Friday, November 27, 2009

Dinner Party: How To Plan The Perfect Dinner Party

There are many different aspects to think about and consider when deciding to hold a dinner party, it's better to go through the various stages with a notebook and pencil at hand to jot things down. Who is the party for; is it family, friends, an informal gathering of a group from work, or personal friends, or a dinner party concerning work. These last questions make a difference when organizing the party.

On deciding who the dinner party is for, let people know probably one week or two in advance. This will give time for any alternate arrangements if anybody has to cancel, and also arrange the time, say maybe 7.30pm for drinks before dinner at 8pm. Have a choice of alcohol, non-alcoholic, and fruit drinks to choose from to suit all tastes, and a few nibbles dotted around the room. This allows for people to mingle, especially if a couple don't really know the other guests. Once all this has been achieved then the planning of the menu can be addressed, it is well worth checking out if any of the party has any food allergies, or if anybody is vegetarian, this will save embarrassment during the evening.

Consider the planning of the table. Is there going to be a lovely crisp white table cloth, creating color with napkins, or place mats? This is obviously the host's personal choice, depending on whether this is a formal or informal party. Other choices for the table may be some small candles, or small bowls of flowers, or a centerpiece.

When holding a dinner party, the choice of food needs to be addressed carefully. Don't try to cook a recipe you have never used before. This only ends in disaster, plus a huge embarrassment which nobody, the host or the guests want. If a new recipe is chosen, try it out a few weeks before the party a couple of times, till you are confident it will be all right on that night.

A great tip; sit down and plan the menu from start to finish jotting down all the fresh ingredients you will need, checking the cupboard to check that all the herbs you may use are in date, even down to the wine you will be serving with the food, and anything non-alcoholic for those who don't drink.

On the day of the dinner party, make sure to be up early for anything that you have to go and get that you forgot on the list, or fresh fish, meat, whatever the menu is. Check off items off your list as you get them.

It's a good idea to have everything involving the menu written down separate on a list, making it easier to keep track of things. If a starter can be made and kept in the freezer till about half an hour before the meal, then that is one course less to worry about, and the same goes for the dessert.

Everything that can be prepared in advance leaves it a lot less stressful for the host. Once all this has been taken care of, the table checked, the host showered and dressed, you can sit back calmly and wait for the guests to arrive.

One last tip; leave a new list in the kitchen pinned up and easy to read, when collecting the starters, to have a quick glance at the list to see what may need pulling out of the freezer, or putting into the oven, and the party should flow nicely.

Good luck!

Friday, November 6, 2009

หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก(ตอนจบ)


รายชื่อประเทศที่ทำความตกลงโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการตรวจลงตรา (visa) หรือการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (visa on arrival)
ในการเข้าประเทศเหล่านี้สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย
ทวีปเอเชีย
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 30 วัน
* สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 30 วัน
* เขตปกครองพิเศษฮ่องกง 30 วัน
* มาเก๊า 30 วัน
* เกาหลีใต้ 90 วัน
* สิงคโปร์ 30 วัน
* สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา 30 วัน
* ประเทศมาเลเซีย 30 วัน
* ประเทศบรูไนดารุสซาลาม 14 วัน
* ประเทศอินโดนีเซีย 30 วัน
* ประเทศบาห์เรน 14 วัน (Visa On Arrival)
* ประเทศฟิลิปปินส์ 21 วัน
* ประเทศจอร์แดน 30 วัน (Visa On Arrival)
* ประเทศอิหร่าน 14 วัน (Visa On Arrival)

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* ประเทศกัมพูชา 30 วัน
* ประเทศมองโกเลีย 30 วัน
* ประเทศโอมาน 30 วัน
* สหภาพเมียนมาร์ 30 วัน
* สาธารณรัฐประชาชนจีน 30 วัน
* ประเทศญี่ปุ่น 90 วัน
* ประเทศฟิลิปปินส์ 90 วัน
* ประเทศมาเลเซีย 90 วัน
* ประเทศอินโดนีเซีย 90 วัน
* ประเทศภูฏาน 90 วัน
* ประเทศสิงคโปร์ 90 วัน
* ประเทศตุรกี 90 วัน
* สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล 90 วัน
* ประเทศอิสราเอล 90 วัน

ทวีปยุโรป
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* สหพันธรัฐรัสเซีย 30 วัน
* ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับหนังสือเดินทางที่มี Schengen Visa เท่านั้น

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* ประเทศออสเตรีย 90 วัน
* ประเทศเบลเยียม 90 วัน
* ประเทศโครเอเชีย 90 วัน
* สาธารณรัฐเช็ก 90 วัน
* สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 90 วัน
* ประเทศฮังการี 90 วัน
* ประเทศอิตาลี 90 วัน
* ราชรัฐลักเซมเบิร์ก 90 วัน
* ประเทศเนเธอร์แลนด์ 90 วัน
* ประเทศโปแลนด์ 90 วัน
* ประเทศโรมาเนีย 90 วัน
* สหพันธรัฐรัสเซีย 90 วัน
* ประเทศสวีเดน 90 วัน
* ประเทศสโลวาเกีย 90 วัน

ทวีปอเมริกา
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* ประเทศอาร์เจนตินา 90 วัน
* ประเทศบราซิล 90 วัน
* ประเทศชิลี 90 วัน
* ประเทศเปรู 90 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* สาธารณรัฐคอสตาริกา 90 วัน
* ประเทศเม็กซิโก 90 วัน

ทวีปแอฟริกา
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* ประเทศแอฟริกาใต้ 30 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* ประเทศแอฟริกาใต้ 90 วัน
* ประเทศตูนิเซีย 90 วัน
หมายเหตุ หนังสือเดินทางทุกประเภทในที่นี้หมายถึงหนังสือเดินทางประเทศไทยประเภททูต ราชการ และธรรมดา
ข้อมูลหนังสือเดินทางประเทศไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ

หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก(ตอนที่ 2)


หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-พาสปอร์ต (e-passport) หรืออาจะเรียกว่าหนังสือเดินทางที่บันทึกข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) เป็นหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
ทางกองหนังสือเดินทางเริ่มให้บริการได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 แต่เปิดให้บริการเฉพาะผู้ทำหนังสือเดินทางประเภททูตและราชการเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการสำปรับประชาชนทั่วไปเพียงวันละ 100 เล่มเฉพาะที่กรมกงสุล และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548
เปิดให้บริการหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้เต็มรูปแบบทุกแห่งและทุกประเภท หนังสือเดินทางในปัจจุบันหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่น ๆ
ความแตกต่างระหว่างหนังสือเดินทางรุ่นเดิมและหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่นี้มี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง (ทั่วไปจะเป็นนิ้วชี้ข้างซ้ายและขวา) โครงสร้างใบหน้าลงไว้ในไมโครชิพแบบ RFID ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทาง
2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลที่มีการบันทึกข้อมูลทาง ชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางได้ด้วยเครื่องอ่าน(Machine Readable Passport) โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหนังสือเดิน ทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง
นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างอื่นๆ คือ
1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่สามารถต่ออายุได้เหมือนหนังสือเดินทางรุ่นเดิมโดยจะเป็นการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือ เปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ เช่นการขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันข้อมูลขัดแย้งกันระหว่างข้อมูลในหนังสือเดินทางกับข้อมูลที่ บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพซึ่งอาจะทำให้หนังสือเดินทางขาดความน่าเชื่อถือ
3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทจะมีให้เลือกเพียงแบบเดียวคือแบบ จำนวน 50 หน้าโดยไม่สามารถเพิ่มเติมหน้าได้ ต่างจากแบบเดิมที่มี 32 หน้าและสามารถเพิ่มหน้าได้ตอนหลัง
ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
กองหนังสือเดินทางกล่าวไว้ว่าหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีประโยชน์มาก ขึ้นในหลายด้านเช่นด้านของการป้องกันการปลอมแปลง เนื่องจากต้องปลอมแปลง ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางให้ตรงกันสองอย่างซึ่งมีความเป็นไปได้ยาก ทำให้สามารถสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ และปัญหาการลักลอบเข้าเมือง อีกทั้งยังทำให้เวลาในการตรวจสอบข้อมูล ผู้ถือหนังสือเดินทางรวดเร็วและแม่น ยำมากยิ่งขึ้น สุดท้ายยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยทำให้หนังสือเดินทางประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น
ชนิดของหนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภทคือ
หนังสือเดินทางธรรมดา(ปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
หนังสือเดินทางราชการ(ปกสีน้ำเงินเข้ม) หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น
ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทวงการต่างประเทศ
10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
รูปแบบลักษณะหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง ขนาดกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตรมีจำนวนหน้าทั้งหมด 50 หน้าภายในหนังสือเดินทางประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ข้อมูลจำเพาะผู้ถือหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยจะมีข้อมูล 2 ภาษา เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้
* รหัส (Type) 'P' อักษรย่อสำหรับคำว่า "Passport"
* ประเทศ (Country code) "THA" สำหรับประเทศไทย
* หนังสือเดินทางเลขที่ (Passport No.) มีรูปแบบเป็น A123456 (ตัวอักษรหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขหกหลัก)
* นามสกุล (Surname) เป็นภาษาอังกฤษ
* คำนำหน้าชื่อ ชื่อ (Title Name) เป็นภาษาอังกฤษ
* ชื่อภาษาไทย (Name in Thai) ประกอบด้วยคำนำหน้า ชื่อ และนามสกุลเป็นภาษาไทย
* สัญชาติ (Nationality) "THAI" สำหรับประชาชนไทย
* วันเกิด (Date of birth) ในรูปแบบ DD-MMM-YYYY (วัน เดือน ปีค.ศ.) เช่น 20 NOV 2006
* เลขประจำตัวประชาชน (Personal No.)
* เพศ (Sex) "M" สำหรับบุรุษ หรือ "F" สำหรับสตรี
* ส่วนสูง (Height) หน่วยเป็นเมตร
* สถานที่เกิด (Place of birth) โดยทั่วไปจะเป็นจังหวัดที่เกิด
* วันที่ออก (Date of issue) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด
* วันที่หมดอายุ (Date of expiry) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด โดยจะหมดอายุในอีก 5 ปีให้หลัง
* ออกให้โดย (Authority) โดยทั่วไปจะเป็น "MINISTRY OF FOREIGN AFFAIR"
* ลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง (Signature of bearer)

หมายเหตุหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางส่วนใหญ่จะมีหมายเหตุจากประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดิน ทางให้โดยเป็นการชี้แจงว่าผู้มือหนังสือเดินทางเป็นพลเมืองของประเทศนั้นและ ขอความกรุณาให้พลเมืองของประเทศตนสามารถผ่านเข้าไปในประเทศได้และได้รับการ ปฏิบัติต่อผู้ถือหนังสือเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของนานาชาติ หมายเหตุสำหรับหนังสือเดินทางประเทศไทยมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยมีข้อความว่า

"The Minister of Foreign Affairs of Thailand hereby requests all whom it may concern to permit the citizen/national of the Kingdom of Thailand named herein to pass freely without delay or hindrance and to give all lawful aid and protection.
This passport is valid for all countries and area."
หมายความว่า
"กระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทยจักร้องขอ ณ โอกาสนี้ยังผู้เกี่ยวข้อง ได้ยินยอมให้ประชาชน/ราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ปรากฏนาม ณ ที่นี้ ได้ผ่านไปโดยเสรี มิให้ล่าช้าฤๅกีดกั้น ทั้งโปรดอนุเคราะห์และปกป้องโดยนิติธรรมหนังสือเดินทางนี้มีผลแก่ทุกประเทศแลดินแดน"
ค่าธรรมเนียม
หนังสือเดินทางธรรมดา หนังสือเดินทางพระ หนังสือเดินทางราชการ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 1,000 บาท ส่วนหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 400 บาท

หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก(ตอนที่ 1)



โดยส่วนตัวผมเองไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนมาไหนไกลๆ โดยเฉพาะต่างประเทศเพราะไม่ได้เป็นรัฐมนตรี หรือนักธุรกิจ ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวแบบฟลุ๊คๆที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ ไปในฐานะสื่อมวลชน ค่อนข้างสะดวกเพราะบริษัทนำเที่ยวเขาจัดการให้เสร็จสรรพ ทริปนี้ใช้เวลาประมาณ 5 วันดังนั้นใช้แค่หนังสือผ่านแดนหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Border pass แทนหนังสือเดินทางหรือ passport ก่อนที่จะเข้าเหยียบแผ่นดินมาเลเซียก็ต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองค่อนข่างเข้มงวดที่เดียวเป็นเรื่องปกติเพราะเข้าไปในช่วงสถานการณ์บ้านเราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังระอุ ก็ต้องมีการตรวจสอบกันละเอียดหน่อย ผ่านขั้นตอนที่น่าอึดอัด (เพราะไม่สันทัดภาษาอังกฤษ) ไปได้ก็ค่อนข้างโล่งใจ มีเวลาว่างก็ชวนไกด์คนไทยคุยฆ่าเวลาระหว่างการเดินทาง ตอนหนึ่งเราได้คุยกันถึงเรื่องหนังสือเดินทาง จึงทำให้ผม
ถึงบางอ้อว่าจริงๆแล้วมันสำคัญมาก ผมถึงได้จั่วหัวว่า "บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก" ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเวลาจะต้องเดินทางไปไหนมาไหน บนโลกใบนี้ ต้องมีเอกสารแสดงตนว่าเป็นใครมาจากไหน เอกสารที่ว่านี้คือหนังสือเดินทางนั่นเอง เหมือนกับบัตรประชาชน เพียงแต่ว่าหนังสือเดินทางหรือ passport เป็นเอกสารสากลที่สามารถใช้แสดงตนได้ทั่วโลก เพราะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของหนังสือเดินทางที่ละเอียดและสามารถตรวจสอบได้จากทุกมุมโลก ดังนั้นจึงเป็นเอกสารสำคัญยิ่ง อย่าให้ตกอยู่ในมือบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด ในบ้านเรา สามารถใช้หนังสือเดินทางแสดงตนแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้เช่นกัน
เมื่อสำคัญเช่นนี้ทำไมเราไม่คิดทำละ เมื่อคิดได้เช่นนี้กลับถึงบ้านก็รีบหาเอกสารหลักฐานที่จำเป็นพร้อมเงินค่าธรรมเนียมไปดำเนินการจนได้มาเป็นสมบัติส่วนตัวเรียบร้อยแล้วครับ ว่าแต่ว่าหนังสือเดินทางที่มีใช้อยู่เป็นแบบบุคคลธรรมดาเล่มสีน้ำตาล ถ้างั้นแสดงว่าหนังสือเดินทางต้องมีหลายแบบหลายสีหลายระดับ คิดได้อย่างนั้ก็ลองหาข้อมูลดูก็พบว่าหนังสือเดืนทางเล่มเล็กๆที่เห็นกลับมีความเป็นมาและรายละเอียดมากมายทีเดียวเลยต้องนำมามาฝากเพื่อนๆ ใน go with me เผื่อว่าใครยังไม่มีก็จะได้ไปทำบ้างครับ

ความเป็นมาหนังสือเดินทางไทย [passport]
หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทยโดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ อาจจะออกในประเทศไทย หรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่งทั่วโลก
ประวัติและวิวัฒนาการของหนังสือเดินทางประเทศไทย เริ่มมีหลักฐานและข้อมูลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มมีการออกเอกสารที่มีรูปแบบเพื่อใช้ในการเดินทางสำหรับคนไทยโดยออก เป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ มีการกำหนดตราประทับคือตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีพซึ่งเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนเอกสาร มีกำหนดอายุ 1 ปี ในระยะเริ่มแรกเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้จะใช้ในข้ามเขต เมือง มณฑลภายในประเทศ ซึ่งยังไม่มีเอกสารที่ใช้สำหรับเดินทางไปต่างประเทศ ในเวลาต่อมาซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยทางราชการสยาม (ราชการไทยในปัจจุบัน) ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขต(ประเทศ) โดยกำหนดให้คนสยาม (พลเมืองไทย) ที่จะเดินทางไปเมืองต่างประเทศต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุก คนจากเจ้าเมือง หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะ เป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความ ขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี ในสมัยนั้นหนังสือเดินทางเรียกกันว่าเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง เพื่อใช้เป็นหนังสือแสดงตัวสำหรับเดินทางไปในหัวเมือง
ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย หรือเป็นการออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยมีการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในเอกสารเดินทาง ผู้มีอำนาจในการออกหนังสืออาจจะเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย หรือแม้แต่กำนัน ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดแน่นอน แต่ต้องได้รับคำสั่งจากเจ้าเมืองก่อน แต่ในสมัยนั้นชาวเมืองยังไม่ได้เห็นความสำคัญกับหนังสือเดินทางมากนัก เพราะยังไม่มีการตรวจลงตรา (visa) หรือละเลยที่จะตรวจลงตราทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาหนังสือเดินทางจึงเริ่มมีการพัฒนา โดยเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2460 รัฐบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการออก "ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ให้มีหนังสือเดินทาง" เมื่อวันที่ 17 กันยายน เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อลด ปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน
พ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกร้องให้ใช้รูปแบบหนังสือเดินทางให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการประชุมขององค์การสันนิบาตชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าว
พ.ศ. 2470 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม อันเนื่องมาจากข้อตกลงในมติในที่ประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับ หนังสือเดินทางในปีพ.ศ. 2463 ทำให้เริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบของหนังสือเดินทางใหม่ให้เป็นรูปเล่ม
พ.ศ. 2482 มีการผลิตหนังสือเดินทางเป็นรูปเล่มปกแข็งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน ภายในเล่มข้อมูลใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กัน มีการติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ หนังสือเดินทางมีจำหนวน 32 หน้าโดยในสมัยนั้นมีแผนกหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแล แต่ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางหรือต่ออายุนอกพระราชอาณาเขตสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) ได้ หนังสือเดินทางมีอายุเพียง 2 ปี แม้กระนั้นเมื่อหมดอายุสามารถต่ออายุได้ 1-2 ปีแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดิน ทางเท่านั้นแต่สามารถสลักเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ค่าธรรมเนียมฉบับละ 12 บาทสำหรับออกเล่มใหม่ ส่วนการต่ออายุปีละ 6 บาท หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยงแปลงเล็กน้อยในส่วนของสี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน
พ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากที่เคยใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเป็นข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
พ.ศ. 2536 มีการพัฒนาในการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบ ดิจิตอลแทนการติดรูปลงในหนังสือเดินทางโดยใช้ระบบ Digital Passport System (DPS) ทำให้อ่านได้ด้วยเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง (Machine Readable Passport)
พ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางให้ข้อมูลอยู่ในหน้าเดียว
พ.ศ. 2543 ระบบการทำหนังสือเดินทางเริ่มเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเรียกใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎรผ่านทางคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนยื่น ขอหนังสือเดินทาง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาระบบการผลิตหนังสือเดินทางโดยนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง ทั้งสองระบบนี้สามารถช่วยย่นเวลาการผลิตหนังสือเดินทางได้เป็นอย่างมากทำให้ สามารถผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ
พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงรูปแบบและเล่มหนังสือเดินทางให้ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงแบบเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร ทำให้มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลงที่เพิ่มขึ้น คุณลักษณะนี้อาจจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และคุณลักษณะบางอย่างที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีการแฝงไว้อย่างแนบ เนียน นอกจากนี้ในขั้นตอนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางจะผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสาร เคมีที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง และมีความปลอดภัยสูง
พ.ศ. 2548 เริ่มมีการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง มีการฝังไมโครชิปที่เป็นมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มีการเพิ่มจำนวนหน้าเป็น 50 หน้า
ตอนหน้าจะมาเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดรูปแบบของหนังสือเดินทาง รวมทั้งขั้นตอนวิธีการทำและเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือเดินทางด้วยครับโปรดติดตามตอนต่อไป

จองที่พักทั่วไทย

Search Hotels in Thailand
Destination:
Check in:
Check out: