให้เปลี่ยนฟิวส์ เมื่อเปลี่ยนเสร็จให้ทดลองเปิดอุปกรณ์ดูว่าทำงานหรือไม่
เปิดสวิตซ์กุญแจมาที่ตำแหน่ง “ล็อค” (0) ตรวจดูว่าไฟใหญ่และอุปกรณ์อย่างอื่นทั้งหมดปิดอยู่
จากนั้นถอดฝาครอบฟิวส์ออก เช็คฟิวส์ตัวใหญ่แต่ละอันภายในกล่องฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์ โดยมองดูที่ด้านบนของตัวฟิวส์ว่าเส้นลวดที่อยู่ข้างในขาดหรือไม่ การที่จะถอดฟิวส์ตัวใหญ่ทำได้โดยใช้ไขควงหัวแฉกขันสกรูยึดออก เช็คฟิวส์ตัวเล็กทั้งหมดในกล่องฟิวส์ภายในห้องเครื่องยนต์ และกล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร โดยใช้เครื่องมือถอดฟิวส์ (ที่จะเก็บไว้ในฝากล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร โดยใช้เครื่องมือถอดฟิวส์ (ที่จะเก็บไว้ในฝากล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร) ดึงฟิวส์ออกมาดู ตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ ถ้าฟิวส์ขาดให้เปลี่ยนเอาฟิวส์อะไหล่ที่มีขนาดแอมแปร์เท่ากัน หรือต่ำกว่าใส่เข้าไปแทนในกรณีที่จำเป็น ถ้าท่านไม่มีฟิวส์อะไหล่ติดรถมาด้วยให้ถอดฟิวส์ของวงจรอื่นที่มีขนาดแอมแปร์ เท่ากันหรือต่ำกว่ามาใส่แทนฟิวส์ที่ขาด โดยต้องเลือกถอดฟิวส์ของวงจรที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้น ถ้าฟิวส์ที่เพิ่งเปลี่ยนเข้าไปยังขาดอีกทั้ง ๆ ที่ขนาดของฟิวส์ถูกต้องแสดงว่าระบบไฟฟ้ามีปัญหาท่านจะต้องนำรถไปให้ช่างตรวจ สอบระบบไฟฟ้าอีกครั้งโดยละเอียด การใส่ฟิวส์ที่มีขนาดแอมแปร์สูงกว่าที่กำหนด จะทำให้ระบบไฟฟ้ามีโอกาสที่จะเสียหายได้มากขึ้น ถ้าท่านไม่มีฟิวส์สำรองให้เลือกขนาดแอมแปร์ที่ถูกต้องหรือเล็กกว่าจะดีที่สุด
รอบรู้กับเรื่องฟิวส์อย่าใส่ฟิวส์ผิดขนาด เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในรถอาจจะทำให้เกิดความร้อนจนเกิดเพลิงไหม้ได้ อย่างใช้อุปกรณ์อื่น ๆ แทนฟิวส์ เช่น ลวด สายทองแดง ถ้าเป็นไปได้ควรมีฟิวส์สำรองติดรถเพื่อเปลี่ยนในยามฉุกเฉิน ถ้าพบว่าฟิวส์ขาดบ่อยควรจะเข้าไปพบช่างเพื่อตรวจสอบสาเหตุของการลัดวงจร กรณีที่ฟิวส์ขาดพร้อมกันหลายตัว นั่นย่อมแสดงถึงความผิดปกติของระบบไฟควรให้ช่างรีบตรวจเช็คโดยด่วน ถ้าฟิวส์ขาดกลางทางขณะที่ขับรถอยู่ สามารถใช้แผ่นตะกั่วที่อยู่ในซองบุหรี่หุ้มฟิวส์แล้วใส่เข้าที่เดิม ซึ่งจะใช้ได้ชั่วคราว เมื่อพบร้านซ่อมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที
ถ้าขั้วฟิวส์สกปรก ชำรุด หรือเปียกน้ำ อาจทำให้เกิดการช็อคได้ จึงควรหมั่นทำความสะอาดและตรวจสอบ
ทำเครื่องหมายไว้ทุกครั้งเมื่อมีการถอดขั้วฟิวส์ เนื่องจากเวลาใส่กลับอาจมีการสับสน
ควรจะมีอุปกรณ์วัดไฟ ไขควง ไฟฉาย และเครื่องมืออื่น ๆ ไว้สำหรับตรวจสอบฟิวส์และเครื่องยนต์อื่น ๆ ภายในรถ ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของฟิวส์จากคู่มือที่ติดมากับรถ
การเปลี่ยนหลอดไฟหน้า ในกรณีหลอดไฟหน้าขาดจำเป็ต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ ส่วนใหญ่หลอดไฟที่ใช้ในรถยุคปัจจุบันจะเป็นหลอดไฟแบบ “ฮาโลเจน” เพราะจะให้ความส่องสว่างที่ดีกว่า ในการเปลี่ยนหลอดไฟชนิดนี้ให้ใช้มือจับเฉพาะส่วนฐานที่เป็นโลหะเท่านั้น ห้ามจับส่วนที่เป็นหลอดแก้วและโปรดระวังอย่าให้หลอดแก้วถูกของแข็งตกแตก แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ บังเอิญไปจับโดนบริเวณหลอดแก้วให้ใช้ผ้าสะอาดชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด เพราะหลอดไฟฮาโลเจนตัวหลอดจะมีความร้อนสูงมาก เมื่อโดนคราบเหงื่อ คราบน้ำมัน หรือรอยขีดข่วนจะทำให้หลอดร้อนจัดมากขึ้นหลอดนั้นอาจแตกได้ ส่วนการเปลี่ยนหลอดไฟหน้าจะมีวิธีปฏิบัติดังนี้ เปิดฝากระโปรงหน้า เมื่อท่านต้องการเปลี่ยนหลอดไฟใหญ่ทางด้านขวา ให้ถอดท่ออากาศหรือถังน้ำสำรองของหม้อน้ำออกก่อนโดยดึงขึ้นมาโดยตรง ถอดหัวต่อสายไฟออกจากหลอดไฟโดยดึงหัวต่อออกมาตรง ๆ ดึงซีลยางออกมา ปลดปลายลวดล็อคออกจากร่อง โยกลวดล็อคหลบออกไปแล้วถอดหลอดไฟหน้าออก ใส่ หลอดไฟหน้าอันใหม่เข้าไป โดยให้แง่ล็อคของฐานหลอดอยู่ตรงกับร่องของมัน โยกลวดล็อคกลับเข้าที่ และเหน็บปลายลวดล็อคเข้ากับร่องของมัน ใส่ซีลยางกลับเข้าที่ โดยให้คำว่า TOP อยู่ด้านบน ใส่หัวต่อสายไฟกลับเข้าที่ขั้วหลอด แล้วลองทดสอบเปิดสวิตซ์ไฟหน้าดูว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ใส่ท่ออากาศหรือถังน้ำสำรองกลับเข้าที่ (สำหรับไฟหน้าด้านขวา)
หมายเหตุ ในรุ่นอื่น ๆ อาจจะมีวิธีการถอดหลอดไฟที่แตกต่างกันไป กรุณาดูคู่มือที่ติดมากับการประกอบการเปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไฟเลี้ยว (บังโคลนหน้า)
ไฟ เลี้ยว เป็นไฟให้สัญญาณที่สำคัญไม่แพ้หลอดไฟหน้า ถ้าเกิดหลอดขาดแล้วก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะรถที่ตามมาทางด้านหลังจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราจะเลี้ยวตรงไหน หรือจะแซงไปเลนไหนซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การเปลี่ยนไฟเลี้ยวสามารถทำได้ดังนี้ ใช้ไขควงปากแบน งัดขอบด้านในของชุดไฟเลี้ยวอย่างระมัดระวังจนชุดไฟหลุดออกมา ปิดเบ้ายึดทวนเข็มนาฬิกาแล้วดึงออก ใส่เบ้ายึดหลอดไฟดวงใหม่เข้าไปแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกาจนกระทั่งล็อคอยู่ เปิดไฟเลี้ยวทดสอบว่าทำงานได้หรือไม่
ใส่ชุดไฟกลับเข้าที่โดยใส่ด้านหน้าเข้าก่อน แล้วกดด้านหลังจนชุดไฟเข้าไปจนสุด การเปลี่ยนหลอดไฟเลี้ยวด้านหน้า นอกจากไฟเลี้ยวด้านข้างแล้ว ไฟเลี้ยวด้านหน้าก็มีการทำงานเหมือนกัน ถ้าเกิดหลอดขาดขึ้นมาก็จะต้องทำการเปลี่ยนกันใหม่โดย ใช้ไขควงหัวแฉกขันนอตยึดชุดโคมไฟเลี้ยวออกให้หมด ดึงชุดโคมไฟเลี้ยวออกมาจากกันชน บิดเบ้ายึดหลอดไฟทวนเข็มนาฬิกาแล้วดึงออกมาตรง ๆ ใส่หลอดไฟอันใหม่เข้ากับเบ้ายึดหลอดโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาให้เข้าล็อค เปิดไฟเลี้ยวเพื่อทำการทดสอบ ในการใส่ชุดโคมไฟเลี้ยวเข้ากับกันชนตรวจดูให้แน่ใจว่าแถบของชุดไฟเลี้ยวเข้าไปในเบ้าของกันชนถูกต้อง ขันน็อตยึดกลับเข้าที่เดิม
การเปลี่ยนหลอดไฟหรี่หน้า ไฟหรี่ เป็นไฟที่เราจะนิยมเปิดกันในยามพลบค่ำที่ฟ้ายังไม่มืดมากเพราะถ้าเปิดไฟหน้า อาจจะทำให้เปลืองไฟและทำให้รถคันหน้าเกิดความรำคาญหรือในขณะที่รถจอดนิ่งแต่ ยังไม่ดับเครื่องเป็นการบอกสัญญาณว่ามีรถจอดอยู่ตรงบริเวณนี้เพื่อให้คัน หลังที่วิ่งฝ่าสายฝนมาสามารถมองเห็นรถคันหน้าได้อย่างชัดเจน สำหรับการเปลี่ยนไฟหรี่หน้าสามารถทำได้ดังนี้
เปิดฝากระโปรงออก ใช้ไขควงหัวแฉกขันน็อตยึดชุดโคมไฟหรี่ ดึงชุดไฟหรี่มาทางด้านหน้าจนชุดไฟหลุดออกมา ถอดเบ้ายึดหลอดไฟออกจากชุดโคมไฟ โดยบิดทวนเข็มนาฬิกา ผ รอบ แล้วดึงหลอดไฟออกมาตรง ๆ แล้วเสียบหลอดไฟอันใหม่เข้าไปจนสุด ใส่เบ้ายึดกลับเข้าที่แล้วบิดตามเข็มนาฬิกาจนเข้าล็อค ลองเปิดสวิตซ์การทำงานของไฟหรี่ ใส่ชุดโคมไฟเข้าที่ ดันขอบด้านหน้าให้สนิท ขันน็อตยึดกลับที่เดิมให้แน่น
การเปลี่ยนหลอดไฟต่าง ๆ ที่ท้ายรถ ใน ส่วนของท้ายรถจะมีหลอดไฟอยู่หลายหลอดทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่จะอยู่รวมกันในที่เดียวจึงสะดวกต่อการเปลี่ยนหลอดไฟ (ในกรณีที่ขาดพร้อมกันหลายหลอด) ว่าแล้วเรามาดูถึงวิธีการเปลี่ยนหลอดไฟกันเลยดีกว่า (ในกรณีที่เป็นรถเก๋ง)
ให้เปิดฝากระโปรงท้ายออกก่อน แล้วถอดฝาครอบชุดไฟท้ายออกโดยหมุนปุ่มล็อค แล้วตรวจเช็คดูว่าหลอดไฟดวงไหนขาด ไฟเบรก/ไฟท้าย (หลอดเดียงกัน)/ไฟถอย/ไฟเลี้ยว ถอดเบ้ายึดหลอดไฟดวงที่ขาดออก โดยบิดทวนเข็มนาฬิกา ใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปในเบ้า บิดตามเข็มนาฬิกาจนเข้าล็อค ตรวจเช็คการทำงานของหลอดไฟ ปิดฝาชุดไฟท้าย
หมายเหตุ สำหรับการเปลี่ยนไฟท้ายในพวกรถกระบะอาจจะถอดน็อตยึดที่ชุดไฟท้ายซึ่งจะไม่ เหมือนกัน ยังไงแล้วก็ให้ดูที่คูมือรถรุ่นของท่านประกอบไปด้วยเพื่อทำให้การเปลี่ยน ง่ายขึ้น
การเปลี่ยนหลอดไฟส่องทะเบียน หลอดไฟส่องทะเบียนจะมีติดอยู่ในรถทุกรุ่น ประโยชน์ของมันก็เพื่อเป็นไฟส่องสว่างให้สามารถเห็นป้ายทะเบียนได้ชัดเจนใน ยามค่ำคืน ถ้าหลอดขาดจะมีวิธีเปลี่ยนดังนี้
ถอดน็อต 2 ตัวออก แล้วดึงชุดไฟออกมา ถอดเลนส์ออกจากซีลยางและฝาเหล็ก ดึงหลอดไฟออกจาเบ้าใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปจนสุด ลองเปิดไฟเพื่อทดสอบการทำงานว่าติดหรือไม่ ใส่ฝาเหล็กและเลนส์กลับเข้าที่เดิม แล้วใส่ชุดไฟขันน็อตให้แน่น
การเปลี่ยนหลอดไฟเก๋ง ถึงแม้จะมีชื่อว่าหลอดไฟเก๋ง แต่ใช่ว่าจะมีแต่ในรถเก๋งอย่างเดียว รถประเภทอื่นก็มีเหมือนกัน หลอดไฟเก๋งที่ว่ามานี้จะเป็นหลอดไฟเพดานและไฟประตู ซึ่งจะมีวิธีการเปลี่ยนเหมือนกันแต่ใช้หลอดไฟไม่เหมือนกัน ใช้ไขควงปากแบนขนาดเล็กงัดเลนส์ออกมา โดยงัดบริเวณขอบเลนส์ อย่างัดบนกรอบที่อยู่รอบเลนส์ ดึงหลอดไฟออกจากเบ้ายึดหลอดไฟ ใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปแล้วจึงใส่เลนส์กลับเข้าที่
การบำรุงรักษาเบรก เอี๊ยด...! เสียง เบรกดังสนั่นได้ยินแล้วเสียวเข้าไปในหู แต่ก็ช่วยให้รถหยุดชะงักได้ดีที่เดียว สำหรับการเบรกแบบนี้จะทำให้เบรกเสื่อมสภาพได้เร็ว รวมไปถึงเกิดการเสียหายของหน้ายางที่เราจะกล่าวในหัวข้อต่อไปในตอนนี้เราคง จะพูดถึงเรื่องเบรกกันก่อน จะว่าไปแล้วหน้าที่ของเบรกก็คือ การทำให้รถหยุดหรือทำให้การเคลื่อนไหวของรถช้าลงในเวลาที่ขับขี่ เพราะฉะนั้นเราจึงควรรักษาเบรกให้พร้อมใช้งานมากที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน
ดิสค์เบรก เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ทั้งดิสค์เบรก 2 ล้อ และดิสค์เบรก 4 ล้อในส่วนของสองล้อจะเป็น สองล้อด้านหน้า ส่วนที่เหลืออีก 2 ล้อจะเป็นดรัมเบรก ระบบการทำงานของดิสค์เบรกจะแยกทำงานกันคนละส่วนแยกอิสระต่อกัน ซึ่งส่วนใหญ่ระบบนี้จะใช้กับรถรุ่นใหม่เพราะให้การเบรกที่แม่นยำหยุดได้ทันใจ
ดรัมเบรก ปัจจุบันยังมีรถยนต์ที่ใช้ระบบนี้บ้างแต่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปลูกผสมระหว่างดิสค์เบรกกับดรัมเบรกมากกว่า ลักษณะของดรัมเบรกจะเป็นแผ่นเบรกสองแผ่นดันบริเวณกระทะเบรกเพิ่มความเสียด ทานเพื่อช่วยในการหยุดรถหรือชะลอรถ
ระบบเบรก ABS หลาย ๆ คนอาจจะเคยคุ้นหูหรือรู้จักกันเป็นอย่างดีกับระบบเบรก ABS แต่ระบบเบรก ABS ที่แท้จริงเป็นอย่างไรนั้น ครั้งนี้เรามีมาเล่าสู่กันฟัง ระบบเบรก ABS เป็นระบบที่มีเทคโนโลยีแบบใหม่สามารถควบคุมล้อล็อคตายได้เมื่อรถเบรกอย่าง รุนแรงหรือกระทันหัน ในระบบนี้จะทำให้ผู้ขับขี่สามารถบังคับรถไปในทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่เสีย การทรงตัว
น้ำมันเบรก การที่ดิสค์เบรกจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยน้ำมันเบรกเป็นตัวช่วยในการทำงาน ซึ่งน้ำมันเบรกจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากต้องใช้ร่วมกันกับระบบเบรกจะขาดเสียไม่ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับของน้ำมันเบรกจะต้องคอยเช็คอยู่ตลอดเวลาว่าลดลงจาก เดิมหรือไม่ จะว่าไปแล้วก็คล้าย ๆ กับระดับน้ำมันเครื่องคือต้องพยายามดูแลไม่ให้ลดต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่ กำหนดไว้
น้ำมัน เบรกจะมีขายอยู่ตามปั้มน้ำมันทั่วไป คุณภาพมาตรฐานก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับท่านมากกว่าว่าต้องการในระดับที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับท่านมากกว่าว่าต้องการหรือชอบยี่ห้อไหน หรืออาจจะดูตามมาตรฐานของคู่มือรถที่บอกมาก็ได้
การตรวจสอบและการเติมน้ำมันเบรก การตรวจสอบน้ำมันเบรกนั้นทำได้ง่ายเพียงแค่มองด้วยตาเปล่าเพราะบริเวณกระปุกน้ำมันเบรกที่อยู่ในห้องเครื่องยนต์จะมีขีดบอก MAX หมายถึงสูงสุด MIN หมายถึงต่ำสุด ต้องตรวจเช็คเสมอ เพราะถ้าหากปล่อยให้น้ำมันเบรกแห้งหรือรั่วออกไปจนหมดหรือเหลือน้อย การเบรกจะไม่มีประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ น้ำมันเบรกควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งจะมาถึงก่อน ถ้า เผื่อว่าตรวจเช็คแล้วพบว่าน้ำมันเบรกอยู่ในขีดที่เกือบต่ำสุดหรือลดลงมาก ให้รีบเติมน้ำมันเบรกกลับเข้าไปโดยเร็ว การเติมน้ำมันเบรกจะมีวิธีการดังนี้
เปิดฝากระโปรงรถขึ้น กระปุกน้ำมันเบรกจะอยู่ชิดกับตัวถังด้านในติดกับกระจก ก่อนเปิดฝาน้ำมันเบรกให้เช็ดทำความสะอาดบริเวณฝาปิด-เปิดให้สะอาดเพื่อป้องกัน สิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองต่าง ๆ ตกลงไปทำให้ระบบเบรกเสียหาย เติมน้ำมันเบรกลงไปในกระปุกให้ถึงขีดของ MAX ปิดฝาให้เรียบร้อย อย่าลืมก่อนปิดควรทำความสะอาดฝาอีกครั้งหนึ่งก่อน
เหลียวมองสักนิด น้ำมันเบรกจะสามารถทำปฏิกิริยากับสีรถได้ ในการเติมน้ำมันเบรกพยายามอย่าทำน้ำมันเบรกหกหรือหยดลงบริเวณตัวถัง หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้รีบเช็ดให้แห้งทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะทำให้สีรถถลอกได้และห้ามวางขวดน้ำมันเบรกบนฝากระ โปรงรถเด็ดขาด
น้ำมันเบรกที่ใช้ควรจะอยู่ในเกรดเดียวกัน ห้ามเติมข้ามเกรดเป็นอันขาด อีทั้งให้เช็คถึงคุณสมบัติว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไหร่ถึงจะได้เวลาในการถ่าย น้ำมันเบรกเก่าออก แล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่เข้าไป ในการถ่ายน้ำมันเบรกเก่าออก แล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่เข้าไป ในการถ่ายน้ำมันเบรกควรใช้บริการช่างจะดีกว่าโดยจะไปตามปั้มที่ให้บริการ ถ่ายน้ำมันหรือศูนย์ต่าง ๆ ก็ได้
สำหรับ ในส่วนของผ้าเบรกและจานเบรก 2 อย่างนี้คงต้องยกให้เป็นหน้าที่ของช่างจะแน่นอนกว่า เราทำเองคงจะลำบากเพราะต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง
เบรกมือ เบรกมือหรือเบรกจุดที่ 2 ที่มีติดอยู่ภภายในรถยนต์ ซึ่งเบรกมือนี้จะใช้เฉพาะในเวลาที่รถจอดหยุดนิ่งสนิท หรือในเวลาที่รถติดและรถขึ้นสะพานทางลาดชัน เพราะถ้าใช้การเหยียบเบรกธรรมดา ด้านล่างจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุ ระบบเบรกมือจะมีระบบกลไกที่ใช้ล็อคล้อหลังไม่ให้เคลื่อนที่ บริเวณที่ตั้งของเบรกมือจะอยู่ที่บริเวณเกียร์หรือถัดลงมาด้านล่าง (สำหรับรถเก๋ง) แต่พวกรถกระบะจะอยู่บริเวณด้านล่างพวงมาลัยทางซ้ายมือ การดูแลเบรกมือคงไม่มีอะไรมาก มีแต่เพียงในเวลาที่ใส่เบรกมือแล้วจะขับรถออกไปให้ปลดเบรกมือลงก่อนทุกครั้ง จะสังเกตุได้จากไฟสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ที่หน้าปัดรถว่าในขณะนี้เราใส่เบรก มือรถอยู่ ถ้าเราปลดเบรกมือลงไฟที่หน้าปัดก็จะหายไป แต่ถ้าเราลืมปลดเบรกมือรถในบางรุ่นก็สามารถเคลื่อนตัวไปได้แต่รถก็จะฝืด ๆ เร่งไม่ค่อยขึ้น และผลกระทบที่ตามมาก็คือ ระบบเบรกทางด้านหลังจะเสียหายได้ สำหรับรถยนต์ในบางรุ่นถ้าไม่ปลดเบรกมือลงรถยนต์ก็จะวิ่งไม่ได้ จนกว่าจะปลดเบรกมือลงให้เรียบร้อย
การดูแลรักษาคลัตซ์และเกียร์ คลัตซ์ อุปกรณ์ชิ้นนี้จะมีในรถยนต์เกียร์กระปุกหรือเกียร์ธรรมดา รวมถึงรถยนต์เกียร์ออโตเมติคด้วย คลัตซ์จะเป็นตัวต่อกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังห้องเกียร์ ช่วยให้สามารถเข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเราเข้าเกียร์แล้วไม่เหยียบคลัตซ์จะเกิดเสียงดังทำให้เข้าเกียร์ไม่ ได้ สำหรับการตรวจสอบคลัตซ์และเกียร์ควรจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างจะดีที่สุด เพราะในส่วนภายในจะมีความสลับซับซ้อนต้องอาศัยความรู้ความชำนาญของช่าง แต่ในสิ่งที่เราสามารถตรวจเช็คได้ก็คือ การสังเกตุสิ่งผิดปกติ อย่างเช่น เมื่อพบว่าคลัตซ์แข็ง เหยียบคลัตซ์ต้องใช้แรงมาก มีกลิ่นเหม็นไหม้ออกมาจากคลัตซ์ (และเบรก) มีเสียงดัง เสียงโลหะกระทบกันเมื่อเหยียบคลัตซ์ยกขาออกเสียงก็จะหาย เข้าเกียร์ยาก ถ้าพบว่ามีอาการเช่นนี้ก็ให้รีบเตรียมแจ้งรายละเอียดให้ช่างทราบเพื่อการ แก้ไขได้ถูกจุด
นอกเหนือจากเรื่องเหล่านี้แล้วเกียร์และคลัตซ์ ต้องอาศัยน้ำมันเกียร์เข้ามาเป็นตัวช่วยในการหล่อลื่นเพื่อให้การเข้าเกียร์ มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจเช็คว่าน้ำมันเกียร์ลดลงไปจากจุดที่กำหนดหรือไม่ สำหรับการตรวจเช็คเราสามารถทำได้ดังนี้
สำหรับเกียร์ธรรมดา ในการเช็คน้ำมันเกียร์จะต้องทำหลังจากที่ดับเครื่องยนต์เป็นเวลา 2 นาที โดยการใช้แม่แรงยกรถขึ้นและรถจะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน จากนั้นให้ถอดนอตเติมน้ำมันออก ระดับน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่เสมอขอบล่างของรูเติมน้ำมัน ให้สอดนิ้วมือเข้าไปในรูเติมน้ำมันดูว่าได้ระดับหรือไม่ ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมน้ำมันเกียร์ช้า ๆ จนกระทั่งน้ำมันเกียร์เริ่มไหลออกจากรูเดิมใส่นอตเติมน้ำมันกลับเข้าที่และ ขันให้แน่น น้ำมันที่ใช้กับเกียร์ธรรมดาต้องเป็นน้ำมันเครื่องชนิด SF หรือ SG ที่มีความหนีด 20W-40 หรือ 20W-50 เท่านั้น และควรถ่ายน้ำมันเกียร์ธรรมดาทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน (ที่กล่าวมานี้สำหรับรถบางรุ่นที่ไม่มีกระปุกเช็คน้ำมันเกียร์บริเวณห้อง เครื่องยนต์) ในรถยนต์บางรุ่นจะมีกระปุกน้ำมันเกียร์อยู่ภายในห้องเครื่องทำให้ตรวจสอบ ระดับน้ำมันเกียร์ได้ง่าย กระปุกน้ำมันเกียร์จะคล้ายกับกระปุกน้ำมันเบรกแต่จะเล็กกว่ามีขีดบอกระดับ MAXอ สูงสุด MIN คือ ต่ำสุด เช่นเดียวกัน ซึ่งน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่ในระดับสูงสุดเสมอ ถ้าต่ำลงมามากก็ให้เติมน้ำมันเกียร์กลับลงไป
สำหรับเกียร์อัตโนมัติ การเช็คระดับน้ำมันเกียร์อันโนมัติจะตรงกันข้ามกับเกียร์ธรรมดาคือจะต้องเช็คใน เวลาที่อุ่นเครื่องยนต์ได้สักพักแล้วโดยให้นำรถเข้าจอดบนพื้นที่ได้ระดับ แล้วจึงค่อยดับเครื่องยนต์
ดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ออกมาจากตัวเกียร์ แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดก้านวัด เสียบก้านวัดน้ำมันกลับเข้าที่ แล้วดึงออกมาอีกครั้ง (ทำเช่นเดียวกับวัดระดับน้ำมันเครื่อง) เช็คระดับน้ำมันเกียร์ที่ก้านวัด ระดับน้ำมันเกียร์ควรจะอยู่ระหว่างขีดบนและขีดล่าง
ถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดล่างให้เติมน้ำมันจนอยู่ในระดับขีดบนให้ใช้น้ำมัน เกียร์อัตโนมัติสูตรพิเศษของยี่ห้อรถยนต์ท่านเท่านั้น แล้วเสียบก้านวัดน้ำมันกลับเข้าที่ให้สุด ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตรเมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน
หมายเหตุ ควรดูแลน้ำมันเกียร์ให้สม่ำเสมอ เพราะราคาซ่อมเกียร์แพงมาก
การดูแลรักษาล้อและยาง ล้อและยางถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับเท้าของคนเราจะต่างกันที่เท้าของคนเอา ไว้เดินมากกว่า แต่ล้อและยางของรถมีเอาไว้วิ่งตามท้องถนนถ้ารถขาดล้อและยางไปล่ะก็ลำบากแน่ ๆ หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุทำให้ยางแบนยางรั่ว อันนี้แย่เหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูกันในเรื่องของวิธีการแก้ไขเรามาดูกันในเรื่องของชนิดและ ลักษณะของล้อกันก่อน โดยสามารถแบ่งเป็นลักษณะของกระทะล้อ คือ
1. กระทะล้อชนิดธรรมดา ส่วนใหญ่จะติดมากับรถยนต์ทั่วไป รวมไปถึงรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกมาจากโรงงาน วัสดุที่ใช้ในการผลิตจะเป็นเหล็ก จึงทำให้มีความทนทานแข็งแรงแต่ใช่ว่าจะมีข้อดีอย่างเดียว ข้อเสียก็มีเหมือนกันคือ จะมีน้ำหนักมากถ้าใช้ไปนาน ๆ จะทำให้เกิดสนิมได้ อีกทั้งรูปทรงที่ผลิตออกมาก็ไม่ค่อยสวยงามถูกตาต้องใจเท่าไหร่นักจึงไม่นิยม ใช้กัน ส่วนใหญ่จะถอดเปลี่ยนในภายหลัง
2. กระทะล้อแบบพิเศษ กระทะล้อแบบนี้จะได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีรูปทรงที่สวยงาม และมีลวดลายให้เลือกหลากหลาย หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ล้อแม็ก” นั่นเอง วัสดุที่ใช้ทำล้อแม็กนั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภทคือ อะลูมินั่มและแมกนีเซียม ในส่วนของรถยนต์นั่งธรรมดาทั่วไปจะนิยมใช้ล้อแม็กที่เป็นอะลูมินั่มมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่าแมกนีเซียม แต่คุณภาพค่อนข้างใกล้เคียงกัน สำหรับแมกนีเซียมเป็นวัสดุที่ใช้ผลิตล้อแม็กมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้กับพวกรถแข่งที่ต้องใช้ความเร็วสูงในสนาม สนนราคาจึงค่อนข้างแพงอยู่สักหน่อย ข้อดีของวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีความทนทานแข็งแรงและช่วยระบายความร้อนของยางและเบรกได้ดี รวมทั้งยังมีน้ำหนักเบากว่ากระทะล้อที่เป็นเหล็กด้วย
การ บำรุงรักษาก็คงจะไม่มีอะไรมากเพียงคอยระวังอย่าให้ยางแบนในเวลาขับขี่ เพราะจะทำให้ยางและกระทะล้อเสียหายได้ และคอยดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ
ยางรถยนต์ ยาง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กับล้อจะตัดขาดกันเสียมิได้ เมื่อพูดถึงล้อแล้วจะไม่พูดถึงยางก็กระไรอยู่ จะว่าไปแล้วยางที่เราเห็นโดยทั่วไปนี้จะเป็นตัวบรรจุอากาศเพื่อช่วยรองรับ แรงสั่นสะเทือนที่ได้รับจากถนน ดังนั้นยางจึงต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อช่วยลดแรงสั่งสะเทือนให้ส่งไปยังตัว ถังน้อยลงและยังช่วยในการยึดเกาะถนนเพื่อให้เกิดการทรงตัวที่ดี ไม่ให้เกิดการไถลไม่ว่าจะเบรก เร่ง หรือเลี้ยวก็ตามโครงสร้างของยางจะประกอบด้วยชั้นของยางผ้าใบ และเส้นลวด ยางอาจจะมีชั้นของผ้าใบ 2,4 หรือ 6 ชั้น ในการใช้งานกับรถเก๋งทั่วไป ชนิดของยาง ยางโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้กันในปัจจุบันจะมีด้วยกันหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะของการวางผ้าใบจะมีชนิดดังต่อไปนี้
1. BIAS TIRE ยางประเภทนี้จะเป็นยางธรรมดาที่ใช้กันโดยทั่วไปตามรถยนต์ต่าง ๆ เนื่องจากมีราคาถูกและมีอายุการใช้งานพอสมควรตามสภาพที่ใช้
2. BELTED BIAS TIRE มีโครงสร้างเหมือนกับแบบแรกแต่จะมีความพิเศษเพิ่มขึ้นมาตรงที่มีแผ่นรองหน้า ยาง ทำให้ดอกยางมีความแข็งแรงทนทานขึ้น รับน้ำหนักได้ดีและทนต่อการฉีกขาดหรือการระเบิดของยาง อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น
3. RADIAL TIRE ยางเรเดียลเป็นยางที่ในปัจจุบันนิยมใช้กันมาก มีโครงสร้างเช่นเดียวกับแบบแรก และแบบที่ 2 แต่จะเสริมด้วยแผ่นเหล็กหรือเส้นลวดรองรับในแต่ละชั้นที่เรียกกันว่า เสริมใยเหล็ก มีความแข็งแรงทนทานมาก อายุการใช้งานจะยาวนานกว่า 2 แบบแรก ทนต่อการฉีกขาดของหน้ายางและการระเบิดได้ดี ยางประเภทนี้เมื่อรับน้ำหนักจะดูเหมือนลมยางอ่อน แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นมันเป็นลักษณะเฉพาะของยางชนิดนี้
โครงสร้างของยางยังแบ่งออกเป็น ยางชนิดที่มียางในเป็นรูปแบบที่ใช้กันมาเนิ่นนานแล้ว และในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้กันอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับยางทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยางในยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ชนิดคือยางธรรมชาติและยางเทียม ซึ่งสามารถใช้ในงานทั่ว ๆ ไป และดีสำหรับการบรรทุกหนัก
ยางชนิดที่ไม่มียางใน จะนิยมกันมากในรถยนต์สมัยใหม่ ซึ่งจะใช้กับยางประเภทเรเดียล เหมาะกับรถเก๋งมากกว่าเพราะรับน้ำหนักไม่ค่อยมากนัก เนื่องจากการรับน้ำหนักมาก ๆ จะสู้ชนิดที่มียางในไม่ได้
การเติมลมยาง ในการบำรุงรักษายางนั้นวิธีที่จะเหมาะที่สุดคงจะเป็นการรักษาระดับของลมยางให้ มีแรงดันลมที่ถูกต้องอยู่เสมอ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แรงดันลมในยางทั้ง 4 ล้อจะมีกำหนดมาให้ในคู่มือที่ติดมากับรถ ว่าล้อหน้าต้องเติมกี่ปอนด์ ล้อหลังเติมกี่ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าเกิดเปลี่ยนยางใหม่ที่ไม่เหมือนกับยางเดิมที่ใช้อยู่ก็ต้องถามจากเจ้าของ ร้านยางว่ายางแบบนี้ต้องเติมลมเท่าไหร่ เพราะการเติมลมไม่ถูกต้องจะทำให้ยางสึกหรอเร็วกว่าปกติและอาจเกิดการระเบิด ได้ การที่จะเติมลมเข้าไปในยางประมาณเท่าไหร่นั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ชนิดของยาง ขนาดของยาง การใช้งานซึ่งลมจะไม่เท่ากัน วิธีที่ดีที่สุดก็คงจะต้องเติมตามคู่มือที่ให้มา หรือให้ถามจากร้านขายยางเพราะจะมีตามรางบอกถึงประเภทของยางชนิดของยาง ว่าต้องเติมลมเท่าไหร่ จะดีที่สุด ส่วนการตั้งศูนย์ถ่วงล้อนั้นคงต้องเป็นหน้าที่ของช่าง ตั้งด้วยตนเองคงจะทำลำบากเพราะต้องใช้เครื่องมือมาก
มาเรียนรู้การเปลี่ยนยางอย่างถูกวิธี เมื่อ ท่านขับรถอยู่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดคาดฝันเกิดยางรั่วขึ้นมาแล้วบริเวณนั้น ไม่มีร้านซ่อมรถยนต์ คราวนี้แหละท่านต้องแสดงฝีมือในการเปลี่ยนล้อยางด้วยตนเองแล้ว แต่ถ้าท่านใดยังไม่เคยประสบปัญหาเหล่านี้ แต่ยังเปลี่ยนล้อไม่เป็นล่ะก็ต้องรีบศึกษาจากคอลัมน์นี้เอาไว้เลย เผื่อเอาไว้ว่าอาจจะต้องประสพปัญหาเข้าสักวันหนึ่ง
ในกรณีนี้ท่านต้องมีอุปกรณ์ติดรถมาด้วยก็คือ แม่แรงกับประแจขันล้อ หรือกากบาทส่วนแม่แรงนั้นจะมีอยู่หลายประเภทในการที่จะเลือกซื้อเป็นอุปกรณ์ ติดรถควรจะรู้จักประเภทของแม่แรงเสียก่อน
1. แม่แรงแบบน้ำมัน แม่แรงชนิดนี้จะมีความสะดวกสบายในการใช้และช่วยเบาแรงได้เยอะแม่แรงแบบน้ำมันจะ มีลักษณะเป็นแท่งและจะมีเหล็กท่อโยกให้แกนตรงกลางยึดขึ้นเพื่อดันรถให้ลอย พ้นพื้น การโยกนั้นจะโยกขึ้นโยกลงสลับกันไปส่วนวิธีการเอาแม่แรงลงนั้นก็เพียงหมุน ปุ่มที่อยู่ด้านท้ายแม่แรงเท่านั้น (ควรหมุนลงอย่างช้า ๆ ) แม่แรงก็จะลดระดับลงมาเท่าเดิม
2. แม่แรงแบบกลไก เป็นแม่แรงที่พบเห็นได้ทั่วไป ส่วนใหญ่อาจเป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับรถจากโรงงานจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับวงรี ใน ยามที่จะใช้ให้ต่อเหล็กท่อหมุนเข้าที่แม่แรง ปลายของแม่แรงจะยกเข้าหากันทำให้ในส่วนตรงกลางของแม่แรงสูงขึ้นและดันรถให้ ลอยพ้นพื้น แม่แรงชนิดนี้จะใช้มือหมุนซึ่งจะต้องออกแรงมากกว่าแม่แรงชนิดแรก โดยให้หมุนตามเข็มนาฬิกา จากซ้ายไปขวา เมื่อจะเอาลงให้หมุนย้อนกลับแม่แรงก็จะลดระดับลงเหมือนเดิม
ตำแหน่งในการขึ้นแม่แรง รถยนต์แต่ละรุ่นจะมีตำแหน่งหรือจุดในการขึ้นแม่แรงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อเราจะขึ้นแม่แรงก็ควรจะศึกษาจุดขึ้นแม่แรงจากคู่มือรถยนต์ก่อน เป็นดีที่สุด ถ้าหากว่าไม่มีคู่มือในการขึ้นแม่แรงควรจะขึ้นในตำแหน่งที่สามารถขึ้นได้ดัง ต่อไปนี้
ในส่วนของหน้ารถขึ้นใต้ปีกนก จะเป็นปีกนกทางด้านล้อหน้าถ้ารถยนต์รุ่นนั้นใช้ปีกนกเป็นตัวรองรับน้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่รถที่ใช้ปีกนกจะเป็นรถเก๋ง ขึ้นใต้คานหลังส่วนหน้ารถ จะอยู่ลึกเข้ามาและเป็นคานเหล็กวางขวางอยู่ให้ใช้จุดนั้นเป็นจุดวางแม่แรง ขึ้นใต้ชุดแหนบ จะอยู่บริเวณล้อหน้าโดยให้วางแม่แรงตรงกลาง
แฟ่นแหนบพอดี รถที่ใช้แหนบรองน้ำหนักจะเป็นรถบรรทุกส่วนใหญ่ ขึ้นใต้คานหน้า เป็นการขึ้นตรงคานกลางระหว่างล้อหน้าทั้งซ้ายและขวา ขึ้นใต้คานขวางหน้า จะอยู่บริเวณตอนหน้าสุดของรถเป็นคานเหล็กขวางยาวจากล้อข้างหนึ่งไปยังล้ออีกข้างนึ่งในส่วนหลังของรถยนต์ ขึ้นใต้ชุดแหนบ จะขึ้นที่บริเวณแหนบรองรับน้ำหนักช่วงตรงกลาง ขึ้นใต้เฟืองท้าย ขึ้นตรงบริเวณตรงกลางของเฟืองท้าย ขึ้นใต้เสื้อเพลาข้าง จะอยู่เลยเฟืองท้ายออกมาใกล้กับแหนบรองรับน้ำหนัก
การถอดล้อเพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่ เมื่อถึงคราวจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนยางอะไหล่เอง การที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นทำได้ไม่ยากเพียงแค่มีความรู้ในการเปลี่ยนล้อ ที่ถูกต้อง ซึ่งเราก็มีเทคนิคง่าย ๆ มาฝากกัน
กรณีที่ต้องการเปลี่ยนล้อ ต้องใส่เบรกมือเอาไว้ก่อนเพื่อกันรถลื่นไหล หรืออาจจะเข้าเกียร์ไว้ก็ได้ ใช้ประแจขันล้อรถหรือกากบาทขันนอตให้หมด โดยในการขันนอตนั้นเมื่อถอดนอตตัวที่ 1 ออกแล้วตัวต่อไปต้องถอดนอตที่อยู่ตรงกันข้ามเสมอทำเช่นนี้จนครบทุกตัว
หาตำแหน่งขึ้นแม่แรงที่ดูเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด การขึ้นแม่แรงควรขึ้นอย่างช้า ๆ ให้แม่แรงยกล้อลอยพ้นพื้นประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อความสะดวกในการถอดและใส่ล้อใหม่เข้าไป ใส่ล้ออะไหล่ใหม่เข้าไปให้เรียบร้อยแล้วขันนอตคืนด้วยวิธีเดียวกับการถอด
ปลดแม่แรงลงให้เรียบร้อยด้วยความนิ่มนวล ปลดเบรกมือลงหรือปลดเกียร์แล้วใช้งานต่อไป
การตรวจสภาพยาง ควรจะมีการตรวจเช็คอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่เพราะยางเป็นส่วนที่มี ความสำคัญมาก ทุกครั้งที่เช็คลมยางสิ่งที่ควรตรวจสอบควบคู่กันไปด้วยคือ
การปูดบวมของดอกยางหรือแก้มยางถ้ามีการปูดบวมควรเปลี่ยนยางใหม่ รอยฉีก แยก แตกที่แก้มยาง ถ้าแก้มยางฉีกจนสามารถมองเห็นผ้าใบให้เปลี่ยนยางใหม่ ถ้าพบการสึกหรอผิดปกติ ให้เช็คศูนย์ล้อและเปลี่ยนใหม่
ยาง รถของท่านจะมีเครื่องหมายแสดงความสึกหรอติดกับดอกยาง เมื่อดอกยางสึกมากจนความลึกของดอกยางเหลือน้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร ท่านจะมองเห็นเครื่องหมายแสดงความสึกหรอปรากฏเป็นแถบกว้างประมาณ 12.7 มิลลิเมตร อยู่บนหน้ายางแสดงว่ายางสึกมาก การเกาะถนน หรือถนนที่เปียกยางจะมีประสิทธิภาพในการเกาะถนนน้อย ท่านควรจะเปลี่ยนยางใหม่
การบำรุงรักษายาง นอกจากการสูบลมยางอย่างถูกต้องแล้ว ศูนย์ล้อที่ถูกต้องก็จะช่วยลดการสึกหรอของยางได้เช่นกันท่านควรนำรถเข้าเช็ค ศูนย์ล้อทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร ยางรถของท่านได้รับการถ่วงมาจากโรงงานอย่างไรก็ตามท่านอาจจะต้องถ่วงยางใหม่ เป็นครั้งคราวตามการใช้งาน ถ้ามีการถอดยางออกจากกระทะล้อเพื่อซ่อมจะต้องถ่วงยางใหม่เสมอ เมื่อท่านเปลี่ยนยางใหม่ก็จะต้องถ่วงยางด้วยเพื่อการขับขี่ที่นิ่มนวลและ อายุการใช้งานที่ยาวนาน
การสับเปลี่ยนยาง ในการใช้รถไปนาน ๆ ยางจะเกิดการสึกหรอ ในการสึกหรอของยางแต่ละข้างนั้นจะไม่เท่ากันจึงต้องมีการสับเปลี่ยนยางเกิด ขึ้นเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม และควรมีการสับเปลี่ยนยางในทุก ๆ 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร
การสับเปลี่ยนยางมี 3 แบบคือ การใช้ยางอะไหล่ร่วมด้วย, การไม่ใช้ยางอะไหล่ และการเปลี่ยนยางครั้งละ 2 เส้น แทนการสลับยางบ่อย ๆ

No comments:

Post a Comment

จองที่พักทั่วไทย

Search Hotels in Thailand
Destination:
Check in:
Check out: