Tuesday, December 29, 2009

Is A 5 Mega Pixel Camera Worth The Money?


I have had very little experience with digital cameras, and very little of it was positive. Up until I got my 5 megapixel camera, I thought that a film camera was the only way to go. This is because I gave up too early. All I had ever used was a camera phone. It had horrible resolution. I think it was something like 2.1 megapixels. It looked so blocky that it was almost impossible to tell what you were looking at.

Now that I have a Canon Powershot 5.0 megapixel digital camera, I know better. The image is brilliant. There is no other way to describe it. The digital camera has not replaced the film camera yet, but it has come close. Although a film camera still has a better picture, it is not that much better. Most 5 megapixel cameras definitely give old film cameras a run for their money. If the image is not quite as good, it certainly is close. Besides that, the advantages of using a 5 megapixel camera over a film camera are obvious. You do not have to pay for film or wait for the picture to be developed, and you can instantly see what it looks like. For all but the most professional photographers, a digital camera is surely the way to go!

Of course, there is a downside to a 5 megapixel camera. First of all, they are fragile. Cameras in general can be easily damaged, but much more can go wrong with a digital camera. There are a million different ways that the sensitive electronics can get ruined by being slightly jarred or banged around. Besides that, people steal digital cameras all the time. When I first got my 5 megapixel camera, no less than three people tried to grab it from me. Fortunately, each time I had it secured to the strap and was able to ward them off. Even so, I still react with caution whenever anyone walks too close to me if I am wearing my camera around my neck. I don not want to lose it, after all. It costs a small fortune.

Despite all of these downsides, I think it is still worth it. My 5 megapixel camera has really changed the way I see the world. It is an incredible experience to be able to capture any image that I see. Before, I had to carefully select every image. I never knew how it would come out until I had developed the film. Now I can see it immediately!

What To Look For In A Digital Camera



Digital cameras are expensive and if you are going to buy one you need to make sure that you make the right purchase. You work hard for your money and you need to know that you are getting your moneys worth. So make sure that you take the following into consideration before you make that final commitment.

Battery life
The life of the battery is going to affect just how many pictures you can take. This matters if you are going to the lake for the day or you are taking pictures of your son or daughters birthday party. There is nothing worse than having your camera run out of batteries in the middle of the day. You need to be able to trust your camera to do the job the right way. So find out what the battery life is before you make the final purchase and compare the different cameras and batteries to find the one that is most suitable for your needs.

Megapixel count
Depending on the use of your camera you may need a digital camera with more or less megapixels. These are what will allow your pictures to be sized. The more megapixels that the camera has the larger the pictures will be able to be without losing any detail. If you are a professional photographer and you often take pictures for posters and other large scale print materials then you need to have a camera that can handle taking pictures that clearly.

User controls
These are another important aspect of your digital camera. And again they will differ according to the camera. The options that you need will depend on why you are looking for a new digital camera. If you are getting the camera for professional reasons then certain options are going to be more important than others. Find out exactly what your camera can do and how easy it is to use before you buy it. There are plenty of user friendly cameras on the market for those who just want to be able to point and shoot. Just know your needs and you will have no trouble finding the digital camera that is right for you.

Monday, December 28, 2009

Old Favorites, New Looks


Ever wonder what happens to the toys we left behind? Those with children of their own are able to revisit the latest versions of old favorites, but for those who haven’t had an excuse to check out Etch-E-Sketch 2.0, here’s a breakdown.

Realistic Barbie
Doctor, lawyer and killer flight attendant, Barbie has done it all in three inch heels and tiny skirts. But now, after almost fifty years of controversy, Barbie has developed a new, thicker look. The original Barbie was designed on a scale of 1/6. This means the real life Barbie would have been 5’9.” The proportions of Barbie, however, were entirely unrealistic. She would have had a 36 inch bust and 18 inch waist. Her original weight of 110 pounds would make her at least 35 pounds underweight for her height.

But after years of concern and scorn about Barbie promoting unhealthy body images and unrealistic standards for the young women who played with the many versions of the doll, Barbie is a new woman. In 2000, Barbie gained a belly button and a wider waistline. Her waist also moved up into a more natural position, ostensibly to make more modern fashions fit more appropriately, but some wonder if the changes are a long overdue response to criticism. Waistlines aside, Barbie games are still intensely popular with girls of all ages, and Barbie games have also gone online where they are reaching even more enthusiastic fans.

LITE-BRITE Flat Screen
Like the flat screen in your living room? Modern flat screen technology has a broad reach and now you can enjoy flat screen technology while you play with your LITE-BRITE. Decades ago, LITE-BRITE took tiny colored pegs and backlit the designs you created through black paper with a standard light bulb. The set-up was large, bulky, but good for hours of fun.

Today, you can use a boxy set-up or the new flat screen. If you opt for the box, you now have four sides to choose from. Gone is the console style backing in place of a newly designed lit cube ready for your latest and greatest designs – four at once, that is. Or keep things compact, but opting for the flat LITE-BRITE instead. While it might not be HD, it’s definitely a step up from what we had a short generation ago.
Matchbox Cars
You might have played with Hot Wheels or Matchbox, but the style of cars was the same. Tiny metal cars to collect, bury in the sandbox and leave painfully underfoot have been enjoyed be generations of vehicle enthusiasts. Today, the basics are the same, but the styles and accessories have been very updated. Naturally, the cars produced today are indicative of the available auto lines produced the world over.

But in addition to that, children paying with Matchbox cars have much more to do with their cars than we did a generation ago. If we were lucky, we were able to secure a track and possibly a ramp for our cars. All sound effects and aerial acrobatics were performed by the driver – you. Today, you can buy the basic die cast cars or you can branch out and buy the ones that make noise, play inspiring music, or run on their own. Accessories for the cars include elaborate cities, race tracks, and parks where cars can be levered or moved without your assistance. While most of the Matchbox cars remain true to the classic nature of the toy, if you want a digital micro-car experience, it is readily available.

Friday, November 27, 2009

Dinner Party: How To Plan The Perfect Dinner Party

There are many different aspects to think about and consider when deciding to hold a dinner party, it's better to go through the various stages with a notebook and pencil at hand to jot things down. Who is the party for; is it family, friends, an informal gathering of a group from work, or personal friends, or a dinner party concerning work. These last questions make a difference when organizing the party.

On deciding who the dinner party is for, let people know probably one week or two in advance. This will give time for any alternate arrangements if anybody has to cancel, and also arrange the time, say maybe 7.30pm for drinks before dinner at 8pm. Have a choice of alcohol, non-alcoholic, and fruit drinks to choose from to suit all tastes, and a few nibbles dotted around the room. This allows for people to mingle, especially if a couple don't really know the other guests. Once all this has been achieved then the planning of the menu can be addressed, it is well worth checking out if any of the party has any food allergies, or if anybody is vegetarian, this will save embarrassment during the evening.

Consider the planning of the table. Is there going to be a lovely crisp white table cloth, creating color with napkins, or place mats? This is obviously the host's personal choice, depending on whether this is a formal or informal party. Other choices for the table may be some small candles, or small bowls of flowers, or a centerpiece.

When holding a dinner party, the choice of food needs to be addressed carefully. Don't try to cook a recipe you have never used before. This only ends in disaster, plus a huge embarrassment which nobody, the host or the guests want. If a new recipe is chosen, try it out a few weeks before the party a couple of times, till you are confident it will be all right on that night.

A great tip; sit down and plan the menu from start to finish jotting down all the fresh ingredients you will need, checking the cupboard to check that all the herbs you may use are in date, even down to the wine you will be serving with the food, and anything non-alcoholic for those who don't drink.

On the day of the dinner party, make sure to be up early for anything that you have to go and get that you forgot on the list, or fresh fish, meat, whatever the menu is. Check off items off your list as you get them.

It's a good idea to have everything involving the menu written down separate on a list, making it easier to keep track of things. If a starter can be made and kept in the freezer till about half an hour before the meal, then that is one course less to worry about, and the same goes for the dessert.

Everything that can be prepared in advance leaves it a lot less stressful for the host. Once all this has been taken care of, the table checked, the host showered and dressed, you can sit back calmly and wait for the guests to arrive.

One last tip; leave a new list in the kitchen pinned up and easy to read, when collecting the starters, to have a quick glance at the list to see what may need pulling out of the freezer, or putting into the oven, and the party should flow nicely.

Good luck!

Friday, November 6, 2009

หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก(ตอนจบ)


รายชื่อประเทศที่ทำความตกลงโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการตรวจลงตรา (visa) หรือการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (visa on arrival)
ในการเข้าประเทศเหล่านี้สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย
ทวีปเอเชีย
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 30 วัน
* สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 30 วัน
* เขตปกครองพิเศษฮ่องกง 30 วัน
* มาเก๊า 30 วัน
* เกาหลีใต้ 90 วัน
* สิงคโปร์ 30 วัน
* สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา 30 วัน
* ประเทศมาเลเซีย 30 วัน
* ประเทศบรูไนดารุสซาลาม 14 วัน
* ประเทศอินโดนีเซีย 30 วัน
* ประเทศบาห์เรน 14 วัน (Visa On Arrival)
* ประเทศฟิลิปปินส์ 21 วัน
* ประเทศจอร์แดน 30 วัน (Visa On Arrival)
* ประเทศอิหร่าน 14 วัน (Visa On Arrival)

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* ประเทศกัมพูชา 30 วัน
* ประเทศมองโกเลีย 30 วัน
* ประเทศโอมาน 30 วัน
* สหภาพเมียนมาร์ 30 วัน
* สาธารณรัฐประชาชนจีน 30 วัน
* ประเทศญี่ปุ่น 90 วัน
* ประเทศฟิลิปปินส์ 90 วัน
* ประเทศมาเลเซีย 90 วัน
* ประเทศอินโดนีเซีย 90 วัน
* ประเทศภูฏาน 90 วัน
* ประเทศสิงคโปร์ 90 วัน
* ประเทศตุรกี 90 วัน
* สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล 90 วัน
* ประเทศอิสราเอล 90 วัน

ทวีปยุโรป
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* สหพันธรัฐรัสเซีย 30 วัน
* ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับหนังสือเดินทางที่มี Schengen Visa เท่านั้น

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* ประเทศออสเตรีย 90 วัน
* ประเทศเบลเยียม 90 วัน
* ประเทศโครเอเชีย 90 วัน
* สาธารณรัฐเช็ก 90 วัน
* สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 90 วัน
* ประเทศฮังการี 90 วัน
* ประเทศอิตาลี 90 วัน
* ราชรัฐลักเซมเบิร์ก 90 วัน
* ประเทศเนเธอร์แลนด์ 90 วัน
* ประเทศโปแลนด์ 90 วัน
* ประเทศโรมาเนีย 90 วัน
* สหพันธรัฐรัสเซีย 90 วัน
* ประเทศสวีเดน 90 วัน
* ประเทศสโลวาเกีย 90 วัน

ทวีปอเมริกา
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* ประเทศอาร์เจนตินา 90 วัน
* ประเทศบราซิล 90 วัน
* ประเทศชิลี 90 วัน
* ประเทศเปรู 90 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* สาธารณรัฐคอสตาริกา 90 วัน
* ประเทศเม็กซิโก 90 วัน

ทวีปแอฟริกา
สำหรับหนังสือเดินทางทุกประเภท
* ประเทศแอฟริกาใต้ 30 วัน

สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ
* ประเทศแอฟริกาใต้ 90 วัน
* ประเทศตูนิเซีย 90 วัน
หมายเหตุ หนังสือเดินทางทุกประเภทในที่นี้หมายถึงหนังสือเดินทางประเทศไทยประเภททูต ราชการ และธรรมดา
ข้อมูลหนังสือเดินทางประเทศไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ

หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก(ตอนที่ 2)


หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-พาสปอร์ต (e-passport) หรืออาจะเรียกว่าหนังสือเดินทางที่บันทึกข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) เป็นหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
ทางกองหนังสือเดินทางเริ่มให้บริการได้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 แต่เปิดให้บริการเฉพาะผู้ทำหนังสือเดินทางประเภททูตและราชการเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการสำปรับประชาชนทั่วไปเพียงวันละ 100 เล่มเฉพาะที่กรมกงสุล และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548
เปิดให้บริการหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้เต็มรูปแบบทุกแห่งและทุกประเภท หนังสือเดินทางในปัจจุบันหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอื่น ๆ
ความแตกต่างระหว่างหนังสือเดินทางรุ่นเดิมและหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่นี้มี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ลายพิมพ์นิ้วมือทั้งสองข้าง (ทั่วไปจะเป็นนิ้วชี้ข้างซ้ายและขวา) โครงสร้างใบหน้าลงไว้ในไมโครชิพแบบ RFID ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทาง
2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลที่มีการบันทึกข้อมูลทาง ชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางได้ด้วยเครื่องอ่าน(Machine Readable Passport) โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหนังสือเดิน ทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง
นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างอื่นๆ คือ
1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่สามารถต่ออายุได้เหมือนหนังสือเดินทางรุ่นเดิมโดยจะเป็นการออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือ เปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ เช่นการขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทาง เพื่อป้องกันข้อมูลขัดแย้งกันระหว่างข้อมูลในหนังสือเดินทางกับข้อมูลที่ บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพซึ่งอาจะทำให้หนังสือเดินทางขาดความน่าเชื่อถือ
3. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทจะมีให้เลือกเพียงแบบเดียวคือแบบ จำนวน 50 หน้าโดยไม่สามารถเพิ่มเติมหน้าได้ ต่างจากแบบเดิมที่มี 32 หน้าและสามารถเพิ่มหน้าได้ตอนหลัง
ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
กองหนังสือเดินทางกล่าวไว้ว่าหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่นี้มีประโยชน์มาก ขึ้นในหลายด้านเช่นด้านของการป้องกันการปลอมแปลง เนื่องจากต้องปลอมแปลง ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางให้ตรงกันสองอย่างซึ่งมีความเป็นไปได้ยาก ทำให้สามารถสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ และปัญหาการลักลอบเข้าเมือง อีกทั้งยังทำให้เวลาในการตรวจสอบข้อมูล ผู้ถือหนังสือเดินทางรวดเร็วและแม่น ยำมากยิ่งขึ้น สุดท้ายยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยทำให้หนังสือเดินทางประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น
ชนิดของหนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภทคือ
หนังสือเดินทางธรรมดา(ปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
หนังสือเดินทางราชการ(ปกสีน้ำเงินเข้ม) หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น
ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทวงการต่างประเทศ
10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
รูปแบบลักษณะหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง ขนาดกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 12.5 เซนติเมตรมีจำนวนหน้าทั้งหมด 50 หน้าภายในหนังสือเดินทางประกอบด้วยรายการข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ข้อมูลจำเพาะผู้ถือหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางประเทศไทยจะมีข้อมูล 2 ภาษา เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้
* รหัส (Type) 'P' อักษรย่อสำหรับคำว่า "Passport"
* ประเทศ (Country code) "THA" สำหรับประเทศไทย
* หนังสือเดินทางเลขที่ (Passport No.) มีรูปแบบเป็น A123456 (ตัวอักษรหนึ่งตัวตามด้วยตัวเลขหกหลัก)
* นามสกุล (Surname) เป็นภาษาอังกฤษ
* คำนำหน้าชื่อ ชื่อ (Title Name) เป็นภาษาอังกฤษ
* ชื่อภาษาไทย (Name in Thai) ประกอบด้วยคำนำหน้า ชื่อ และนามสกุลเป็นภาษาไทย
* สัญชาติ (Nationality) "THAI" สำหรับประชาชนไทย
* วันเกิด (Date of birth) ในรูปแบบ DD-MMM-YYYY (วัน เดือน ปีค.ศ.) เช่น 20 NOV 2006
* เลขประจำตัวประชาชน (Personal No.)
* เพศ (Sex) "M" สำหรับบุรุษ หรือ "F" สำหรับสตรี
* ส่วนสูง (Height) หน่วยเป็นเมตร
* สถานที่เกิด (Place of birth) โดยทั่วไปจะเป็นจังหวัดที่เกิด
* วันที่ออก (Date of issue) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด
* วันที่หมดอายุ (Date of expiry) ในรูปแบบเดียวกับวันเกิด โดยจะหมดอายุในอีก 5 ปีให้หลัง
* ออกให้โดย (Authority) โดยทั่วไปจะเป็น "MINISTRY OF FOREIGN AFFAIR"
* ลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง (Signature of bearer)

หมายเหตุหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางส่วนใหญ่จะมีหมายเหตุจากประเทศที่เป็นผู้ออกหนังสือเดิน ทางให้โดยเป็นการชี้แจงว่าผู้มือหนังสือเดินทางเป็นพลเมืองของประเทศนั้นและ ขอความกรุณาให้พลเมืองของประเทศตนสามารถผ่านเข้าไปในประเทศได้และได้รับการ ปฏิบัติต่อผู้ถือหนังสือเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของนานาชาติ หมายเหตุสำหรับหนังสือเดินทางประเทศไทยมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยมีข้อความว่า

"The Minister of Foreign Affairs of Thailand hereby requests all whom it may concern to permit the citizen/national of the Kingdom of Thailand named herein to pass freely without delay or hindrance and to give all lawful aid and protection.
This passport is valid for all countries and area."
หมายความว่า
"กระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทยจักร้องขอ ณ โอกาสนี้ยังผู้เกี่ยวข้อง ได้ยินยอมให้ประชาชน/ราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ปรากฏนาม ณ ที่นี้ ได้ผ่านไปโดยเสรี มิให้ล่าช้าฤๅกีดกั้น ทั้งโปรดอนุเคราะห์และปกป้องโดยนิติธรรมหนังสือเดินทางนี้มีผลแก่ทุกประเทศแลดินแดน"
ค่าธรรมเนียม
หนังสือเดินทางธรรมดา หนังสือเดินทางพระ หนังสือเดินทางราชการ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 1,000 บาท ส่วนหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ เก็บค่าธรรมเนียมฉบับละ 400 บาท

หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก(ตอนที่ 1)



โดยส่วนตัวผมเองไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนมาไหนไกลๆ โดยเฉพาะต่างประเทศเพราะไม่ได้เป็นรัฐมนตรี หรือนักธุรกิจ ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวแบบฟลุ๊คๆที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ ไปในฐานะสื่อมวลชน ค่อนข้างสะดวกเพราะบริษัทนำเที่ยวเขาจัดการให้เสร็จสรรพ ทริปนี้ใช้เวลาประมาณ 5 วันดังนั้นใช้แค่หนังสือผ่านแดนหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Border pass แทนหนังสือเดินทางหรือ passport ก่อนที่จะเข้าเหยียบแผ่นดินมาเลเซียก็ต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองค่อนข่างเข้มงวดที่เดียวเป็นเรื่องปกติเพราะเข้าไปในช่วงสถานการณ์บ้านเราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังระอุ ก็ต้องมีการตรวจสอบกันละเอียดหน่อย ผ่านขั้นตอนที่น่าอึดอัด (เพราะไม่สันทัดภาษาอังกฤษ) ไปได้ก็ค่อนข้างโล่งใจ มีเวลาว่างก็ชวนไกด์คนไทยคุยฆ่าเวลาระหว่างการเดินทาง ตอนหนึ่งเราได้คุยกันถึงเรื่องหนังสือเดินทาง จึงทำให้ผม
ถึงบางอ้อว่าจริงๆแล้วมันสำคัญมาก ผมถึงได้จั่วหัวว่า "บัตรประจำตัวประชาชนพลเมืองโลก" ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเวลาจะต้องเดินทางไปไหนมาไหน บนโลกใบนี้ ต้องมีเอกสารแสดงตนว่าเป็นใครมาจากไหน เอกสารที่ว่านี้คือหนังสือเดินทางนั่นเอง เหมือนกับบัตรประชาชน เพียงแต่ว่าหนังสือเดินทางหรือ passport เป็นเอกสารสากลที่สามารถใช้แสดงตนได้ทั่วโลก เพราะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของหนังสือเดินทางที่ละเอียดและสามารถตรวจสอบได้จากทุกมุมโลก ดังนั้นจึงเป็นเอกสารสำคัญยิ่ง อย่าให้ตกอยู่ในมือบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด ในบ้านเรา สามารถใช้หนังสือเดินทางแสดงตนแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้เช่นกัน
เมื่อสำคัญเช่นนี้ทำไมเราไม่คิดทำละ เมื่อคิดได้เช่นนี้กลับถึงบ้านก็รีบหาเอกสารหลักฐานที่จำเป็นพร้อมเงินค่าธรรมเนียมไปดำเนินการจนได้มาเป็นสมบัติส่วนตัวเรียบร้อยแล้วครับ ว่าแต่ว่าหนังสือเดินทางที่มีใช้อยู่เป็นแบบบุคคลธรรมดาเล่มสีน้ำตาล ถ้างั้นแสดงว่าหนังสือเดินทางต้องมีหลายแบบหลายสีหลายระดับ คิดได้อย่างนั้ก็ลองหาข้อมูลดูก็พบว่าหนังสือเดืนทางเล่มเล็กๆที่เห็นกลับมีความเป็นมาและรายละเอียดมากมายทีเดียวเลยต้องนำมามาฝากเพื่อนๆ ใน go with me เผื่อว่าใครยังไม่มีก็จะได้ไปทำบ้างครับ

ความเป็นมาหนังสือเดินทางไทย [passport]
หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทยโดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ อาจจะออกในประเทศไทย หรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่งทั่วโลก
ประวัติและวิวัฒนาการของหนังสือเดินทางประเทศไทย เริ่มมีหลักฐานและข้อมูลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มมีการออกเอกสารที่มีรูปแบบเพื่อใช้ในการเดินทางสำหรับคนไทยโดยออก เป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ มีการกำหนดตราประทับคือตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีพซึ่งเป็นรูปแบบที่แน่นอนบนเอกสาร มีกำหนดอายุ 1 ปี ในระยะเริ่มแรกเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้จะใช้ในข้ามเขต เมือง มณฑลภายในประเทศ ซึ่งยังไม่มีเอกสารที่ใช้สำหรับเดินทางไปต่างประเทศ ในเวลาต่อมาซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยทางราชการสยาม (ราชการไทยในปัจจุบัน) ได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยการเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขต(ประเทศ) โดยกำหนดให้คนสยาม (พลเมืองไทย) ที่จะเดินทางไปเมืองต่างประเทศต้องมีจดหมายหรือหนังสือเดินทางสำหรับตัวทุก คนจากเจ้าเมือง หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะ เป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความ ขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี ในสมัยนั้นหนังสือเดินทางเรียกกันว่าเอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง เพื่อใช้เป็นหนังสือแสดงตัวสำหรับเดินทางไปในหัวเมือง
ตามคำร้องขอของสถานทูตหรือสถานกงสุลต่างประเทศในไทย หรือเป็นการออกให้แก่คนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยมีการสลักท้องตราประทานหรือตราเดินทางลงในเอกสารเดินทาง ผู้มีอำนาจในการออกหนังสืออาจจะเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหลายระดับ ผู้ว่าราชการเมือง กรมการจังหวัด กระทรวงมหาดไทย หรือแม้แต่กำนัน ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดแน่นอน แต่ต้องได้รับคำสั่งจากเจ้าเมืองก่อน แต่ในสมัยนั้นชาวเมืองยังไม่ได้เห็นความสำคัญกับหนังสือเดินทางมากนัก เพราะยังไม่มีการตรวจลงตรา (visa) หรือละเลยที่จะตรวจลงตราทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาหนังสือเดินทางจึงเริ่มมีการพัฒนา โดยเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2460 รัฐบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการออก "ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ให้มีหนังสือเดินทาง" เมื่อวันที่ 17 กันยายน เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อลด ปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน
พ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกร้องให้ใช้รูปแบบหนังสือเดินทางให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการประชุมขององค์การสันนิบาตชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าว
พ.ศ. 2470 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม อันเนื่องมาจากข้อตกลงในมติในที่ประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับ หนังสือเดินทางในปีพ.ศ. 2463 ทำให้เริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบของหนังสือเดินทางใหม่ให้เป็นรูปเล่ม
พ.ศ. 2482 มีการผลิตหนังสือเดินทางเป็นรูปเล่มปกแข็งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน ภายในเล่มข้อมูลใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กัน มีการติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ หนังสือเดินทางมีจำหนวน 32 หน้าโดยในสมัยนั้นมีแผนกหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแล แต่ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางหรือต่ออายุนอกพระราชอาณาเขตสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) ได้ หนังสือเดินทางมีอายุเพียง 2 ปี แม้กระนั้นเมื่อหมดอายุสามารถต่ออายุได้ 1-2 ปีแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดิน ทางเท่านั้นแต่สามารถสลักเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ค่าธรรมเนียมฉบับละ 12 บาทสำหรับออกเล่มใหม่ ส่วนการต่ออายุปีละ 6 บาท หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยงแปลงเล็กน้อยในส่วนของสี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน
พ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากที่เคยใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเป็นข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
พ.ศ. 2536 มีการพัฒนาในการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบ ดิจิตอลแทนการติดรูปลงในหนังสือเดินทางโดยใช้ระบบ Digital Passport System (DPS) ทำให้อ่านได้ด้วยเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง (Machine Readable Passport)
พ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางให้ข้อมูลอยู่ในหน้าเดียว
พ.ศ. 2543 ระบบการทำหนังสือเดินทางเริ่มเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเรียกใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎรผ่านทางคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนยื่น ขอหนังสือเดินทาง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาระบบการผลิตหนังสือเดินทางโดยนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง ทั้งสองระบบนี้สามารถช่วยย่นเวลาการผลิตหนังสือเดินทางได้เป็นอย่างมากทำให้ สามารถผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ
พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงรูปแบบและเล่มหนังสือเดินทางให้ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงแบบเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร ทำให้มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลงที่เพิ่มขึ้น คุณลักษณะนี้อาจจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และคุณลักษณะบางอย่างที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีการแฝงไว้อย่างแนบ เนียน นอกจากนี้ในขั้นตอนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางจะผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสาร เคมีที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง และมีความปลอดภัยสูง
พ.ศ. 2548 เริ่มมีการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง มีการฝังไมโครชิปที่เป็นมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มีการเพิ่มจำนวนหน้าเป็น 50 หน้า
ตอนหน้าจะมาเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดรูปแบบของหนังสือเดินทาง รวมทั้งขั้นตอนวิธีการทำและเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับหนังสือเดินทางด้วยครับโปรดติดตามตอนต่อไป

Saturday, October 31, 2009

คำแนะนำในการเดินทางไปต่างประเทศ (ครั้งแรก)



การเดินทางเริ่มมีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ที่เราไม่เคยคุ้นเคยมาก่อนอาจนำมาซึ่งความไม่สะดวก ความไม่ปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของเรา ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำด้านความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อลดโอกาสจากการคุกคามจากภัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเราโดยตรง หรืออาจจะเกิดจากผู้อื่นซึ่งมีผลกระทบกับเรา ใครจะว่ายังไงก็ช่าง เพราะการเตรียมตัวดีย่อมนำมาซึ่งการเดินทางที่ราบรื่นและปลอดภัยครับ

การเตรียมการก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ประการแรกที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางดังนี้ ตรวจดูหนังสือเดินทางว่าหมดอายุหรือใกล้หมดอายุหรือยัง วีซ่าว่ามีอายุการใช้งานได้ครอบคุมระยะเวลาการปฏิบัติงานของท่านในประเทศนั้นหรือไม่
ตั๋วเครื่องบิน ดูวันเวลาและเที่ยวบินที่ถูกต้องชัดเจน
ใบรับรองการประกันภัย,ประกันสุขภาพเพื่อการเดินทางไปต่างประเทศ
ใบรับรองฉีดวัคซีน/กรุ๊ปเลือด(บางประเทศอาจต้องใช้)
หมายเลขโทรศัพท์ ในการติดต่อกับปลายทางและกรณีฉุกเฉิน
ให้ทำการถ่ายสำเนาหนังเดินทาง วีซ่า ตั๋วเครื่องบินและควรจดบันทึกหมายเลขบัตรเครดิตและเช็คเดินทางและเก็บแยกไว้จากตัวจริง เผื่อกรณีฉุกเฉิน และควรนำรูปถ่ายขนาดเท่ารูปถ่ายติดพาสปอร์ตพกติดไว้ด้วยสักรูปสอง รูป เผื่อจำเป็นต้องใช้

เตรียมการเรื่องบัตรเครดิตและเงินสดไว้ให้เพียงพอ
1. เตรียมเงินสดไว้บ้างเผื่อต้องใช้ระหว่างเดินทาง รวมทั้งเช็คเดินทางเพื่อความปลอดภัย
2. ควรแยกบัตรเครดิตที่ใช้สำหรับการเดินทางไว้โดยเฉพาะ และควรพกเงินดอลล่าร์สหรัฐติดตัวไว้บ้าง เพื่อสะดวกในการใช้จ่าย
3. ควรแลกเงินตราท้องถิ่นที่สนามบินไว้บ้าง เผื่อว่าในประเทศนั้นไม่มีเงินสกุลอื่น

ใน แง่ของความมั่นคงปลอดภัย ถึงแม้ว่าความเสี่ยงในการเดินทางจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้น้อยกับผู้ที่เดินทาง แต่ก็อย่าประมาท ภัยต่างๆ ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ บางครั้งอาจจะไม่เกิดขึ้นกับเราโดยตรงแต่อาจจะมีผลกระทบกับเราได้ การวางแผนการเดินทางที่ดี การเตรียมการที่ดี เป็นการลดโอกาสที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับเรา คำแนะนำต่อไปนี้อาจจะช่วยคุณได้คือ
1. การมีการวางแผนการเดินทางให้ดี ตั้งแต่การเริ่มต้นเดินทางไปจนกระทั่งเดินการทางกลับ
2. ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีอัตราความเสี่ยงภัยสูง เช่น พื้นที่ที่มีสถานะการณ์ตึงเครียดในด้านทางทหารจากการสู้รบ การโจมตี ด้านการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเดินขบวนประท้วง และพื้นที่ที่มีปัญหาขัดแย้งเป็นต้น พื้นที่เหล่านี้จะมีการควบคุมโดยกองกำลังความมั่นคงต่างๆมากมายอาจจะทำให้ เกิดความล่าช้าหรือปัญหาอื่นๆ จากมาตราการเข้มงวด หรือปฎิบัติการของกองกำลังเหล่านี้
3. ควรเตรียมการเรื่องการนัดหมาย การตอบรับและการรับรองการเดินทางจากจุดหมายปลายทางไว้ล่วงหน้า
4. ควรจะมีการนัดหมายกันกับผู้ที่เราจะไปพบ หรือมารับเราที่สนามบินและเตรียมการวางแผนล่วงหน้าเกิดกรณีมีพบผู้ที่เรานัด หมายไว้หรือผู้ที่เรานัดหมายไว้ไม่มารับเราที่สนามบินว่าเราควรจำอย่างไร

การจัดเตรียมกระเป๋าเดินทาง
1. ควรศึกษาเรื่องน้ำหนัก ขนาด จำนวนกระเป๋าที่จะถือขึ้นเครื่องบินหรือกฎระเบียบต่างๆ จากสายการบินก่อนเดินทาง
2. จัดเตรียมเสื้อผ้าให้พอเพียงแก่ความจำเป็นที่จะใช้กระเป๋าเดินทางควรจะมี ความมั่นคงแข็งแรง และควรทำเครื่องหมายไว้เพื่อง่ายต่อการจดจำ
3. ควรมีกระเป๋าเดินทางให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ควรเตรียมชุดสำรอง ชุดชั้นในสำรอง ไว้ใสกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องด้วย

ก่อนออกเดินทาง
1. ยืนยันการเดินทางทั้งไปและกลับกับสายการบินที่จะเดินทางไปอย่างน้อย 2 วัน ก่อนการเดินทาง
2. เผื่อเวลาสำหรับการเช็คอิน อย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเวลาเครื่องบินจะออก
3. ถ้ามีการให้บริการเช็คอินแบบ Early Check in ควรทำการเช็คอินก่อน

การปฎิบัติระหว่างการเดินทาง
1. ในระหว่างการเดินทางถ้าคุณประสบกับปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัย กรุณาติดต่อผู้แทนของบริษัท ฯ ที่ทำหน้าที่ในประเทศที่ท่านจะเดินทางไป
2. ท่านควรมีสำเนาหมายเลขโทรศัพท์สำคัญ ๆ ของจุดหมายปลายทางในประเทศนั้น ๆ ติดตัวไปด้วยตลอดเวลา เช่น โรงแรม บริษัท หรือสถานทูตไทย
3. ถ้าท่านไม่สามารถติดต่อกับผู้ที่อยู่ ณ จุดหมายปลายทางได้ ขอให้ท่านติดต่อกลับมายังบริษัทได้ตลอดเวลา หรือสถานทูต เพื่อขอความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำ

การประกันในการเดินทาง การประกันด้านอุบัติเหตุและสุขภาพเพื่อการเดินทางต่างประเทศ ทางบริษัทฯ ได้เตรียมการไว้ให้พนักงานทุกคนที่เดินทางเพื่อปฎิบัติธุรกิจของบริษัทฯ เท่านั้น และเงื่อนไขการประกันจะไม่คุ้มครองในช่วงที่พนักงานเดินทางเพื่อการส่วนตัว ถ้ามีข้อสงสัยกรุณาติดต่อฝ่ายบุคคลก่อนการเดินทาง

ข้อแนะนำในระหว่างการเดินทาง
1. ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่เหมาะสม ไม่เป็นที่สะดุดตา ไม่ควรสวมเครื่องประดับราคาแพง หรูหราเป็นการล่อใจต่อผู้ไม่ประสงค์ดี
2. กระเป๋าเดินทางควรปิดล็อคให้แน่นหนา ติดป้ายชื่อหมายเลขเที่ยวบิน จุดหมายปลายทาง
3. ไม่ควรติดป้ายสถานะของผู้เดินทาง เช่น บัตรทอง บัตรผู้บริหาร ซึ่งสายการบินต่างๆ ออกให้ เพราะอาจจะเป็นเป้าหมายของผู้ไม่ประสงค์ดี
4. ควรติดเทปตรงรอยต่อของฝากระเป๋าเดินทาง เพื่อเป็นเครื่องบอกว่ากระเป๋าถูกงัดหรือไม่
5. ไม่ควรนำสิ่งของต้องห้ามเข้าประเทศนั้นๆ หรือนำติดตัวไป ไม่ควรนำอาวุธเข้าประเทศนั้นๆ
6. ควรเตรียมเงินสดที่พร้อมจะใช้แยกไว้ต่างหากจากเงินทั้งหมดเพื่อสามารถเอาออก มาไว้ได้ทันที แทนที่จะนำเงินทั้งหมดออกมาอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัย
7. ให้ตรวจสอบระเบียบการอนุญาตการนำสินค้ายกเว้นภาษี (Duty Free) ก่อนนำเข้าประเทศนั้นๆ
8. ควรรับทราบ และยืนยันกับผู้ที่เราจะพบ ณ จุดนัดพบ ตลอดจนชื่อโรงแรมหรือที่พัก ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ในการติดต่อเมื่อเกิดปัญหา

การปฎิบัติในเครื่องบิน
1. โปรดใช้ความระมัดระวังในการสนทนากับผู้อื่นในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลของบริษัทฯ
2. เก็บรักษาเอกสารสำคัญๆ ของบริษัทฯ ไว้ให้ดีเพื่อป้องกันมิให้ความลับของบริษัทรั่วไหลออกไป
3. กรอกแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นแบบฟอร์มตรวจคนเข้าเมือง ให้เรียบร้อย
4. ก่อนที่จะออกจากเครื่องบิน ให้ตรวจดูสิ่งของส่วนตัวให้เรียบร้อยเพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่ลืมสิ่งใดเอาไว้

การปฎิบัติเมื่อประสบกับสถานการณ์สลัดอากาศจี้เครื่องบิน ท่านควรปฎิบัติดังนี้
1. อยู่ในอาการสงบ ควบคุมความรู้สึก คิดในแง่ดีไว้ (พ่อแก้ว แม่แก้ว)
2. พยายามทำตัวให้กลมกลืนกับผู้โดยสารทั่วไปอย่าทำตัวเด่นสะดุดตา
3. หลีกเลี่ยงการสบตา ซึ่งเป็นการแสดงว่าคุณกำลังเฝ้าดูพฤติกรรมของสลัดอากาศอยู่
4. อย่าพยายามต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น
5. อย่าพยายามสื่อสาร หรือให้สัญญาณผู้โดยสารอื่นๆ
6. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่าฉับพลันหรือขัดขืนต่อสู้ ถ้าถูกถาม ให้ตอบอย่างสุภาพและสั้นๆ อย่าอาสาที่จะให้ข้อมูล หรือเสนออะไรที่ไม่จำเป็น
7. อย่าพยายามทำตัวเป็นคนเก่ง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายแก่ตัวคุณเอง หรือผู้อื่นได้
8. เตรียมตัวให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย และให้ทำใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
9. ศึกษาคำแนะนำความปลอดภัยในเอกสาร และสังเกตุทางออกฉุกเฉิน
10. จงเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการที่จะเกิดขึ้น ถ้ามีการจู่โจมจากหน่วยที่เข้าไปทำการช่วยเหลือ ถ้ามีการต่อสู้กันให้หมอบ หาที่กำบัง หรือนอนราบกับพื้น
11. ปฎิบัติตามคำสั่งของหน่วยจู่โจม อย่างเคร่งครัด

Thursday, October 22, 2009

การบำรุงรักษารถยนต์ ให้พร้อมใช้งาน



การดูแลบำรุงรักษารถเป็น สิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติอยู่เสมอเป็นประจำ เพราะรถถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับคนรักหรือแหน เพราะถ้าอยากให้อยู่กับเรานาน ๆ ก็ต้องรักดูแลเอาใจใส่ให้มาก ซึ่งภายในรถก็จะมีอุปกณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ อยู่มากมาย ทั้งภายในห้องโดยสาร ห้องเครื่องยนต์ แต่จุดที่เราจะต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงสภาพเดิมมากที่สุดก็มีด้วยกันดัง นี้
1. เครื่องยนต์ 2. ระบบหล่อลื่น 3. ระบบไฟ 4. ระบบหล่อเย็น 5. ระบบเบรก 6. ล้อและยาง 7. ตัวถังและช่วงล่าง 8. อุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ นอก จากจุดที่สำคัญเหล่านี้แล้ว อุปกรณ์ที่ประกอบอยู่ในชุดเดียวกันที่ต้องตรวจเช็กก็จะกล่าวเป็นส่วน ๆ ไป โดยเราจะเริ่มจากการดูแลเครื่องยนต์กันก่อน ก่อน ที่จะพูดกันถึงในรายละเอียดอื่น ๆ เราจะต้องมาทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ของเราเสียก่อน เครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันหากแบ่งตามชนิดของการใช้น้ำมันเชื้อ เพลิงแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
รถยนต์เบนซิน เป็นรถที่มีค่อนข้างมากในบ้านเรา เพราะด้วยความแรงและการออกตัวที่ฉับไวทันอกทันใจทำให้ครองใจใครหลาย ๆ คนจึงทำให้เลือกใช้รถประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งรถยนต์เบนซินเป็นรถยนต์ที่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินทั้งธรรมดา และเบนซินซุปเปอร์ ในปัจจุบันเราจะเรียกเป็นค่าอ๊อกเทน 91,95 และ 97 รถแต่ละรุ่นจะระบุอยู่ในคู่มือรถยนต์ว่าควรจะเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนเท่าไหร่ มีบางคนอาจจะเข้าใจว่าการเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนที่สูงกว่าที่ระบุในคู่มือจะ ทำให้รถแรง หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นอันที่จริงแล้วมันไม่มีผลเท่าไหร่ อีกทั้งยังจะทำให้คุณเปลืองสตางค์ในกระเป๋ามากขึ้น ส่วนใหญ่รถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินนั้นจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุกเล็ก อาจจะมีรถตู้บ้างเล็กน้อย สังเกตได้ง่ายคือถ้ารถใช้หัวเทียนจะเป็นรถเบนซิน
ข้อดีของรถยนต์เบนซิน อะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องยนต์มีราคาถูกหาซื้อง่าย การเร่งความเร็วทำได้ทันอกทันใจกว่ารถยนต์ดีเซล การสตาร์ทเครื่องทำได้ง่ายกว่ารถยนต์ดีเซล เครื่องยนต์ใหม่และมือสองมีราคาถูก
ข้อเสียของรถยนต์เบนซิน
การสึกหรอของเครื่องยนต์มีมาก อายุการใช้งานน้อย น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง ทำให้เกิดมลภาวะ (ทำการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์)
รถยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่จะเป็นรถที่เน้นในเรื่องของการบรรทุกเพราะจะมีแรงอึด มากกว่า เครื่องยนต์ก็มีความทนทานรับสภาวะหนัก ๆ ได้ไม่มีถอย ซึ่งรถยนต์เครื่องดีเซลจะใช้น้ำมันดีเซล หรือที่เรียกขานกันติดปากทั่วไปว่า ”โซล่า” ส่วนใหญ่รถยนต์ที่เป็นเครื่องดีเซลจะเป็นรถบรรทุก รถกระบะ การทำงานของรถยนต์จะใช้หัวฉีดและใช้แรงอัดเป็นการจุดระเบิด ฉะนั้นจึงไม่มีหัวทียนซึ่งจะแตกต่างจากรถยนต์เบนซิน
ข้อดีของรถยนต์ดีเซล
การเกิดมลภาวะน้อยกว่า (ถ้าเครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้หมดจด) การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่จุกจิก
เครื่องยนต์มีความทนทานมากกว่าเครื่องเบนซิน
น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน
การสึกหรอของเครื่องยนต์มีน้อย
ข้อเสียของรถยนต์ดีเซล
การเร่งกำลังเครื่องยนต์ช้าไม่ทันใจ
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ในชิ้นส่วนต่าง ๆ มีราคาแพง
เมื่อใช้นานเข้าจะสตาร์ทติดยาก ต้องใช้โช๊คช่วย
ทำให้เกิดมลภาวะเช่นเดียวกัน


แต่โดยทั่ว ๆ ไปการบำรุงรักษารถยนต์ทั้งสองประเภทจะมีหลักคล้าย ๆ กัน แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างในบางส่วนเท่านั้น
จุดไหนของเครื่องยนต์ที่ต้องดูแลรักษา จุดหลัก ๆ คงจะเป็นภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งได้แบ่งเป็นจุดต่างๆ คือ ระบบหล่อลื่น (การดูแลน้ำมันเครื่อง และใส้กรองน้ำมันเครื่อง) ,แบตเตอรี่ (ระบบไฟฟ้า),หม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น) ,หม้อกรองและไส้กรองอากาศ,จานจ่ายและหัวเทียน (ระบบจุดระเบิด) ,คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท (ระบบสตาร์ท) ,ฟิวส์และหลอดไฟ,ระบบเบรก,ระบบคลัตซ์และเกียร์,ล้อและยาง,การบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะหรือการใช้งาน
การดูแลน้ำมันเครื่อง (ระบบหล่อลื่น)
อย่าง แรกที่ต้องดูแลเอาใจใส่ก็คือ การดูแลและวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรถยนต์ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ต้องการน้ำ ถ้าขาดเมื่อไหร่ก็ตายเมื่อนั้น รถยนต์ก็เหมือนกันต้องมีน้ำมันเครื่องมาคอยหล่อเลี้ยงอยูตลอดไม่เช่นนั้น เครื่องคงตั้งพังแน่นอน
หน้าที่ หลักของน้ำมันเครื่องคือ ช่วยหล่อลื่นระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้เดินสะดวก ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์จึงจำเป็ต้องตรวจเช็คอย่าง สม่ำเสมอเป็นประจำเมื่อใช้ไปนานๆ จะมีสิ่งปลอมปนทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดน้อยลงตามอายุการใช้งาน
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตาม หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่แล้วบรรดาช่างต่าง ๆ จะแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 3 เดือน หรือทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ว่าจะถึงจุดไหนก่อน อย่างเช่น รถวิ่งทางไกลมาถึงระยะ 5,000 กิโลเมตร ภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้เลยไม่ต้องรอให้ครบ 3 เดือน) หรืออาจจะดูตามคู่มือรถของท่านแล้วก็ปฏิบัติตามนั้น ถ้าจะให้ดีในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรจะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องด้วย ทุกครั้ง เพราะความสกปรกในไส้กรองอาจเข้าไปทำให้น้ำมันที่เติมใหม่มีสิ่งปลอมปน
ที่สำคัญควรจะให้ช่างผู้มีความชำนาญงานเป็นผู้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรองให้กับท่าน ถ้าหากว่าท่านไม่รู้เรื่องช่างหรือไม่ชำนาญพอ
ขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอง
ถ้าเครื่องเย็นให้สตาร์ทเครื่องยนต์ และอุ่นเครื่องไว้จนเครื่องร้อนถึงระดับปกติจึงดับเครื่อง
เปิด ฝากระโปรงหน้าและถอดฝาเติมน้ำมันออก ถอดนอตถ่ายน้ำมันเครื่องที่ด้านล่างของเครื่องยนต์ออก ปล่อยให้น้ำมันเครื่องไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ ถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องออก ปล่อยให้น้ำมันส่วนที่เหลือไหลออกมา การถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องจำเป็นต้องใช้บล๊อกถอดไส้กรองโดยเฉพาะ ติดตั้งไส้กรองน้ำมันเครื่องใหม่ ตามขั้นตอนที่แนบมากับไส้กรองน้ำมันเครื่อง ใส่แหวนรองตัวใหม่เข้ากับนอตถ่ายน้ำมันเครื่อง ขันนอตถ่ายน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่ด้วยแรงบิด 44 นิวตัน-เมตร (N.M) หรือบิดด้วยมือเท่านั้น เติมน้ำมันเครื่องชนิดที่แนะนำให้ใช้ใส่ลงในเครื่องยนต์ เครื่องเบนซินเติมน้ำมันเครื่องเบนซิน เครื่องดีเซลเติมน้ำมันเครื่องดีเซล ปิดฝาเติมน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์สัญญาณไฟเตือนความดัน น้ำมันเครื่องควรจะดับภายใน 5 วินาที แต่ถ้าไฟเตือนไม่ดับท่านจะต้องดับเครื่องยนต์และตรวจดูพลาดว่าทำขั้นตอนก่อน หน้าผิดพลาดหรือเปล่า ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินหลาย ๆ นาที เช็คดูที่นอตถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่องว่ามีน้ำมันเครื่องรั่วออกมาหรือไม่ ดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้สักพักแล้วเช็คระดับน้ำมันเครื่องอีกครั้ง ถ้าจำเป็นให้เติมน้ำมันเครื่องจนถึงขีดบนของก้านวัด สำหรับ การตรวจสอบน้ำมันเครื่องควรจะเช็คอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถที่ใช้งานปกติ และควรตรวจสอบอยู่เสมอหากเป็นรถที่ใช้งานหนัก หรือวิ่งทางไกลควรเช็คอยู่เป็นประจำ การเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ต้องกระทำอยู่เสมอเพื่อความแน่นอนในการขับรถ
การ เช็คระดับน้ำมันเครื่องให้ทำหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันไหลลงด้านล่างของเครื่องก่อน และรถจะต้องจอดอยู่บนพื้นราบด้วย ให้ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ซับเช็คก้านวัดให้ไม่มีรอยน้ำมันเครื่องเดิมที่ติดขึ้นมา เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด
ดึง ก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่ง ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบนแสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องถูก ต้องแล้ว ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องจนได้ระดับ ที่ถูกต้อง
การเติมน้ำมันเครื่อง
เมื่อพบว่าน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับมาตรฐาน จะต้องเติมให้ได้ระดับซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
เปิดฝากระโปรงรถยนต์ ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาซึ่งจะอยู่ข้าง ๆ เครื่องยนต์ ส่วนตอนปลายจะมีลักษณะแบนประมาณ 2 นิ้ว และจะมีตัวหนังสือเขียนกำกับเอาไว้ คือ
MAX หมายความว่า มาก
MID หมายความว่า ปานกลาง
MIN หมายความว่า น้อย
เมื่อดึงก้านน้ำมันเครื่องขึ้นมาจะมีน้ำมันติดปลายก้านวัดมาด้วยให้ดูว่าน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่สูงสุดอยู่ในระดับไหน เช่น
MAX หมายความว่า ยังไม่ต้องเติมน้ำมันเครื่อง
MID หมายความว่า ให้เติมน้ำมันเครื่องเล็กน้อยให้ได้ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID ส่วน MIN หมายความว่า ต้องเติมน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID
การ เติมน้ำมันเครื่องให้เปิดฝาเครื่องยนต์ขึ้นมาแล้วเทน้ำมันเครื่องลงไป การเติมแต่ละครั้งให้ดูการวัดจากก้านวัดน้ำมันเครื่องจากข้อ 2 และที่สำคัญการเติมในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1.5-2 ลิตรเป็นอย่างมาก
การ วัดระดับน้ำมันเครื่อง หลังจากเติมน้ำมันเครื่องให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับไปในช่องเดิม ก่อนใส่ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่เช็ดปลายให้หมดรอยน้ำมัน แล้วจึงใส่กลับลงไปให้สุดแล้วดึงขึ้นมาดูระดับของน้ำมัน เมื่อ ได้ระดับน้ำมันเครื่องตามที่ต้องการแล้ว ให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องเข้าที่เดิม ปิดฝาเครื่องยนต์ แล้วจึงปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย
ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง ช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ ช่วยลดการเสียดทาน และสึกหรอของเครื่องยนต์ รักษาความสะอาดภายในเครื่องยนต์ ลดตะกอนสะสม ป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อน
ช่วยให้รถสตาร์ทติดง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องจึงมีความสำคัญมาก โปรดปฏิบัติตามคู่มือประจำรถของท่านหรือปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง
การดูแลรักษาแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ ขุมพลังไฟฟ้าแหล่งสำคัญที่ถูกบรรจุอยู่ในห้องเครื่องคอยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ แอร์ โทรทัศน์ ที่ต่างสรรหามาติดกันในรถ รวมไปถึงการจ่ายไฟฟ้าเพื่อการสตาร์ทเครื่องยนต์ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย แบตเตอรี่ทั้งสิ้น แต่เมื่อใช้ไปเรื่อย ๆ แบตเตอรี่จะเริ่มมีปัญหา เพราะน้ำยาอิเล็คโตรไลด์ หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่าน้ำกลั่นบริสุทธิ์ ที่อยู่ในแบตเตอรี่จะลดลงต่ำกว่าระดับที่ถูกต้องทั่วไป ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นตรวจสอบคอยเช็คน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือ ไม่ ถ้าลดลงก็ให้เติมน้ำกลั่นกลับเข้าไปให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง เพราะไม่เติมน้ำกลั่นจะสั้นลง การที่จะตรวจเช็คน้ำกลั่นในแบตเตอรี่นั้นก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เปิดฝาจุกด้านบนที่หม้อแบตเตอรี่ทั้ง 6 ฝาดูว่าระดับน้ำกลั่นลดลงหรือไม่ ถ้าท่วมก็ให้เติมน้ำกลั่นลงไป โดยจะต้องให้ท่วมแผ่นทองแดงขึ้นมาประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แต่ในกรณีที่ท่านใดเบื่อการเติมน้ำกลั่นลงหม้อแบตเตอรี่แล้วล่ะก็มีอีกทาง ให้เลือกคือ ใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นหรือที่รู้จักกันในนาม “แบตเตอรี่แห้ง” อายุในการใช้งานก็พอ ๆ กับแบตเตอรี่ธรรมดาที่เติมน้ำกลั่น แต่มีข้อเสียอยู่อย่างเดียว คือแบตเตอรี่แห้งจะมีราคาแพงกว่ามากยังไงถ้าจะเลือกใช้ก็พิจารณาตามความจำ เป็นและงบประมาณในกระเป๋าก็แล้วกัน
เรา ก็มาว่ากันต่อในเรื่องของน้ำกลั่น การที่จะเลือกน้ำกลั่นมาเติมแบตเตรี่ควรจะเลือกน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่ใช้เติม กับแบตเตอรี่โดยเฉพาะ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันหาน้ำกลั่นไม่ได้จริง ๆ ก็สามารถใช้น้ำประปาสะอาดแทนได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) น้ำกลั่นจะหาซื้อได้ตามปั้มน้ำมันหรือร้านขายแบตเตอรี่ ราคาประมาณขวดละ 10 บาท ในปริมาณ 1 ลิตร
การเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ เปิดฝาจุกด้านบนของหม้อแบตเตอรี่ 6 ฝา ให้หมด แล้วเช็คดูว่าทั้ง 6 ช่องน้ำกลั่นอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าลดลงจนไม่ท่วมแผ่นทองแดงให้เติมน้ำกลั่นลงไปในช่องที่น้ำกลั่นลดลงไป (แต่ละช่องน้ำกลั่นจะลดลงไม่เท่ากัน)โดยให้ท่วมแผ่นทองแดงประมาณ 10-15 มิลลิเมตร อย่าเติมน้ำกลั่นให้ล้นออกมาจากหม้อแบตเตอรี่ ถ้าน้ำกลั่นหกเลอะออกมานอกหม้อแบตเตอรี่ให้รีบนำผ้ามาเช็ดให้แห้งทันที
เมื่อเติมเสร็จเรียบร้อยให้ปิดจุกฝาทั้ง 6 ฝาให้เรียบร้อย นอกเหนือจากการตรวจเช็คเติมน้ำกลั่นแล้ว การดูแลรักษาแบตเตอรี่ในส่วนอื่น ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน อย่างเช่น ในส่วนของขั้วแบตเตอรี่ ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือขี้เกลือขึ้นบริเวณขั้วทั้ง 2 ข้าง ของแบตเตอรี่ รวมไปถึงสิ่งสกปรกอื่นที่ติดเป็นคราบ ถ้าพบให้รีบทำความสะอาดโดยทันที เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก การจ่ายไฟไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จุดต่าง ๆ ที่ต้องตรวจสอบอีกคือ ขั้วสายไฟที่ต่อแบตเตอรี่หลวมหรือไม่ ฝาปิดช่องเติมน้ำกลั่นหมุนเกลียวแน่นหรือเปล่า ตรวจเช็คว่ามีรอยรั่วของหม้อแบตเตอรี่หรือไม่ ถ้ามีต้องรีบแก้ไข
การทำความสะอาดแบตเตอรี่
1. ถ้าเกิดขึ้เกลือขึ้นในขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ข้าง ให้ถอดขั้วทั้ง 2 ออกมา
2. ใช้แปรงลวดขัดบริเวณที่เกิดขี้เกลือบริเวณทั้งสองข้างถ้าเป็นรอยสกปรกธรรมดาใช้ผ้าเช็ดก็ได้
3. เมื่อทำความสะอาดเสร็จให้ใช้จาระบีทาที่ขั้วแบตเตอรี่และขั้วทองแดงทั้งสองขั้ว
4. ให้ใส่ขั้วกลับลงไปที่เดิม โดยให้สายขั้วบวกใส่ในตำแหน่งขั้วบวก สายขั้วลบใส่ในตำแหน่งขั้วลบ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1.ควรทำความสะอาดหม้อแบตเตอรี่ด้านนอก ทุก ๆ 6 เดือน โดยการยกหม้อแบตเตอรี่ออกจากรถแล้วใช้แอมโมเนียเช็ด
2.ควรถอดขั้วแบตเตอรี่และทำความสะอาดทุก ๆ 3 เดือน ตามวิธีที่ทำให้เกิดประกายไฟได้
3.อย่าให้โลหะอย่างเช่น ไขควง แหวน โดนขั้วแบตเตอรี่ เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
4.ขณะ จอดรถอย่าเปิดไฟ หรือวิทยุทิ้งเอาไว้นาน ๆ เพราะมันจะดึงไฟแบตเตอรี่ทำให้แบตเตอรี่อ่อน หรือในเวลาที่จะสตาร์ทรถควรจะปิดแอร์หรือวิทยุไว้ชั่วคราวก่อน
ใน การที่ไฟแบตเตอรี่อ่อนซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุทำให้รถสตาร์ทติดยาก วิธีที่จะแก้ไขก็คงจะต้องนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟที่ร้านแบตเตอรี่
การชาร์จไฟจะทำได้ 2 กรณี
1. ถอดหม้อแบตเตอรี่ทั้งใบไปให้ทางร้านชาร์จไฟ ใน กรณีนี้จะทำได้ง่ายถ้าบ้านอยู่ใกล้กับร้านแบตเตอรี่หรือไม่รีบร้อนติดธุระ ที่ไหน เพราะการชาร์จไฟแบบนี้จะกินเวลาค่อนข้างนาน คือประมาณ 10 ชั่วโมงกว่าที่การชาร์จไฟจะเต็มแบตเตอรี่
2. การ ชาร์จไฟจากแบตเตอรี่รถคันอื่น การที่จะใช้วิธีนี้นั้นเพราะหาร้านแบตเตอรี่ในละแวกนั้นได้ยากและรถเกิด สตาร์ทไม่ติดพอดี หรือไม่ก็ต้องรีบออกไปธุระก่อน การชาร์จไฟแบบนี้จะทำได้ง่ายเพียงมีอุปกรณ์ สายชาร์จ แบตเตอรี่ และที่ขาดไม่ได้คือ รถยนต์คันอื่นที่เข้ามาช่วยเหลือ
นำ สายชาร์จแบตเตอรี่มาสองเส้น สายชาร์จนี้ควรจะเป็นสายในการชาร์จไฟโดยเฉพาะ หรือถ้าไม่มีก็ใช้สายไฟแทนก็ได้ แต่สายไฟต้องมีขนาดใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าสายชาร์จเท่านั้น ห้ามใช้สายที่เล็กกว่าเพราะอาจทำให้สายไฟละลายได้
ต่อสายชาร์จทั้งสองเส้นเข้ากับขั้วแบตเตอรี่ โดยให้ขั้วบวกต่อกับขั้วบวก ขั้วลบต่อกับขั้วลบ
จากนั้นให้ลองสตาร์ทรถดู จนกระทั่งรถสตาร์ทติดก็ให้ถอดสายชาร์จออก โดยให้ถอดขั้วบวกออกก่อนจากนั้นจึงถอดขั้วลบ แต่ การชาร์จไฟแบบนี้จะมีไฟแบตเตอรี่อยู่น้อยมาก เมื่อรถจอดหรือดับเครื่องแล้วพอกลับมาสตาร์ทใหม่อาจจะไม่ติดก็ได้ วิธีนี้เป็นการสตาร์ทเพื่อให้ขับรถต่อไปยังร้านแบตเตอรี่เพื่อชาร์จ แบตเตอรี่หรือเพื่อขับรถกลับบ้านซึ่งถ้าจะขับต่อก็ต้องมาชาร์จไฟแบบเดิมอีก
การบำรุงรักษาหม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)
หม้อ น้ำถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญอีกตัวหนึ่งของรถยนต์ เพราะหม้อน้ำจะช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้ อย่างต่อเนื่อง เครื่องยนต์ไม่ร้อนจัดจนเกิดการน็อค การระบายความร้อนของรถยนต์โดยทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน ทำให้ต้องมีการเช็คระดับน้ำอยู่เสมอว่าลดลงไปมากหรือเปล่า ถ้าลดลงมากจนแห้งอาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงหรือโอเวอร์ฮีท และความเสียหายก็จะตามมาได้ ในหน้าปัดรถของเรานั้นจะมีสัญญาณเตือนหรือเป็นเข็มบอก โดยจะใช้สัญลักษณ์เป็นตัว c ย่อมาจาก cool คือเย็น และ H ย่อมาจาก HOT คือร้อน ปกติแล้วถ้าระดับน้ำถูกต้องเข็มวัดความร้อนจะอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H แต่ถ้าขาดการดูแลจนระดับน้ำแห้งความร้อนจะมีมากขึ้นจนเข็มชี้ไปที่ H นั้น แปลว่ารถเกิดความร้อนมากต้องรีบจอดรถและหาน้ำมาเติม (การเติมน้ำจะต้องรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน) ที่สำคัญห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนจัดเพราะอาจจะได้รับอันตราย จากไอน้ำที่พุ่งออกมาได้
น้ำ ที่ใช้เติมหม้อน้ำก็ให้ใช้น้ำที่ใสสะอาดธรรมดาไม่มีตะกอน อย่างเช่น น้ำประปาทั่วไป ส่วนการเช็คระดับน้ำระบายความร้อนให้ตรวจเช็คที่ถังน้ำสำรองซึ่งอยู่ภายใน ห้องเครื่องด้านหน้าบริเวณโคมไฟ ซึ่งตัวถังน้ำสำรองจะมีขีดเช็คระดับอยู่ทั้งหมด 3 ขีด คือ MAX,NORMAL,MIN ถ้าน้ำอยู่ในระดับ MIN หรือต่ำสุด ให้เติมน้ำระบายความร้อนลงไปในถังน้ำสำรองจนพอดีกับขีดสูงสุดหรือ MAX
น้ำ ระบายความร้อนนี้นอกจากจะใส่น้ำเปล่าได้อย่างเดียวแล้วสามารถผสมน้ำยารักษา หม้อน้ำลงไปด้วยได้ เพื่อเป็นสารช่วยในการบำรุงรักษาไม่ให้หม้อน้ำเกิดสนิม ลดการกัดกร่อน และยังช่วยให้เครื่องเย็นเร็วแต่ถ้าจะให้ดีควรใช้น้ำยารักษาหม้อน้ำของแท้ ที่เป็นยี่ห้อเดียวกับรถของท่านเพื่อจะได้ป้องกันรถยนต์ของท่านได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด ในรถยนต์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีถังน้ำสำรองอยู่ให้ท่านเติมที่ถังน้ำสำรองได้เลย โดยไม่ต้องเติมในหม้อน้ำรถยนต์ ให้เปิดฝาขึ้นโดยการดึงหรือหมุนเกลียว (โดยส่วนใหญ่ถังน้ำสำรองจะเป็นพลาสติก) จากนั้นให้เติมน้ำลงไปจนถึงขีดสูงสุด แต่อย่าให้ล้นออกมาแล้วจึงปิดฝาดังเดิม
แต่ ถ้ารถรุ่นใดไม่มีหม้อน้ำสำรอง (ส่วนใหญ่จะเป็นรถรุ่นเก่า) ให้เติมน้ำได้ที่หม้อน้ำโดยตรง โดยหมุนฝาปิดหม้อน้ำออกจากนั้นให้เติมน้ำให้เต็มแต่ไม่ล้นออกมาแล้วจึงปิดฝา ตามเดิม ในกรณีที่ไม่มีหม้อน้ำสำรองให้ตรวจเช็คหม้อน้ำทุกวัน
การเปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำ
การที่เราเติมน้ำบ่อย ๆ อาจจะมีสิ่งปลอมปนหรือตะกอนตกค้างทำให้เกิดสนิม เราจึงควรมีการถ่ายน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 2-3 ปีต่อครั้ง หรือถ้าพบว่าเป็นสนิมควรเปลี่ยนถ่ายทันทีเมื่อพบโดยการเปิดก๊อกถ่ายน้ำหรือ ท่อยางที่ก๊อกหม้อน้ำออก ถ้าจะให้ดีควรเปิดฝาหม้อน้ำออกเพื่อช่วยให้ถ่ายน้ำได้เร็วขึ้น เมื่อถ่ายน้ำออกหมดให้ปิดก๊อกแล้วเติมน้ำสะอาดลงไป และควรเติมเติมน้ำยากันสนิมลงไปด้วยเพื่อรักษาหม้อน้ำไม่ให้เกิดสนิม
พัดลมและสายพาน
พัดลม และสายพานจะทำหน้าที่สัมพันธ์กัน เมื่อสายพานหมุนพัดลมก็จะทำงานด้วยเพื่อทำหน้าที่เป่าลมไปยังหม้อน้ำเป็นการ ระบายความร้อนหากสายพานเกิดการชำรุดจนขาดใช้การไม่ได้จะทำให้พัดลมไม่หมุน และน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงควรตรวจเช็คสายพานอยู่เสมอ และหากพบว่าสายพานเก่าหรือเกิดการชำรุดให้รีบถอดเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะไปขาดกลางทาง ถ้าพบว่าสายพานขาดขณะที่ใช้รถและหม้น้ำมีความร้อนสูงห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเติม น้ำโดยเด็ดขาด เพราะไอน้ำร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมไ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน ที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อเปลี่ยได้ทันทีด้วย
การตรวจสอบพัดลมและสายพานต้องระวังเรื่องระบบไฟฟ้าด้วย เพราะปกติจะมีสวิตซ์อัตโนมัติควบคุมให้พัดลมหมุนและดับเองเมื่อหม้น้ำร้อน และหม้อน้ำเย็นต้องดับสวิตซ์เครื่องยนต์ก่อนทำการตรวจสอบสายพานและพัดลมเสมอ
ข้อควรระวัง
อย่าปล่อยให้สายพานดึงหรือหย่อนเกินไปเมื่อตรวจพบควรให้ช่างแก้ไข
อย่าใช้สายพานผิดขนาด
อย่าฝืนทนใช้สายพานเก่าหรือชำรุดเมื่อตรวจสอบพบ
พยายามอย่าให้น้ำมันหรือสิ่งหล่อลื่นติดสายพาน เพราะจะทำให้สายพานลื่นหลดออกหรือขาดได้
เทอร์โมสตัส เรื่องน่ารู้ของระบบหล่อเย็น
เทอร์โม สตัส เอ่ยชื่อนี้คนขับรถคงจะคุ้นหูและรู้จักกันดี เพราะหน้าที่ของเทอร์โมสตัสจริง ๆ แล้วจะคอยทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์เป็นวาล์วหรือ สวิตซ์ทำหน้าที่เปิด-ปิดน้ำไปหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์เมื่อมีความร้อน ถ้าหากเทอร์โมสตัสชำรุดหรือวาล์วเปิด-ปิดค้างความร้อนของเครื่องยนต์จะสูง ขึ้นอย่างรวดเร็วต้องเปลี่ยนหรือทำการแก้ไขส่วนการแก้ไขควรเป็นหน้าที่ของ ช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
การบำรุงรักษาหม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศ หม้อกรองอากาศและไส้กรองอากาศเป็นอีกชิ้นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญภายในรถ หน้าที่หลัก ๆ ของมันคือกรองฝุ่นละอองออกจากอากาศ เพื่อให้ได้อากาศที่สะอาดไหลเวียนผ่านคาร์บิวเรเตอร์ ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศจะทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ได้อย่างมาก เนื่องจากเครื่องยนต์จะมีความสึกหรอสูงหากให้อากาศที่มีฝุ่นละอองถูกดูดเข้า ไปในเครื่องยนต์ หม้อกรองอากาศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ
หม้อกรองอากาศแบบแห้ง
หม้อ กรองอากาศแบบนี้จะถูกนิยมใช้กันมาก เป็นหม้อกรองอากาศที่ทำด้วยกระดาษพับซ้อนกันเป็นจีบ เพื่อเพิ่มพื้นที่ของอากาศให้มากขึ้นในการช่วยกรองอากาศ และจะมีจะแกรงลวดเสริมอยู่ภายในเพื่อป้องกันไม่ให้กระดาษล้มหรือยุบตัว แต่เมื่อใช้งานไปนาน ๆ เข้าหม้อกรองอากาศจะมีฝุ่นละอองจับตัวกันมาก จึงต้องถอดไส้กรองอากาศ ออกมาเพื่อทำความสะอาด
ให้เปิดฝาบริเวณที่เก็บใส้กรองอากาศ ซึ่งจะอยู่บริเวณตอนหนักของรถยนต์ที่ใกล้กับเครื่องยนต์
คลายน็อตยึดต่าง ๆ แล้วจึงค่อย ๆ นำไส้กรองอากาศออกมา
ถ้ามีที่เป่าลมหรือที่สูบลมให้ใช้แรงลมเป่าจากรูไส้กรองบริเวณข้างใน เป่าออกมาทางด้านนอกให้ฝุ่นละอองที่จับอยู่กับไส้กรองหลุดออกมา
ในกรณีที่ไม่มีเครื่องเป่าลมให้นำไส้กรองอากาศมาเคาะกับพื้นเบา ๆ โดยใช้ด้านขนานกับพื้น เพื่อให้ฝุ่นละอองหลุดออกมา
การ กระทำทั้ง 2 วิธีต้องใช้ความนุ่มนวล เพราะถ้าหากกระดาษไส้กรองขาดจะทำให้ประสิทธิภาพในการกรองอากาศด้อยลงไปด้วย และถ้าขาดมาก ๆ อาจต้องเปลี่ยนไส้กรองใหม่ ในการทำความสะอาดไส้กรองนั้นควรจะทำทุก ๆ 2,500 กิโลเมตร อายุการใช้งานของไส้กรองอากาศแต่ละอันนั้นจะประมาณ 10,000 กิโลเมตร เมื่อครบระยะทางควรจะเปลี่ยนไส้กรองอากาศอันใหม่เพื่อการกรองอากาศที่ดีขึ้น
หม้อกรองอากาศแบบเปียก
หม้อ กรองอากาศแบบนี้จะไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนักไส้กรองจะทำมาจาฝอยเหล็กและมี อ่างมันเครื่องสำหรับดักฝุ่นละออง การทำงานของระบบค่อนข้างจะยุ่งยาก คือ เมื่ออากาศถูกดูดผ่านหม้อกรองจะผ่านน้ำมันเครื่อง ฝุ่นละอองจะถูกน้อมันเครื่องจับเอาไว้ อากาศแห้งก็จะถูกดูดเข้าไปในคาร์บิวเรเตอร์ เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาหม้อกรองอากาศแบบเปียกจึงมีความยุ่งยาก และต้องใช้เครื่องมือหลายชนิดพร้อมกับความชำนาญอีกด้วย หน้าที่นี้จึงจะเหมาะกับช่างซ่อมมากกว่า ส่วนการดูแลนั้นควรจะทำทุก ๆ 2,500 กิโลเมตรเช่นกัน และควรเปลี่ยนทุก 10,000-15,000 กิโลเมตรหรือพบว่ามีสิ่งอุดตันมาก ๆในไส้กรอง ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไปแล้วจะใช้ไส้กรองแบบแห้งเพราะการดูแลรักษาง่ายกว่า อีกทั้งยังราคาถูกกว่าไส้กรองอากาศแบบเปียก
การเปลี่ยนไส้กรองอากาศ
ให้ถอดท่อลมออกโดยการดึงขึ้น
ถอดน็อตทั้ง 4 ตัวออก จากนั้นถอดฝาครอบหม้อกรองอากาศออก
ถอดไส้กรองอากาศตัวเก่าออก ใช้ผ้าหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดภายในหม้อกรอง
วางไส้กรองอากาศตัวใหม่ลงไปในหม้อกรองอากาศ
ปิดฝาครอบหม้อกรองอากาศกลับเข้าที่แล้วขันน็อตทั้งหมดให้แน่น

ใส้กรองน้ำมัน
เมื่อ พูดถึงไส้กรองอากาศแล้วจะไม่พูดถึงไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลก็จะกะไรอยู่ ไส้กรองน้ำมันเบนซินและดีเซลควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อมาถึงก่อนหรือเปลี่ยนมือท่านสงสัยว่าไส้กรองตัน
เนื่อง จากระบบการเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันมีความยุ่งยาก ควรทำโดยช่างเทคนิคของศูนย์หรือช่างตามอู่ต่าง ๆ ที่มีความชำนาญงาน ไส้กรองอาจจะถูกเปลี่ยนก่อนกำหนดถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกติดมาในน้ำมันที่เติม
การดูแลจานจ่ายและหัวเทียน (เครื่องเบนซิน) จานจ่ายและหัวเทียน เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่หลักในการจ่ายไฟและจุดระเบิดในการสตาร์ท แต่ในส่วนของจานจ่ายจะมีอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ในการตรวจเช็คควรมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญงานเป็นผู้ดูแลจะดีกว่า สำหรับการดูแลรักษาหัวเทียนจะไม่ยุ่งยากมากนัก เราสามารถทำเองได้ จึงจะบอกกล่าวในจุดนี้มากกว่า
การทำงานของจานจ่าย จานจ่ายมักจะติดตั้งอยู่ด้านข้างของเครื่องยนต์ มีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมและจ่ายกระแสไฟไปสู่หัวเทียนเกี่ยวข้องกับการจุดระเบิด ฯลฯ
การ ตรวจสอบจานจ่ายควรทำทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร หรือตามที่บอกไว้ในหนังสือคู่มือรถของท่าน ซึ่งช่างจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นส่วนประกอบของจานจ่ายด้วย อย่างเช่นปั้มเร่งน้ำมัน คอนเอนเซอร์ หน้าทองขาวการตั้งไทม์มิ่งจุดระเบิด
การทำงานของหัวเทียน
หน้าที่ หลักของหัวเทียนจะคอยเป็นจุดระเบิดเผาไหม้ไอดีภายในหั้งเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติด ขั้วหัวเทียนที่ดีจะต้องสะอาดและมีช่องว่าง (ช่วงห่าง) ของระยะเขี้ยวในตำแหน่งที่ถูกต้องจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ นอกจากนี้หัวเทียนจะต้องมีความคงทนต่อความร้อนได้สูง
การ เปลี่ยนหัวเทียนควรเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือใช้งานไปได้ประมาณ 20,000 กิโลเมตร ในส่วนของการปรับเขี้ยวหัวเทียนควรปรับทุก 6 เดือน หรือเมื่อใช้งานประมาณ 10,000 กิโลเมตร เพราะเมื่อใช้งานไปนาน ๆ เขี้ยวหัวเทียนจะสึกหรอจากการเผาไหม้จึงต้องมีการปรับระยะช่วงห่างกันใหม่
การเปลี่ยนหัวเทียน
เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องพี่งช่างให้เสียค่าแรงโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งจะมีวิธีดังนี้
เช็ดคราบน้ำมันหรือฝุ่นออกจากบริเวณรอบ ๆ ปลั๊กหัวเทียน
ถอดปลั๊กหัวเทียนออก โดยดึงออกมาโดยตรง ๆ
ถอดหัวเทียนโดยใช้ประแจขันหัวเทียนขนาด 5/8 นิ้ว (16 มิลลิเมตร)
ใส่หัวเทียนใหม่เข้ากับประแจขันหัวเทียน จากนั้นขันหัวเทียนเข้าไปในรูหัวเทียนที่ฝาสูบโดยใช้มือขันเพื่อป้องกันการปีนเกลียว
ใช้ประแจวัดแรงบิดขันหัวเทียนให้ได้แรงบิด 18 Nm. (นัวตัน-เมตร) หรือ 1.8 kg-m (กิโลกรัม-เมตร) ถ้าไม่มีประแจวัดแรงบิดให้ใช้ประแจธรรมดาขันหัวเทียนเข้าไปอีก 2/3 รอบหลังจากที่หัวเทียนสัมผัสกับฝาสูบ
เตือนกันสักนิด ให้ขันหัวเทียนด้วยความระมัดระวัง ถ้าหัวเทียนที่ขันไว้หลวมเกินไปจะร้อนจัดและทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าขันหัวเทียนแน่นเกินไปก็จะทำให้เกลียวของรูหัวเทียนในฝา สูบเสียหายได้ ใส่ปลั๊กหัวเทียนกลับเข้าที่ เปลี่ยนหัวเทียนที่เหลือ 3 ตัว ด้วยวิธีการเดียวกัน
การทำความสะอาดหัวเทียนและการตรวจเช็ค ควรทำการตรวจเช็คอยู่เสมอ เพื่อความเรียบร้อยและสมบูรณ์ของหัวเทียน ตรวจสอบระยะเขี้ยวหัวเทียนปรับแต่งตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือที่ติดมากับรถ (ถ้าระยะห่างผิดปกติ) ใช้กระดาษทรายปลายมีดทำความสะอาดเขม่าที่ติดอยู่ตามขั้วหัวเทียน ถ้าหัวเทียนมีเขม่าจับมากให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง หรือระบบไฟกำลังอัดในกระบอกสูบ กรณีนี้ควรจะปรึกษาช่างจะดีที่สุด ในกรณีที่หัวเทียนแตกหรือมีรอยร้าว อาจจะเกิดจากความร้อนในการเผาไหม้ที่มีมากผิดปกติ ควรปรึกษาช่าง หากเขี้ยวหัวเทียนเปียกชื้นด้วยน้ำมันหล่อลื่น แสดงว่าระบบควบคุมน้ำมันหล่อลื่นบกพร่องให้ปรึกษาช่างจะดีที่สุด เมื่อทำความสะอาดหัวเทียนเสร็จให้ใช้น้ำมันเบนซินล้างให้สะอาดอีกครั้ง
หัวเทียนมีคราบเขม่าจับอยู่หนาแคะไม่ออก ต้องนำไปเผาไฟให้เขม่าไหม้เป็นถ่านก่อน จึงจะแคะออกได้
การทดสอบหัวเทียน
ใน กรณีที่รถสตาร์ทไม่ติดให้สงสัยได้เลยว่าอาจจะเกิดจากหัวเทียนให้คุณถอดออกมา ทำความสะอาดตามที่แนะนำไปข้างต้น ต่อจากนั้นให้นำปลั๊กสายหัวเทียนสวมไว้ นำคีมที่มีฉนวนคีบแล้วนำปลายหัวเทียนจ่อกับตัวถังแล้วสตาร์ทเครื่อง ถ้าหัวเทียนมีประกายไฟแสดงว่ายังใช้งานได้ แล้วลองทดสอบหัวเทียนอันอื่น ๆ ดูต่อไป แต่เมื่อทดสอบแล้วไม่มีประกายไฟให้ลองเปลี่ยนสายปลั๊กหัวเทียนหากยังไม่มี ประกายไฟอีกแสดงว่าหัวเทียนอันนั้นเสีย ต้องถึงเวลาเปลี่ยนอันใหม่
คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท อุปกรณ์ ที่เราจะกล่าวถึงชิ้นนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญงาน หรือมีความรู้เกี่ยวกับทางด้านช่างมาเป็นผู้ตรวจเช็คเท่านั้นแต่ที่จะกล่าว ถึงก็เพื่อให้ได้ทราบระบบการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างใน ห้องเครื่องยนต์
การทำงานของคอยล์จุดระเบิด คอยล์ จะมีหน้าที่หลักคือ แปลงไฟจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้อนให้กับหัวเทียนทำการจุด ระเบิดให้รถสตาร์ทติด เมื่อพบปัญหารถสตาร์ทไม่ติดตรวจสอบระบบอื่น ๆ แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากคอยล์ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างตรวจเช็คอีกครั้ง
การจะตรวจเช็คด้วยตนเองนั้นทำได้เพียงแค่การทำความสะอาดสายคอยล์ และตรวจดูความแน่นของสายขั้วสายไฟ การทำงานของมอเตอร์สตาร์ทหรือไดสตาร์ท มอเตอร์ สตาร์ทมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบเฉลี่ย และแบบขับล่วงหน้า หรือบางที่เราจะเรียกว่า ไดสตาร์ท รถรุ่นใหม่นิยมใช้แบบขับล่วงหน้าหรือได้สตาร์ทกันมากกว่า
มอเตอร์ สตาร์ทจะทำงานร่วมกับโซลินอยด์ ซึ่งควบคุมกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องเช่นเดียวกันการตรวจ สอบคงจะต้องอาศัยช่างอย่างเดียว
การตรวจสอบฟิวส์และหลอดไฟ
ฟิวส์ และหลอดไฟ มีความจำเป็นมากสำหรับรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืนความจำเป็นยิ่งมาก เป็นทวีคูณ แต่ในส่วนนี้เราจะกล่าวกันในเรื่องของฟิวส์ก่อน ฟิวส์ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟแรงสูงเพื่อไม่ให้เกิดการช็อตหรือเกิดความร้อนขึ้น จนทำให้อุปกรณ์ภายในรถยนต์เสียหายฟิวส์เหล่านี้จะอยู่ในกล่องฟิวส์ซึ่งมี อยู่ 2 กล่องด้วยกัน กล่องฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์ จะอยู่ทางด้านขวา การเปิดกล่องฟิวส์ทำได้โดยการยกตัวล็อคแล้วเปิดออก กล่องฟิวส์ในห้องโดยสารจะติดตั้งอยู่ใต้แผงหน้าปัดทางด้านคนขับซึ่งจะมีฝา เปิด โดยหมุนปุ่มล็อคเพื่อเปิดฝากล่องฟิวส์
การตรวจและเปลี่ยนฟิวส์
ถ้า เกิดกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งภายในรถไม่ทำงานสิ่งแรกที่ควรทำก็ คือ ตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ โดยการตรวจดูแผนผังที่หน้าหรือฝากล่องฟิวส์ดูว่าฟิวส์ตัวไหนบ้างที่ควบคุม อุปกรณ์ที่ไม่ทำงานให้เช็คฟิวส์เหล่านั้นก่อนแล้วจึงเช็คฟิวส์ตัวอื่น ๆ ที่เหลือ ถ้าเช็คแล้วว่าเกิดจากสาเหตุฟิวส์ขาดก็ให้เปลี่ยนฟิวส์ เมื่อเปลี่ยนเสร็จให้ทดลองเปิดอุปกรณ์ดูว่าทำงานหรือไม่
เปิดสวิตซ์กุญแจมาที่ตำแหน่ง “ล็อค” (0) ตรวจดูว่าไฟใหญ่และอุปกรณ์อย่างอื่นทั้งหมดปิดอยู่
จากนั้นถอดฝาครอบฟิวส์ออก เช็คฟิวส์ตัวใหญ่แต่ละอันภายในกล่องฟิวส์ในห้องเครื่องยนต์ โดยมองดูที่ด้านบนของตัวฟิวส์ว่าเส้นลวดที่อยู่ข้างในขาดหรือไม่ การที่จะถอดฟิวส์ตัวใหญ่ทำได้โดยใช้ไขควงหัวแฉกขันสกรูยึดออก เช็คฟิวส์ตัวเล็กทั้งหมดในกล่องฟิวส์ภายในห้องเครื่องยนต์ และกล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร โดยใช้เครื่องมือถอดฟิวส์ (ที่จะเก็บไว้ในฝากล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร โดยใช้เครื่องมือถอดฟิวส์ (ที่จะเก็บไว้ในฝากล่องฟิวส์ภายในห้องโดยสาร) ดึงฟิวส์ออกมาดู ตรวจดูว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ ถ้าฟิวส์ขาดให้เปลี่ยนเอาฟิวส์อะไหล่ที่มีขนาดแอมแปร์เท่ากัน หรือต่ำกว่าใส่เข้าไปแทนในกรณีที่จำเป็น ถ้าท่านไม่มีฟิวส์อะไหล่ติดรถมาด้วยให้ถอดฟิวส์ของวงจรอื่นที่มีขนาดแอมแปร์ เท่ากันหรือต่ำกว่ามาใส่แทนฟิวส์ที่ขาด โดยต้องเลือกถอดฟิวส์ของวงจรที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในขณะนั้น ถ้าฟิวส์ที่เพิ่งเปลี่ยนเข้าไปยังขาดอีกทั้ง ๆ ที่ขนาดของฟิวส์ถูกต้องแสดงว่าระบบไฟฟ้ามีปัญหาท่านจะต้องนำรถไปให้ช่างตรวจ สอบระบบไฟฟ้าอีกครั้งโดยละเอียด การใส่ฟิวส์ที่มีขนาดแอมแปร์สูงกว่าที่กำหนด จะทำให้ระบบไฟฟ้ามีโอกาสที่จะเสียหายได้มากขึ้น ถ้าท่านไม่มีฟิวส์สำรองให้เลือกขนาดแอมแปร์ที่ถูกต้องหรือเล็กกว่าจะดีที่สุด
รอบรู้กับเรื่องฟิวส์อย่าใส่ฟิวส์ผิดขนาด เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในรถอาจจะทำให้เกิดความร้อนจนเกิดเพลิงไหม้ได้ อย่างใช้อุปกรณ์อื่น ๆ แทนฟิวส์ เช่น ลวด สายทองแดง ถ้าเป็นไปได้ควรมีฟิวส์สำรองติดรถเพื่อเปลี่ยนในยามฉุกเฉิน ถ้าพบว่าฟิวส์ขาดบ่อยควรจะเข้าไปพบช่างเพื่อตรวจสอบสาเหตุของการลัดวงจร กรณีที่ฟิวส์ขาดพร้อมกันหลายตัว นั่นย่อมแสดงถึงความผิดปกติของระบบไฟควรให้ช่างรีบตรวจเช็คโดยด่วน ถ้าฟิวส์ขาดกลางทางขณะที่ขับรถอยู่ สามารถใช้แผ่นตะกั่วที่อยู่ในซองบุหรี่หุ้มฟิวส์แล้วใส่เข้าที่เดิม ซึ่งจะใช้ได้ชั่วคราว เมื่อพบร้านซ่อมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที
ถ้าขั้วฟิวส์สกปรก ชำรุด หรือเปียกน้ำ อาจทำให้เกิดการช็อคได้ จึงควรหมั่นทำความสะอาดและตรวจสอบ
ทำเครื่องหมายไว้ทุกครั้งเมื่อมีการถอดขั้วฟิวส์ เนื่องจากเวลาใส่กลับอาจมีการสับสน
ควรจะมีอุปกรณ์วัดไฟ ไขควง ไฟฉาย และเครื่องมืออื่น ๆ ไว้สำหรับตรวจสอบฟิวส์และเครื่องยนต์อื่น ๆ ภายในรถ ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งของฟิวส์จากคู่มือที่ติดมากับรถ
การเปลี่ยนหลอดไฟหน้า ในกรณีหลอดไฟหน้าขาดจำเป็ต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ ส่วนใหญ่หลอดไฟที่ใช้ในรถยุคปัจจุบันจะเป็นหลอดไฟแบบ “ฮาโลเจน” เพราะจะให้ความส่องสว่างที่ดีกว่า ในการเปลี่ยนหลอดไฟชนิดนี้ให้ใช้มือจับเฉพาะส่วนฐานที่เป็นโลหะเท่านั้น ห้ามจับส่วนที่เป็นหลอดแก้วและโปรดระวังอย่าให้หลอดแก้วถูกของแข็งตกแตก แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ บังเอิญไปจับโดนบริเวณหลอดแก้วให้ใช้ผ้าสะอาดชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด เพราะหลอดไฟฮาโลเจนตัวหลอดจะมีความร้อนสูงมาก เมื่อโดนคราบเหงื่อ คราบน้ำมัน หรือรอยขีดข่วนจะทำให้หลอดร้อนจัดมากขึ้นหลอดนั้นอาจแตกได้ ส่วนการเปลี่ยนหลอดไฟหน้าจะมีวิธีปฏิบัติดังนี้ เปิดฝากระโปรงหน้า เมื่อท่านต้องการเปลี่ยนหลอดไฟใหญ่ทางด้านขวา ให้ถอดท่ออากาศหรือถังน้ำสำรองของหม้อน้ำออกก่อนโดยดึงขึ้นมาโดยตรง ถอดหัวต่อสายไฟออกจากหลอดไฟโดยดึงหัวต่อออกมาตรง ๆ ดึงซีลยางออกมา ปลดปลายลวดล็อคออกจากร่อง โยกลวดล็อคหลบออกไปแล้วถอดหลอดไฟหน้าออก ใส่ หลอดไฟหน้าอันใหม่เข้าไป โดยให้แง่ล็อคของฐานหลอดอยู่ตรงกับร่องของมัน โยกลวดล็อคกลับเข้าที่ และเหน็บปลายลวดล็อคเข้ากับร่องของมัน ใส่ซีลยางกลับเข้าที่ โดยให้คำว่า TOP อยู่ด้านบน ใส่หัวต่อสายไฟกลับเข้าที่ขั้วหลอด แล้วลองทดสอบเปิดสวิตซ์ไฟหน้าดูว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ใส่ท่ออากาศหรือถังน้ำสำรองกลับเข้าที่ (สำหรับไฟหน้าด้านขวา)
หมายเหตุ ในรุ่นอื่น ๆ อาจจะมีวิธีการถอดหลอดไฟที่แตกต่างกันไป กรุณาดูคู่มือที่ติดมากับการประกอบการเปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไฟเลี้ยว (บังโคลนหน้า)
ไฟ เลี้ยว เป็นไฟให้สัญญาณที่สำคัญไม่แพ้หลอดไฟหน้า ถ้าเกิดหลอดขาดแล้วก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะรถที่ตามมาทางด้านหลังจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราจะเลี้ยวตรงไหน หรือจะแซงไปเลนไหนซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การเปลี่ยนไฟเลี้ยวสามารถทำได้ดังนี้ ใช้ไขควงปากแบน งัดขอบด้านในของชุดไฟเลี้ยวอย่างระมัดระวังจนชุดไฟหลุดออกมา ปิดเบ้ายึดทวนเข็มนาฬิกาแล้วดึงออก ใส่เบ้ายึดหลอดไฟดวงใหม่เข้าไปแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกาจนกระทั่งล็อคอยู่ เปิดไฟเลี้ยวทดสอบว่าทำงานได้หรือไม่
ใส่ชุดไฟกลับเข้าที่โดยใส่ด้านหน้าเข้าก่อน แล้วกดด้านหลังจนชุดไฟเข้าไปจนสุด การเปลี่ยนหลอดไฟเลี้ยวด้านหน้า นอกจากไฟเลี้ยวด้านข้างแล้ว ไฟเลี้ยวด้านหน้าก็มีการทำงานเหมือนกัน ถ้าเกิดหลอดขาดขึ้นมาก็จะต้องทำการเปลี่ยนกันใหม่โดย ใช้ไขควงหัวแฉกขันนอตยึดชุดโคมไฟเลี้ยวออกให้หมด ดึงชุดโคมไฟเลี้ยวออกมาจากกันชน บิดเบ้ายึดหลอดไฟทวนเข็มนาฬิกาแล้วดึงออกมาตรง ๆ ใส่หลอดไฟอันใหม่เข้ากับเบ้ายึดหลอดโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาให้เข้าล็อค เปิดไฟเลี้ยวเพื่อทำการทดสอบ ในการใส่ชุดโคมไฟเลี้ยวเข้ากับกันชนตรวจดูให้แน่ใจว่าแถบของชุดไฟเลี้ยวเข้าไปในเบ้าของกันชนถูกต้อง ขันน็อตยึดกลับเข้าที่เดิม
การเปลี่ยนหลอดไฟหรี่หน้า ไฟหรี่ เป็นไฟที่เราจะนิยมเปิดกันในยามพลบค่ำที่ฟ้ายังไม่มืดมากเพราะถ้าเปิดไฟหน้า อาจจะทำให้เปลืองไฟและทำให้รถคันหน้าเกิดความรำคาญหรือในขณะที่รถจอดนิ่งแต่ ยังไม่ดับเครื่องเป็นการบอกสัญญาณว่ามีรถจอดอยู่ตรงบริเวณนี้เพื่อให้คัน หลังที่วิ่งฝ่าสายฝนมาสามารถมองเห็นรถคันหน้าได้อย่างชัดเจน สำหรับการเปลี่ยนไฟหรี่หน้าสามารถทำได้ดังนี้
เปิดฝากระโปรงออก ใช้ไขควงหัวแฉกขันน็อตยึดชุดโคมไฟหรี่ ดึงชุดไฟหรี่มาทางด้านหน้าจนชุดไฟหลุดออกมา ถอดเบ้ายึดหลอดไฟออกจากชุดโคมไฟ โดยบิดทวนเข็มนาฬิกา ผ รอบ แล้วดึงหลอดไฟออกมาตรง ๆ แล้วเสียบหลอดไฟอันใหม่เข้าไปจนสุด ใส่เบ้ายึดกลับเข้าที่แล้วบิดตามเข็มนาฬิกาจนเข้าล็อค ลองเปิดสวิตซ์การทำงานของไฟหรี่ ใส่ชุดโคมไฟเข้าที่ ดันขอบด้านหน้าให้สนิท ขันน็อตยึดกลับที่เดิมให้แน่น
การเปลี่ยนหลอดไฟต่าง ๆ ที่ท้ายรถ ใน ส่วนของท้ายรถจะมีหลอดไฟอยู่หลายหลอดทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่จะอยู่รวมกันในที่เดียวจึงสะดวกต่อการเปลี่ยนหลอดไฟ (ในกรณีที่ขาดพร้อมกันหลายหลอด) ว่าแล้วเรามาดูถึงวิธีการเปลี่ยนหลอดไฟกันเลยดีกว่า (ในกรณีที่เป็นรถเก๋ง)
ให้เปิดฝากระโปรงท้ายออกก่อน แล้วถอดฝาครอบชุดไฟท้ายออกโดยหมุนปุ่มล็อค แล้วตรวจเช็คดูว่าหลอดไฟดวงไหนขาด ไฟเบรก/ไฟท้าย (หลอดเดียงกัน)/ไฟถอย/ไฟเลี้ยว ถอดเบ้ายึดหลอดไฟดวงที่ขาดออก โดยบิดทวนเข็มนาฬิกา ใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปในเบ้า บิดตามเข็มนาฬิกาจนเข้าล็อค ตรวจเช็คการทำงานของหลอดไฟ ปิดฝาชุดไฟท้าย
หมายเหตุ สำหรับการเปลี่ยนไฟท้ายในพวกรถกระบะอาจจะถอดน็อตยึดที่ชุดไฟท้ายซึ่งจะไม่ เหมือนกัน ยังไงแล้วก็ให้ดูที่คูมือรถรุ่นของท่านประกอบไปด้วยเพื่อทำให้การเปลี่ยน ง่ายขึ้น
การเปลี่ยนหลอดไฟส่องทะเบียน หลอดไฟส่องทะเบียนจะมีติดอยู่ในรถทุกรุ่น ประโยชน์ของมันก็เพื่อเป็นไฟส่องสว่างให้สามารถเห็นป้ายทะเบียนได้ชัดเจนใน ยามค่ำคืน ถ้าหลอดขาดจะมีวิธีเปลี่ยนดังนี้
ถอดน็อต 2 ตัวออก แล้วดึงชุดไฟออกมา ถอดเลนส์ออกจากซีลยางและฝาเหล็ก ดึงหลอดไฟออกจาเบ้าใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปจนสุด ลองเปิดไฟเพื่อทดสอบการทำงานว่าติดหรือไม่ ใส่ฝาเหล็กและเลนส์กลับเข้าที่เดิม แล้วใส่ชุดไฟขันน็อตให้แน่น
การเปลี่ยนหลอดไฟเก๋ง ถึงแม้จะมีชื่อว่าหลอดไฟเก๋ง แต่ใช่ว่าจะมีแต่ในรถเก๋งอย่างเดียว รถประเภทอื่นก็มีเหมือนกัน หลอดไฟเก๋งที่ว่ามานี้จะเป็นหลอดไฟเพดานและไฟประตู ซึ่งจะมีวิธีการเปลี่ยนเหมือนกันแต่ใช้หลอดไฟไม่เหมือนกัน ใช้ไขควงปากแบนขนาดเล็กงัดเลนส์ออกมา โดยงัดบริเวณขอบเลนส์ อย่างัดบนกรอบที่อยู่รอบเลนส์ ดึงหลอดไฟออกจากเบ้ายึดหลอดไฟ ใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปแล้วจึงใส่เลนส์กลับเข้าที่
การบำรุงรักษาเบรก เอี๊ยด...! เสียง เบรกดังสนั่นได้ยินแล้วเสียวเข้าไปในหู แต่ก็ช่วยให้รถหยุดชะงักได้ดีที่เดียว สำหรับการเบรกแบบนี้จะทำให้เบรกเสื่อมสภาพได้เร็ว รวมไปถึงเกิดการเสียหายของหน้ายางที่เราจะกล่าวในหัวข้อต่อไปในตอนนี้เราคง จะพูดถึงเรื่องเบรกกันก่อน จะว่าไปแล้วหน้าที่ของเบรกก็คือ การทำให้รถหยุดหรือทำให้การเคลื่อนไหวของรถช้าลงในเวลาที่ขับขี่ เพราะฉะนั้นเราจึงควรรักษาเบรกให้พร้อมใช้งานมากที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน
ดิสค์เบรก เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ทั้งดิสค์เบรก 2 ล้อ และดิสค์เบรก 4 ล้อในส่วนของสองล้อจะเป็น สองล้อด้านหน้า ส่วนที่เหลืออีก 2 ล้อจะเป็นดรัมเบรก ระบบการทำงานของดิสค์เบรกจะแยกทำงานกันคนละส่วนแยกอิสระต่อกัน ซึ่งส่วนใหญ่ระบบนี้จะใช้กับรถรุ่นใหม่เพราะให้การเบรกที่แม่นยำหยุดได้ทันใจ
ดรัมเบรก ปัจจุบันยังมีรถยนต์ที่ใช้ระบบนี้บ้างแต่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปลูกผสมระหว่างดิสค์เบรกกับดรัมเบรกมากกว่า ลักษณะของดรัมเบรกจะเป็นแผ่นเบรกสองแผ่นดันบริเวณกระทะเบรกเพิ่มความเสียด ทานเพื่อช่วยในการหยุดรถหรือชะลอรถ
ระบบเบรก ABS หลาย ๆ คนอาจจะเคยคุ้นหูหรือรู้จักกันเป็นอย่างดีกับระบบเบรก ABS แต่ระบบเบรก ABS ที่แท้จริงเป็นอย่างไรนั้น ครั้งนี้เรามีมาเล่าสู่กันฟัง ระบบเบรก ABS เป็นระบบที่มีเทคโนโลยีแบบใหม่สามารถควบคุมล้อล็อคตายได้เมื่อรถเบรกอย่าง รุนแรงหรือกระทันหัน ในระบบนี้จะทำให้ผู้ขับขี่สามารถบังคับรถไปในทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่เสีย การทรงตัว
น้ำมันเบรก การที่ดิสค์เบรกจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยน้ำมันเบรกเป็นตัวช่วยในการทำงาน ซึ่งน้ำมันเบรกจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากต้องใช้ร่วมกันกับระบบเบรกจะขาดเสียไม่ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับของน้ำมันเบรกจะต้องคอยเช็คอยู่ตลอดเวลาว่าลดลงจาก เดิมหรือไม่ จะว่าไปแล้วก็คล้าย ๆ กับระดับน้ำมันเครื่องคือต้องพยายามดูแลไม่ให้ลดต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่ กำหนดไว้
น้ำมัน เบรกจะมีขายอยู่ตามปั้มน้ำมันทั่วไป คุณภาพมาตรฐานก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับท่านมากกว่าว่าต้องการในระดับที่ใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับท่านมากกว่าว่าต้องการหรือชอบยี่ห้อไหน หรืออาจจะดูตามมาตรฐานของคู่มือรถที่บอกมาก็ได้
การตรวจสอบและการเติมน้ำมันเบรก การตรวจสอบน้ำมันเบรกนั้นทำได้ง่ายเพียงแค่มองด้วยตาเปล่าเพราะบริเวณกระปุกน้ำมันเบรกที่อยู่ในห้องเครื่องยนต์จะมีขีดบอก MAX หมายถึงสูงสุด MIN หมายถึงต่ำสุด ต้องตรวจเช็คเสมอ เพราะถ้าหากปล่อยให้น้ำมันเบรกแห้งหรือรั่วออกไปจนหมดหรือเหลือน้อย การเบรกจะไม่มีประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ น้ำมันเบรกควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งจะมาถึงก่อน ถ้า เผื่อว่าตรวจเช็คแล้วพบว่าน้ำมันเบรกอยู่ในขีดที่เกือบต่ำสุดหรือลดลงมาก ให้รีบเติมน้ำมันเบรกกลับเข้าไปโดยเร็ว การเติมน้ำมันเบรกจะมีวิธีการดังนี้
เปิดฝากระโปรงรถขึ้น กระปุกน้ำมันเบรกจะอยู่ชิดกับตัวถังด้านในติดกับกระจก ก่อนเปิดฝาน้ำมันเบรกให้เช็ดทำความสะอาดบริเวณฝาปิด-เปิดให้สะอาดเพื่อป้องกัน สิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองต่าง ๆ ตกลงไปทำให้ระบบเบรกเสียหาย เติมน้ำมันเบรกลงไปในกระปุกให้ถึงขีดของ MAX ปิดฝาให้เรียบร้อย อย่าลืมก่อนปิดควรทำความสะอาดฝาอีกครั้งหนึ่งก่อน
เหลียวมองสักนิด น้ำมันเบรกจะสามารถทำปฏิกิริยากับสีรถได้ ในการเติมน้ำมันเบรกพยายามอย่าทำน้ำมันเบรกหกหรือหยดลงบริเวณตัวถัง หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้รีบเช็ดให้แห้งทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะทำให้สีรถถลอกได้และห้ามวางขวดน้ำมันเบรกบนฝากระ โปรงรถเด็ดขาด
น้ำมันเบรกที่ใช้ควรจะอยู่ในเกรดเดียวกัน ห้ามเติมข้ามเกรดเป็นอันขาด อีทั้งให้เช็คถึงคุณสมบัติว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไหร่ถึงจะได้เวลาในการถ่าย น้ำมันเบรกเก่าออก แล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่เข้าไป ในการถ่ายน้ำมันเบรกเก่าออก แล้วเติมน้ำมันเบรกใหม่เข้าไป ในการถ่ายน้ำมันเบรกควรใช้บริการช่างจะดีกว่าโดยจะไปตามปั้มที่ให้บริการ ถ่ายน้ำมันหรือศูนย์ต่าง ๆ ก็ได้
สำหรับ ในส่วนของผ้าเบรกและจานเบรก 2 อย่างนี้คงต้องยกให้เป็นหน้าที่ของช่างจะแน่นอนกว่า เราทำเองคงจะลำบากเพราะต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง
เบรกมือ เบรกมือหรือเบรกจุดที่ 2 ที่มีติดอยู่ภภายในรถยนต์ ซึ่งเบรกมือนี้จะใช้เฉพาะในเวลาที่รถจอดหยุดนิ่งสนิท หรือในเวลาที่รถติดและรถขึ้นสะพานทางลาดชัน เพราะถ้าใช้การเหยียบเบรกธรรมดา ด้านล่างจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันโดยใช่เหตุ ระบบเบรกมือจะมีระบบกลไกที่ใช้ล็อคล้อหลังไม่ให้เคลื่อนที่ บริเวณที่ตั้งของเบรกมือจะอยู่ที่บริเวณเกียร์หรือถัดลงมาด้านล่าง (สำหรับรถเก๋ง) แต่พวกรถกระบะจะอยู่บริเวณด้านล่างพวงมาลัยทางซ้ายมือ การดูแลเบรกมือคงไม่มีอะไรมาก มีแต่เพียงในเวลาที่ใส่เบรกมือแล้วจะขับรถออกไปให้ปลดเบรกมือลงก่อนทุกครั้ง จะสังเกตุได้จากไฟสีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ที่หน้าปัดรถว่าในขณะนี้เราใส่เบรก มือรถอยู่ ถ้าเราปลดเบรกมือลงไฟที่หน้าปัดก็จะหายไป แต่ถ้าเราลืมปลดเบรกมือรถในบางรุ่นก็สามารถเคลื่อนตัวไปได้แต่รถก็จะฝืด ๆ เร่งไม่ค่อยขึ้น และผลกระทบที่ตามมาก็คือ ระบบเบรกทางด้านหลังจะเสียหายได้ สำหรับรถยนต์ในบางรุ่นถ้าไม่ปลดเบรกมือลงรถยนต์ก็จะวิ่งไม่ได้ จนกว่าจะปลดเบรกมือลงให้เรียบร้อย
การดูแลรักษาคลัตซ์และเกียร์ คลัตซ์ อุปกรณ์ชิ้นนี้จะมีในรถยนต์เกียร์กระปุกหรือเกียร์ธรรมดา รวมถึงรถยนต์เกียร์ออโตเมติคด้วย คลัตซ์จะเป็นตัวต่อกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังห้องเกียร์ ช่วยให้สามารถเข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเราเข้าเกียร์แล้วไม่เหยียบคลัตซ์จะเกิดเสียงดังทำให้เข้าเกียร์ไม่ ได้ สำหรับการตรวจสอบคลัตซ์และเกียร์ควรจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างจะดีที่สุด เพราะในส่วนภายในจะมีความสลับซับซ้อนต้องอาศัยความรู้ความชำนาญของช่าง แต่ในสิ่งที่เราสามารถตรวจเช็คได้ก็คือ การสังเกตุสิ่งผิดปกติ อย่างเช่น เมื่อพบว่าคลัตซ์แข็ง เหยียบคลัตซ์ต้องใช้แรงมาก มีกลิ่นเหม็นไหม้ออกมาจากคลัตซ์ (และเบรก) มีเสียงดัง เสียงโลหะกระทบกันเมื่อเหยียบคลัตซ์ยกขาออกเสียงก็จะหาย เข้าเกียร์ยาก ถ้าพบว่ามีอาการเช่นนี้ก็ให้รีบเตรียมแจ้งรายละเอียดให้ช่างทราบเพื่อการ แก้ไขได้ถูกจุด
นอกเหนือจากเรื่องเหล่านี้แล้วเกียร์และคลัตซ์ ต้องอาศัยน้ำมันเกียร์เข้ามาเป็นตัวช่วยในการหล่อลื่นเพื่อให้การเข้าเกียร์ มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจเช็คว่าน้ำมันเกียร์ลดลงไปจากจุดที่กำหนดหรือไม่ สำหรับการตรวจเช็คเราสามารถทำได้ดังนี้
สำหรับเกียร์ธรรมดา ในการเช็คน้ำมันเกียร์จะต้องทำหลังจากที่ดับเครื่องยนต์เป็นเวลา 2 นาที โดยการใช้แม่แรงยกรถขึ้นและรถจะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน จากนั้นให้ถอดนอตเติมน้ำมันออก ระดับน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่เสมอขอบล่างของรูเติมน้ำมัน ให้สอดนิ้วมือเข้าไปในรูเติมน้ำมันดูว่าได้ระดับหรือไม่ ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมน้ำมันเกียร์ช้า ๆ จนกระทั่งน้ำมันเกียร์เริ่มไหลออกจากรูเดิมใส่นอตเติมน้ำมันกลับเข้าที่และ ขันให้แน่น น้ำมันที่ใช้กับเกียร์ธรรมดาต้องเป็นน้ำมันเครื่องชนิด SF หรือ SG ที่มีความหนีด 20W-40 หรือ 20W-50 เท่านั้น และควรถ่ายน้ำมันเกียร์ธรรมดาทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน (ที่กล่าวมานี้สำหรับรถบางรุ่นที่ไม่มีกระปุกเช็คน้ำมันเกียร์บริเวณห้อง เครื่องยนต์) ในรถยนต์บางรุ่นจะมีกระปุกน้ำมันเกียร์อยู่ภายในห้องเครื่องทำให้ตรวจสอบ ระดับน้ำมันเกียร์ได้ง่าย กระปุกน้ำมันเกียร์จะคล้ายกับกระปุกน้ำมันเบรกแต่จะเล็กกว่ามีขีดบอกระดับ MAXอ สูงสุด MIN คือ ต่ำสุด เช่นเดียวกัน ซึ่งน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่ในระดับสูงสุดเสมอ ถ้าต่ำลงมามากก็ให้เติมน้ำมันเกียร์กลับลงไป
สำหรับเกียร์อัตโนมัติ การเช็คระดับน้ำมันเกียร์อันโนมัติจะตรงกันข้ามกับเกียร์ธรรมดาคือจะต้องเช็คใน เวลาที่อุ่นเครื่องยนต์ได้สักพักแล้วโดยให้นำรถเข้าจอดบนพื้นที่ได้ระดับ แล้วจึงค่อยดับเครื่องยนต์
ดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ออกมาจากตัวเกียร์ แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดก้านวัด เสียบก้านวัดน้ำมันกลับเข้าที่ แล้วดึงออกมาอีกครั้ง (ทำเช่นเดียวกับวัดระดับน้ำมันเครื่อง) เช็คระดับน้ำมันเกียร์ที่ก้านวัด ระดับน้ำมันเกียร์ควรจะอยู่ระหว่างขีดบนและขีดล่าง
ถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดล่างให้เติมน้ำมันจนอยู่ในระดับขีดบนให้ใช้น้ำมัน เกียร์อัตโนมัติสูตรพิเศษของยี่ห้อรถยนต์ท่านเท่านั้น แล้วเสียบก้านวัดน้ำมันกลับเข้าที่ให้สุด ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตรเมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน
หมายเหตุ ควรดูแลน้ำมันเกียร์ให้สม่ำเสมอ เพราะราคาซ่อมเกียร์แพงมาก
การดูแลรักษาล้อและยาง ล้อและยางถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับเท้าของคนเราจะต่างกันที่เท้าของคนเอา ไว้เดินมากกว่า แต่ล้อและยางของรถมีเอาไว้วิ่งตามท้องถนนถ้ารถขาดล้อและยางไปล่ะก็ลำบากแน่ ๆ หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุทำให้ยางแบนยางรั่ว อันนี้แย่เหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูกันในเรื่องของวิธีการแก้ไขเรามาดูกันในเรื่องของชนิดและ ลักษณะของล้อกันก่อน โดยสามารถแบ่งเป็นลักษณะของกระทะล้อ คือ
1. กระทะล้อชนิดธรรมดา ส่วนใหญ่จะติดมากับรถยนต์ทั่วไป รวมไปถึงรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกมาจากโรงงาน วัสดุที่ใช้ในการผลิตจะเป็นเหล็ก จึงทำให้มีความทนทานแข็งแรงแต่ใช่ว่าจะมีข้อดีอย่างเดียว ข้อเสียก็มีเหมือนกันคือ จะมีน้ำหนักมากถ้าใช้ไปนาน ๆ จะทำให้เกิดสนิมได้ อีกทั้งรูปทรงที่ผลิตออกมาก็ไม่ค่อยสวยงามถูกตาต้องใจเท่าไหร่นักจึงไม่นิยม ใช้กัน ส่วนใหญ่จะถอดเปลี่ยนในภายหลัง
2. กระทะล้อแบบพิเศษ กระทะล้อแบบนี้จะได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีรูปทรงที่สวยงาม และมีลวดลายให้เลือกหลากหลาย หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ล้อแม็ก” นั่นเอง วัสดุที่ใช้ทำล้อแม็กนั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภทคือ อะลูมินั่มและแมกนีเซียม ในส่วนของรถยนต์นั่งธรรมดาทั่วไปจะนิยมใช้ล้อแม็กที่เป็นอะลูมินั่มมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่าแมกนีเซียม แต่คุณภาพค่อนข้างใกล้เคียงกัน สำหรับแมกนีเซียมเป็นวัสดุที่ใช้ผลิตล้อแม็กมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาใช้กับพวกรถแข่งที่ต้องใช้ความเร็วสูงในสนาม สนนราคาจึงค่อนข้างแพงอยู่สักหน่อย ข้อดีของวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีความทนทานแข็งแรงและช่วยระบายความร้อนของยางและเบรกได้ดี รวมทั้งยังมีน้ำหนักเบากว่ากระทะล้อที่เป็นเหล็กด้วย
การ บำรุงรักษาก็คงจะไม่มีอะไรมากเพียงคอยระวังอย่าให้ยางแบนในเวลาขับขี่ เพราะจะทำให้ยางและกระทะล้อเสียหายได้ และคอยดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ
ยางรถยนต์ ยาง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กับล้อจะตัดขาดกันเสียมิได้ เมื่อพูดถึงล้อแล้วจะไม่พูดถึงยางก็กระไรอยู่ จะว่าไปแล้วยางที่เราเห็นโดยทั่วไปนี้จะเป็นตัวบรรจุอากาศเพื่อช่วยรองรับ แรงสั่นสะเทือนที่ได้รับจากถนน ดังนั้นยางจึงต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อช่วยลดแรงสั่งสะเทือนให้ส่งไปยังตัว ถังน้อยลงและยังช่วยในการยึดเกาะถนนเพื่อให้เกิดการทรงตัวที่ดี ไม่ให้เกิดการไถลไม่ว่าจะเบรก เร่ง หรือเลี้ยวก็ตามโครงสร้างของยางจะประกอบด้วยชั้นของยางผ้าใบ และเส้นลวด ยางอาจจะมีชั้นของผ้าใบ 2,4 หรือ 6 ชั้น ในการใช้งานกับรถเก๋งทั่วไป ชนิดของยาง ยางโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้กันในปัจจุบันจะมีด้วยกันหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะของการวางผ้าใบจะมีชนิดดังต่อไปนี้
1. BIAS TIRE ยางประเภทนี้จะเป็นยางธรรมดาที่ใช้กันโดยทั่วไปตามรถยนต์ต่าง ๆ เนื่องจากมีราคาถูกและมีอายุการใช้งานพอสมควรตามสภาพที่ใช้
2. BELTED BIAS TIRE มีโครงสร้างเหมือนกับแบบแรกแต่จะมีความพิเศษเพิ่มขึ้นมาตรงที่มีแผ่นรองหน้า ยาง ทำให้ดอกยางมีความแข็งแรงทนทานขึ้น รับน้ำหนักได้ดีและทนต่อการฉีกขาดหรือการระเบิดของยาง อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น
3. RADIAL TIRE ยางเรเดียลเป็นยางที่ในปัจจุบันนิยมใช้กันมาก มีโครงสร้างเช่นเดียวกับแบบแรก และแบบที่ 2 แต่จะเสริมด้วยแผ่นเหล็กหรือเส้นลวดรองรับในแต่ละชั้นที่เรียกกันว่า เสริมใยเหล็ก มีความแข็งแรงทนทานมาก อายุการใช้งานจะยาวนานกว่า 2 แบบแรก ทนต่อการฉีกขาดของหน้ายางและการระเบิดได้ดี ยางประเภทนี้เมื่อรับน้ำหนักจะดูเหมือนลมยางอ่อน แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นมันเป็นลักษณะเฉพาะของยางชนิดนี้
โครงสร้างของยางยังแบ่งออกเป็น ยางชนิดที่มียางในเป็นรูปแบบที่ใช้กันมาเนิ่นนานแล้ว และในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้กันอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับยางทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยางในยังแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ชนิดคือยางธรรมชาติและยางเทียม ซึ่งสามารถใช้ในงานทั่ว ๆ ไป และดีสำหรับการบรรทุกหนัก
ยางชนิดที่ไม่มียางใน จะนิยมกันมากในรถยนต์สมัยใหม่ ซึ่งจะใช้กับยางประเภทเรเดียล เหมาะกับรถเก๋งมากกว่าเพราะรับน้ำหนักไม่ค่อยมากนัก เนื่องจากการรับน้ำหนักมาก ๆ จะสู้ชนิดที่มียางในไม่ได้
การเติมลมยาง ในการบำรุงรักษายางนั้นวิธีที่จะเหมาะที่สุดคงจะเป็นการรักษาระดับของลมยางให้ มีแรงดันลมที่ถูกต้องอยู่เสมอ เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แรงดันลมในยางทั้ง 4 ล้อจะมีกำหนดมาให้ในคู่มือที่ติดมากับรถ ว่าล้อหน้าต้องเติมกี่ปอนด์ ล้อหลังเติมกี่ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าเกิดเปลี่ยนยางใหม่ที่ไม่เหมือนกับยางเดิมที่ใช้อยู่ก็ต้องถามจากเจ้าของ ร้านยางว่ายางแบบนี้ต้องเติมลมเท่าไหร่ เพราะการเติมลมไม่ถูกต้องจะทำให้ยางสึกหรอเร็วกว่าปกติและอาจเกิดการระเบิด ได้ การที่จะเติมลมเข้าไปในยางประมาณเท่าไหร่นั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ชนิดของยาง ขนาดของยาง การใช้งานซึ่งลมจะไม่เท่ากัน วิธีที่ดีที่สุดก็คงจะต้องเติมตามคู่มือที่ให้มา หรือให้ถามจากร้านขายยางเพราะจะมีตามรางบอกถึงประเภทของยางชนิดของยาง ว่าต้องเติมลมเท่าไหร่ จะดีที่สุด ส่วนการตั้งศูนย์ถ่วงล้อนั้นคงต้องเป็นหน้าที่ของช่าง ตั้งด้วยตนเองคงจะทำลำบากเพราะต้องใช้เครื่องมือมาก
มาเรียนรู้การเปลี่ยนยางอย่างถูกวิธี เมื่อ ท่านขับรถอยู่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดคาดฝันเกิดยางรั่วขึ้นมาแล้วบริเวณนั้น ไม่มีร้านซ่อมรถยนต์ คราวนี้แหละท่านต้องแสดงฝีมือในการเปลี่ยนล้อยางด้วยตนเองแล้ว แต่ถ้าท่านใดยังไม่เคยประสบปัญหาเหล่านี้ แต่ยังเปลี่ยนล้อไม่เป็นล่ะก็ต้องรีบศึกษาจากคอลัมน์นี้เอาไว้เลย เผื่อเอาไว้ว่าอาจจะต้องประสพปัญหาเข้าสักวันหนึ่ง
ในกรณีนี้ท่านต้องมีอุปกรณ์ติดรถมาด้วยก็คือ แม่แรงกับประแจขันล้อ หรือกากบาทส่วนแม่แรงนั้นจะมีอยู่หลายประเภทในการที่จะเลือกซื้อเป็นอุปกรณ์ ติดรถควรจะรู้จักประเภทของแม่แรงเสียก่อน
1. แม่แรงแบบน้ำมัน แม่แรงชนิดนี้จะมีความสะดวกสบายในการใช้และช่วยเบาแรงได้เยอะแม่แรงแบบน้ำมันจะ มีลักษณะเป็นแท่งและจะมีเหล็กท่อโยกให้แกนตรงกลางยึดขึ้นเพื่อดันรถให้ลอย พ้นพื้น การโยกนั้นจะโยกขึ้นโยกลงสลับกันไปส่วนวิธีการเอาแม่แรงลงนั้นก็เพียงหมุน ปุ่มที่อยู่ด้านท้ายแม่แรงเท่านั้น (ควรหมุนลงอย่างช้า ๆ ) แม่แรงก็จะลดระดับลงมาเท่าเดิม
2. แม่แรงแบบกลไก เป็นแม่แรงที่พบเห็นได้ทั่วไป ส่วนใหญ่อาจเป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับรถจากโรงงานจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับวงรี ใน ยามที่จะใช้ให้ต่อเหล็กท่อหมุนเข้าที่แม่แรง ปลายของแม่แรงจะยกเข้าหากันทำให้ในส่วนตรงกลางของแม่แรงสูงขึ้นและดันรถให้ ลอยพ้นพื้น แม่แรงชนิดนี้จะใช้มือหมุนซึ่งจะต้องออกแรงมากกว่าแม่แรงชนิดแรก โดยให้หมุนตามเข็มนาฬิกา จากซ้ายไปขวา เมื่อจะเอาลงให้หมุนย้อนกลับแม่แรงก็จะลดระดับลงเหมือนเดิม
ตำแหน่งในการขึ้นแม่แรง รถยนต์แต่ละรุ่นจะมีตำแหน่งหรือจุดในการขึ้นแม่แรงที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อเราจะขึ้นแม่แรงก็ควรจะศึกษาจุดขึ้นแม่แรงจากคู่มือรถยนต์ก่อน เป็นดีที่สุด ถ้าหากว่าไม่มีคู่มือในการขึ้นแม่แรงควรจะขึ้นในตำแหน่งที่สามารถขึ้นได้ดัง ต่อไปนี้
ในส่วนของหน้ารถขึ้นใต้ปีกนก จะเป็นปีกนกทางด้านล้อหน้าถ้ารถยนต์รุ่นนั้นใช้ปีกนกเป็นตัวรองรับน้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่รถที่ใช้ปีกนกจะเป็นรถเก๋ง ขึ้นใต้คานหลังส่วนหน้ารถ จะอยู่ลึกเข้ามาและเป็นคานเหล็กวางขวางอยู่ให้ใช้จุดนั้นเป็นจุดวางแม่แรง ขึ้นใต้ชุดแหนบ จะอยู่บริเวณล้อหน้าโดยให้วางแม่แรงตรงกลาง
แฟ่นแหนบพอดี รถที่ใช้แหนบรองน้ำหนักจะเป็นรถบรรทุกส่วนใหญ่ ขึ้นใต้คานหน้า เป็นการขึ้นตรงคานกลางระหว่างล้อหน้าทั้งซ้ายและขวา ขึ้นใต้คานขวางหน้า จะอยู่บริเวณตอนหน้าสุดของรถเป็นคานเหล็กขวางยาวจากล้อข้างหนึ่งไปยังล้ออีกข้างนึ่งในส่วนหลังของรถยนต์ ขึ้นใต้ชุดแหนบ จะขึ้นที่บริเวณแหนบรองรับน้ำหนักช่วงตรงกลาง ขึ้นใต้เฟืองท้าย ขึ้นตรงบริเวณตรงกลางของเฟืองท้าย ขึ้นใต้เสื้อเพลาข้าง จะอยู่เลยเฟืองท้ายออกมาใกล้กับแหนบรองรับน้ำหนัก
การถอดล้อเพื่อเปลี่ยนยางอะไหล่ เมื่อถึงคราวจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนยางอะไหล่เอง การที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นทำได้ไม่ยากเพียงแค่มีความรู้ในการเปลี่ยนล้อ ที่ถูกต้อง ซึ่งเราก็มีเทคนิคง่าย ๆ มาฝากกัน
กรณีที่ต้องการเปลี่ยนล้อ ต้องใส่เบรกมือเอาไว้ก่อนเพื่อกันรถลื่นไหล หรืออาจจะเข้าเกียร์ไว้ก็ได้ ใช้ประแจขันล้อรถหรือกากบาทขันนอตให้หมด โดยในการขันนอตนั้นเมื่อถอดนอตตัวที่ 1 ออกแล้วตัวต่อไปต้องถอดนอตที่อยู่ตรงกันข้ามเสมอทำเช่นนี้จนครบทุกตัว
หาตำแหน่งขึ้นแม่แรงที่ดูเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด การขึ้นแม่แรงควรขึ้นอย่างช้า ๆ ให้แม่แรงยกล้อลอยพ้นพื้นประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อความสะดวกในการถอดและใส่ล้อใหม่เข้าไป ใส่ล้ออะไหล่ใหม่เข้าไปให้เรียบร้อยแล้วขันนอตคืนด้วยวิธีเดียวกับการถอด
ปลดแม่แรงลงให้เรียบร้อยด้วยความนิ่มนวล ปลดเบรกมือลงหรือปลดเกียร์แล้วใช้งานต่อไป
การตรวจสภาพยาง ควรจะมีการตรวจเช็คอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่เพราะยางเป็นส่วนที่มี ความสำคัญมาก ทุกครั้งที่เช็คลมยางสิ่งที่ควรตรวจสอบควบคู่กันไปด้วยคือ
การปูดบวมของดอกยางหรือแก้มยางถ้ามีการปูดบวมควรเปลี่ยนยางใหม่ รอยฉีก แยก แตกที่แก้มยาง ถ้าแก้มยางฉีกจนสามารถมองเห็นผ้าใบให้เปลี่ยนยางใหม่ ถ้าพบการสึกหรอผิดปกติ ให้เช็คศูนย์ล้อและเปลี่ยนใหม่
ยาง รถของท่านจะมีเครื่องหมายแสดงความสึกหรอติดกับดอกยาง เมื่อดอกยางสึกมากจนความลึกของดอกยางเหลือน้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร ท่านจะมองเห็นเครื่องหมายแสดงความสึกหรอปรากฏเป็นแถบกว้างประมาณ 12.7 มิลลิเมตร อยู่บนหน้ายางแสดงว่ายางสึกมาก การเกาะถนน หรือถนนที่เปียกยางจะมีประสิทธิภาพในการเกาะถนนน้อย ท่านควรจะเปลี่ยนยางใหม่
การบำรุงรักษายาง นอกจากการสูบลมยางอย่างถูกต้องแล้ว ศูนย์ล้อที่ถูกต้องก็จะช่วยลดการสึกหรอของยางได้เช่นกันท่านควรนำรถเข้าเช็ค ศูนย์ล้อทุก ๆ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร ยางรถของท่านได้รับการถ่วงมาจากโรงงานอย่างไรก็ตามท่านอาจจะต้องถ่วงยางใหม่ เป็นครั้งคราวตามการใช้งาน ถ้ามีการถอดยางออกจากกระทะล้อเพื่อซ่อมจะต้องถ่วงยางใหม่เสมอ เมื่อท่านเปลี่ยนยางใหม่ก็จะต้องถ่วงยางด้วยเพื่อการขับขี่ที่นิ่มนวลและ อายุการใช้งานที่ยาวนาน
การสับเปลี่ยนยาง ในการใช้รถไปนาน ๆ ยางจะเกิดการสึกหรอ ในการสึกหรอของยางแต่ละข้างนั้นจะไม่เท่ากันจึงต้องมีการสับเปลี่ยนยางเกิด ขึ้นเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม และควรมีการสับเปลี่ยนยางในทุก ๆ 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร
การสับเปลี่ยนยางมี 3 แบบคือ การใช้ยางอะไหล่ร่วมด้วย, การไม่ใช้ยางอะไหล่ และการเปลี่ยนยางครั้งละ 2 เส้น แทนการสลับยางบ่อย ๆ

Wednesday, October 21, 2009

ไปเที่ยวกันดีมั๊ย ในวันหยุดนี้ ??

ก้มหน้าก้มตา make money ทั้งวัน ทั้งเดือน เหนื่อยนะครับ หากไม่รีบเร่งจนเกินไปน่าจะหาวันหยุดให้ตัวเองบ้าง เพื่อผ่อนคลายความเครียด หาสิ่งที่ชอบทำ เช่นอ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ หรือออกนอกบ้านไปเที่ยวข้างนอกเปลี่ยนบรรยากาศ การกิน การนอน ลองใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิมบ้าง น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ชอบแนวผจญภัยเผชิญความยากลำบาก อย่างน้อยก็เพื่อผ่อนคลายจากชีวิตเดิมๆ สักพักเติมเชื้อไฟเป็นพลังให้สู้กับงานประจำวันกันต่อ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนรายได้ไม่มาก หากจะซื้อทริปทัวร์ที่หรูๆราคาแพงคงจะไม่ไหว โดยส่วนตัวไม่ชอบทัวร์แบบลูกเป็ด ต้องคอยเดินตามธง โดนไกด์คอยต้อนหน้าต้อนหลัง เพื่อทำเวลาบอกตรงๆว่าเหนื่อยมากกว่าสนุกไม่ได้รสชาติของชีวิต ลองทางเลือกอย่างนี้ดีมั๊ย จัดทริปเองเอาง่ายๆ สบายๆไม่ต้องรีบเร่ง จัดเมนูอาหารเอง บริหารเวลาเองน่าจะดีนะ แต่ต้องลดความสะดวกสบายลงหน่อยนะ แบบง่ายๆหน่อยก็ขับรถเที่ยวไงครับ แค่มีรถที่เป็นพาหนะหลัก แผนที่เดินทาง เตาแก๊ส อาหารแห้ง เต๊นท์ เครื่องนอน ยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร และที่สำคัญคือเงินค่าน้ำมันแรกๆ ก็ลองดูที่ใกล้ๆบ้านก่อนนะ เพื่อทนลำบากไม่ได้จะได้เลี้ยวหัวกลับบ้านได้ง่ายๆ แต่เพื่อประสบการณ์ชีวิตซักครั้งหนึ่งก็ต้องเดินหน้าลุย!! เมื่อผ่านจุดนี้ไปได้ เชื่อว่าคุณต้องติดใจในรสชาติชีวิตแบบกลางแจ้งแน่ๆ


เพราะการเที่ยวแบบนี้ประหยัด ใช้เวลากับสิ่งที่สนใจได้เต็มที่ ไม่ต้องรีบเร่ง จัดเมนูอาหารตามชอบเพราะทำกินเอง ที่สำคัญได้ประสบการณ์ และมิตรภาพระหว่างทางที่แตกต่างจากลูกเป็ดทัวร์แน่นอน ก่อนเดินทางต้องตรวจสอบพาหนะคู่ใจก่อนครับเพราะรถยนต์ เป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางบรรทุกสัมภาระสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จะเดินทางให้สบายไร้กังวลก็ต้องตรวจสภาพก่อนออกเดินทางให้ละเอียดหน่อยครับจะได้ไม่ต้องหมดสนุกระหว่างทาง (อ่านคำแนะนำการดูแลรถได้ที่นี่ครับ) เตรียมน้ำมันสำรองไปด้วยเผื่อไว้ อาหารแห้งสำรองไว้พอสมควรที่เหลือไปหาข้างหน้าถ้าชอบอาหารทะเลต้องไปทะเลเลือกทริปนอนชายหาดตกปลา หรือชอบปีนเขาเข้าป่าก็หาข้อมูลพร้อมแล้วหาฤกษ์ออกลุยกันเลย ทำความเข้าใจกับกติกาง่ายๆ เพื่อให้เที่ยวสนุก โดนไม่มีใครเดือดร้อนและท่านจะได้มีมิตรภาพและคำแนะนำดีๆด้วยนะครับ

สำหรับเส้นทางในการ ขับรถเที่ยว นั้นมีทั้งใกล้และไกล มีทั้งง่าย ๆ สำหรับรถแทบทุกประเภท กระทั่งถึงเส้นทางวิบากกันดารท้าทายสำหรับ ผู้ที่รักการท่องเที่ยวแบบผจญภัย แหล่งท่องเที่ยวของเมืองไทยมีให้เลือกทุกรูปแบบ เหนือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเส้นทาง ยาก ง่าย สบายหรือลำบาก ก็ล้วนต้องการนักขับที่มีความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมทาง ผู้ร่วมใช้เส้นทาง และผู้ร่วมใช้สถานที่ รวมทั้งรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้เดินทางเข้าไปสัมผัสการเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นที่ร่วมใช้สถานที่ การเกรงอกเกรงใจ ไม่รบกวนผู้อื่นและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน รวมทั้งการไม่ประมาท นับเป็นสิ่งสูง สุดเหนือสิ่งอื่นใดในการขับรถท่องเที่ยว นอกเหนือจากการเคารพสิทธิ์และเอื้ออาทรต่อนักขับด้วยกันแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ การให้เกียรติแก่ผู้คนและชุมชนท้องถิ่นที่เข้าไปสัมผัส นับเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้กิจกรรมขับรถท่องเที่ยวในบ้านเราก้าวไปสู่เส้นทาง อันงดงามเต็มไปด้วยความสุขและรอยยิ้มในทุกเส้นทาง
โอกาสหน้าจะมาเล่าต่อนะครับว่าไปไหนดี มีอะไรที่ท้าทายนักผจญภัยที่รออยู่ที่หมายหน้าครับ



จองที่พักทั่วไทย

Search Hotels in Thailand
Destination:
Check in:
Check out: